เลย(ชมคลิป)“อ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียง”โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ลำดับแรก ของจังหวัดเลย


“เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” จากพ ระปฐมบรมราชโองการของ “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”ไม่เพียงสะท้อนถึงพระราชปณิธาน และความตั้งใจอันแน่วแน่ในการทรงงานเพื่อจะสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวพระราชดำริต่าง ๆ ของ “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” พระปฐมบรมราชโองการ ร.10 ในการออกมหาสมาคม
โดยเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 นายพัฒนา บุตรตะนัย ราษฎรบ้านน้ำพุ หมู่ 3 ต.ห้วยสีเสียด อ.ภูหลวง จ.เลย ได้ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยวังเงียง พร้อมระบบส่งน้ำ บริเวณบ้านน้ำพุพัฒนา ตำบลห้วยสีเสียด อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย ซึ่งความทราบฝ่าละอองธุรีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำวังเงียงพร้อมระบบส่งน้ำ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคของราษฎร บรรเทาความเสียหายของภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น โดยงบประมาณในการก่อสร้าง (ได้รับงบประมาณจาก กปร.) ในกิจกรรมก่อสร้างทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ จำนวนเงิน 44,739,485 บาท ผลการ งบประมาณปี 2563 สำเร็จครบถ้วน และกำลังดำเนินการ ปีงบประมาณ 2564 ต่อไป ผลที่คาดว่าจะได้รับคือเกษตรกรจำนวน 2 หมู่บ้านมีน้ำอุปโภค บริโภค 215 ครัวเรือน มีน้ำในการเพาะปลูกฤดูใน 2,200 ไร่ ฤดูแล้ง 1,000 ไร่
นายศุภกรณ์ แก้วแกมแข หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 2 โครงการก่อสร้าง สำนักงานชลประทานที่ 5 กรมชลประทาน จังหวัดหนองบัวลำภู กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการนี้ มีราษฎรบ้านน้ำพุพัฒนา ตำบลห้วยสีเสียด ยื่นถวายฎีกาต่อในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงรับไว้ในโครงการพระราชดำริเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 หลังจากนั้นในปี 2563 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานประสานงานในเนื่องจากโครงการพระราชดำริ สร้างตัวทำนบดิน หัวงาน และอาคารระบายน้ำ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ส่วนตัวระบบส่งน้ำได้รับงบประมาณจาก “คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”(กปร.) อีกครั้งในปี 2564 อยู่ในระหว่างก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จ ในเดือนธันวาคม 2564 นี้ ในส่วนตัวอ่างสามารถใช้งานได้แล้ว ซึ่งตัวอ่างจะกว้าง 8 เมตร ความยาว 210 เมตร ระดับสูงสุด 19 เมตร ปริมาณกักเก็บน้ำ 640,000 ลูกบาศก์เมตร ส่วนท่อระบบส่งน้ำจะเป็นท่อ AC จ่ายตามแปลงเกษตรของราษฎร ซึ่งหัวจ่ายจะมีทั้ง 68 หัวจ่าย สามารถเปิดหัวจ่ายเองได้เลย ซึ่งเราได้ตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำให้มีการบริหารกันเอง หลังจากนั้น จะได้มอบให้สำนักงานชลประทานจังหวัดเลย บริหารร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำ บำรุงรักษาต่อไป
ด้านนายพัฒนา บุตรตะนัย ราษฎรบ้านน้ำพุ ผู้เขียนฎีกาถวาย กล่าวว่า “ 2 ปีที่ผ่านมาเกิดความแห้งแล้งในพื้นที่ ไม่สามารถทำการเกษตรได้เลย โดยเฉพาะ ข้าว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของราษฎรแถบนี้ ทำนาเพื่อบริโภคอย่างเดียว ต้องซื้อข้าวกิน จึงไปปรึกษาผู้ใหญ่บ้านและผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ทุกคนลงมติให้ถวายฎีกา วึ่งเปฯเหตุสุดท้ายไม่รู้ว่าจะพึงใคร ขอขอบพระคุณที่พระองค์ประทานน้ำมาให้ ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ”
ส่วนนางพรชัย พลสนอง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านน้ำพุ กล่าวว่า “ที่มาที่ไปก็เนื่องจากทำอย่างไร จะมีน้ำให้ชาวบ้านมีน้ำทำการเกษตร และอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง และได้รับการแนะนำจากผู้หลักผู้ใหญ่ว่า ถ้าชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนมาก ให้ทำหนังสือขอโครงการพระราชดำริ จึงจัดเวทีประชาคมในหมู่บ้าน ชาวบ้านทุกคนลงมติให้ทำหนังสือถวายฎีกา ต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ช่วงต้นปี 2558 แต่ต้องชะลอไว้ก่อนเนื่องจากพระองค์ท่านอยู่ในระหว่างประชวร ต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้ทรงกล่าวไว้ว่าจะสืบสานต่อยอดจากรัชกาลที่ 9 เพื่อความเป็นสุขของราษฎร นับเป็นพระมหากรณาธิคุณอย่างยิ่ง”


ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ / ขตว.เลย