เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ที่แปลงสาธิตปลูกกัญชาวิสาหกกิจ ต.นาคำ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธาณสุข เขตสุขภาพที่ 8 พร้อมคณะ ร่วมกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการ ผลักดันก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนปลูกกัญชาของ ต.นาคำ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ซึ่ง เป็น วิสาหกิจชุมชนแห่งแรก ที่ประสบความสำเร็จ เกี่ยวกับการปลูกกัญชา เพื่อทำวิจัยในการรักษาโรค ตามนโยบายของพรรคภูมิใจไทย และนโยบายของรัฐบาล อีกทั้ง เป็นการส่งเสริมการทำเกษตรทางเลือกปลูกกัญชาสร้างรายได้ ให้กับชุมชน ภายใต้การขออนุญาตตามกฎหมาย เนื่องจากยังเป็นยาเสพติดให้โทษที่ต้องควบคุม โดยถือว่าเป็นวิสาหกิจชุมชนแห่งแรก ของ นครพนม ที่ประสบความสำเร็จในด้านการดูแลปลูกกัญชา เบื้องต้นนำร่องเป็นแปลงสาธิต จำนวน 50 ต้น ที่มีการปลูกแบบปลอดสาร เพื่อจะได้ ลงนามความร่วมมือกับ ทางหน่วยงานสาธารณสุขนำไปวิจัยด้านการทำยารักษาโรค ซึ่งจะใช้ช่อดอกไปทำการทำวิจัย ส่วนใบกัญชา จะได้มีการขออนุญาต นำไปปรุงประกอบอาหารเป็นเมนูเพื่อสุขภาพชนิดต่างๆ และมีการควบคุม ส่วนการปลูกจะเป็น สายพันธุ์พื้นบ้าน ชื่อ หางกระรอกภูพาน เป็นพื้นล้มลุก ใช้เวลาปลูกประมาณ 3 -4 เดือน สามารถเก็บผลผลิตได้ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ผู้นำหมู่บ้าน อสม. ประชาชนให้การต้อนรับพร้อมกับชิมเมนูน้ำสมุนไพรใบกัญชาทานคู่กับขนมเปี้ยสูตรผสมสมุนไพรใบกัญชาอีกด้วย
นครพนม นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธาณสุข เขตสุขภาพที่ 8 เปิดเผยว่า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563 ที่มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่15 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา เป็นการปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 แค่บางส่วน โดยช่อดอกและเมล็ดกัญชา ยังเป็นยาเสพติดให้โทษ ทั้งนี้ เนื่องจากตามอนุสัญญายาเสพติด ระหว่างประเทศยังควบคุมเป็นยาเสพติด แต่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ และส่วนของกัญชาที่ปลดล็อกแล้วสามารถนำไปผลิตเพื่อใช้ประโยชน์อื่นๆได้ โดยผู้ที่จะนำวัตถุดิบเหล่านี้ไปใช้จะต้องนำมาจากผู้ที่ได้รับอนุญาตปลูก สกัด และผลิตเท่านั้น
สำหรับขั้นตอนการปลูก สกัด และผลิต ทั้งหมดยังต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ระบุผู้มีคุณสมบัติขออนุญาต คือ หน่วยงานรัฐ สถาบันอุดมศึกษา เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร แพทย์แผนไทย โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์จะต้องร่วมกับหน่วยงานรัฐตามเงื่อนไข และการนำเข้าวัตถุหรือสารของส่วนของกัญชานั้นให้นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ยกเว้นเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งของกัญชา ในส่วนองค์ประกอบของกัญชาที่ปลดล็อกแล้ว ประกอบด้วย ส่วนของ ใบ กิ่ง ก้าน และ ราก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ทางการแพทย์ ศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร เครื่องสำอาง ในส่วนของ เปลือก ลำต้น เส้นใย ใช้ศึกษาวิจัย นำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สิ่งทอ ยานยนต์ กระดาษ เป็นต้น ประชาชนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดได้ แต่ต้องมาจากผู้ได้รับอนุญาตปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายโดย ปรุงอาหารได้ ทำผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ โดยต้องใช้ส่วนวัตถุดิบกัญชาที่ไม่ใช่ ยาเสพติด และต้องมาจากสถานที่ปลูกภายในประเทศที่ได้รับการอนุญาตแล้วเท่านั้น สามารถทำใช้เองได้ในครัวเรือน เช่น ลูกประคบสด หรือ ถ้าจะผลิตเพื่อจำหน่าย ต้องขออนุญาตภายใต้กฏหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น เช่น พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง
สำหรับประชาชนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชา กัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดได้ แต่ต้องมาจากผู้ได้รับอนุญาตปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งสถาบันกัญชาทางการแพทย์ได้เปิดช่องทางจับคู่ระหว่างผู้ที่สนใจใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชาที่ไม่เป็นยาเสพติดกับผู้ได้รับอนุญาตปลูกโดย สามารถลงทะเบียนที่ http://bit.ly/2N4NC3R ทั้งนี้ การนำใบกัญชาไปประกอบอาหารเพื่อรับประทานในครัวเรือนหรือจำหน่ายในร้านอาหารของตัวเองสามารถทำได้ แต่หากนำส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่เป็นยาเสพติดไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่าย จะต้องขออนุญาตภายใต้กฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นด้วย ขณะนี้สามารถขออนุญาตเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชงและสารสกัดของเมล็ดกัญชง และผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้ภายนอก เช่น ยาหม่อง ยาน้ำมัน ยาครีม ที่มีส่วนประกอบของใบ ลำต้น กิ่งก้านและรากกัญชา กัญชงได้แล้ว ส่วนการขยายการใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำกฎหมายให้มีผลใช้บังคับต่อไป
ข่าว/ภาพ ประทีป วชิระธัญญากุล ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครพนม