อ.ภูเรือ จ. เลย เปิดงาน”เทศกาลศิลปะ สายหมอก และดอกไม้” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจกระจายรายได้สู่ชมชน
เมื่อเวลา 19.00 น.วันที่ 29 ธ.ค. 63 ที่ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอภูเรือ จ.เลย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน “เทศกาลศิลปะ สายหมอก และดอกไม้” มี นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ,นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ , นายณรงค์ จีนอ่ำ และ นางสาวภูมารินทร์ คงเพียรธรรม นายอำเภอภูเรือ ข้าราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน เกษตรกร นักธุรกิจ ประชาชน นักท่องเที่ยว เข้าร่วมงานจำนวนมาก
นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวรายงานว่า จังหวัดเลยมีจุดเด่นคือเป็นเมืองเก่าแก่ มีอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณีเป็นของตนเอง เป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนมีจิตใจเมตตา โอบอ้อมอารี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีศักยภาพโดดเด่นในด้านการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมาจังหวัดเลยมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) 54,769 ล้านบาท รายได้ต่อหัวประชากร 100,796 บาทต่อปี มีรายได้จากภาคเกษตร มูลค่ารวมประมาณ 14,789 ล้านบาท มูลค่าการค้าชายแดน 9,453 ล้านบาท มูลค่าจากการท่องเที่ยว 4,740.59 ล้านบาท จากข้อมูลฯ คาดการณ์ว่า จังหวัดเลย ยังเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายไม้ดอก ไม้ประดับ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอภูเรือ สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ปีละ 270 – 300 ล้านบาท โดยมีเกษตรกรผู้เพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับจำนวน 723 ราย
พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 2,170 ไร่ จังหวัดจึงมีแนวทางที่จะพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตร ไม้ดอก ไม้ประดับ โดยการพัฒนาสายพันธุ์ให้หลากหลาย ให้ตรงตามความต้องการของตลาด มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้สามารถต่อรองราคาผลผลิตและปัจจัยการผลิต มีผลผลิตที่สม่ำเสมอ และลดต้นทุน ประกอบกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ดำเนินการประเมินผลมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ : กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเลย ที่ได้รับการพัฒนาจาก วว. จำนวน 13 ตัวอย่าง โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ กลุ่มเกษตรกร ไม้ดอกไม้ประดับ จังหวัดเลย ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และชุมชน คิดเป็นมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เกิดขึ้นในปี 2563 จำนวน 9.0898 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปี 0.6992 ล้านบาท ต่อรายต่อกลุ่ม ซึ่งการถ่ายทอดโดยเทคโนโลยีจาก วว. ดังกล่าวให้แก่กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเลย มีส่วนช่วยให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง อันเกิดจากเทคโนโลยีด้านก่อน – หลังการเก็บเกี่ยว รายได้ของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ตลอดจนสร้างผลกระทบทางสังคมจากการทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 แผนพัฒนาจังหวัดเลย
จังหวัดเลย จึงได้กำหนดวาระการขับเคลื่อนของจังหวัดเลย ปี 2564 โดยมุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนาการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ในพื้นที่จังหวัดเลย ให้เป็น : เมืองหลวงแห่งไม้ดอก ไม้ประดับของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายไม้ดอก ไม้ประดับที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขยายพื้นที่เพาะปลูกไปยังอำเภอที่มีศักยภาพ จัดหาตลาดและช่องทางการตลาดรองรับ เพื่อเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตร (ไม้ดอก – ไม้ประดับ) ของจังหวัดเลย ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดสามารถแข่งขันกับตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัดเลยให้ได้มาตรฐาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรและชุมชนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จังหวัดจะได้ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงาน/โครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนและนำเสนอท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อโปรดพิจารณาสนับสนุนและผลักดันต่อไป
ด้านกิจกรรมของงานฯ ประกอบด้วย การจัดสถานที่ และจัดสวนไม้ดอก ไม้ประดับเมืองหนาว การจัดแสดงและจำหน่วยสินค้า OTOP สินค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสินค้าเกษตร งานศิลปะ วัฒนธรรม และกิจกรรมภายในงานปรับปรุงภูมิทัศน์ ประดับไฟให้สวยงาม พร้อมเชื่อมอุโมงค์ไปยังลานต้นคริสต์มาสด้วย หวังสร้างความประทับใจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมงาน ให้เกิดความประทับใจ กระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร สถานที่พัก ผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับ และผู้ให้บริการอื่น ๆ ในพื้นที่เป็นหลัก พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจากศิลปินระดับชาติมาโชว์การแสดงในงานภายใต้ข้อ “ดนตรี กวี ศิลป์” โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ/กลุ่มเกษตรกร ไม้ดอกไม้ประดับ จังหวัดเลย ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และชุมชน แก่กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเลย มีส่วนช่วยให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง อันเกิดจากเทคโนโลยีด้านก่อน – หลังการเก็บเกี่ยว รายได้ของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ตลอดจนสร้างผลกระทบทางสังคมจากการทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองตอบต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 แผนพัฒนาจังหวัดเลย
ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์/ จ.เลย /