วันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ที่ ป่าห้วยหินลับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง บ้านศรีเจริญ ต.เลยวังไสย์ อ.ภูหลวง จ.เลย นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เดินทางมาเยี่ยมชมการจัดการที่อยู่อาศัยของช้างป่า และเยี่ยมชมเครือข่ายตัวแทนอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า ภูหลวง ณ แปลงเกษตรกรต้นแบบปลูกพืชลดแรงดึงดูด (ไร่ธาราสุวรรณ) บ้านวังมน หมู่ที่ 5 ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย มีนายวันชัย สิมมาเศียรหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง สถานีวิจัยภูหลวง และโครงการฟื้นฟูพืชอาหารช้างป่าภูหลวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ต้อนรับ และรายงานผลการดำเนินการ
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้ให้สัมภาษณ์กรณีช้างป่าภูหลวงออกนอกเขตฯเข้าไปทำความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านว่า “ ปัญหาเรื่องช้างป่า ที่ลงมาจากภูหลวง แล้วก็มาสร้างปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ชาวบ้านในเขต 3 ตำบล ตำบลภูหอ ตำบลห้วยสีเสียด ตำบลเลยวังไสย ซึ่งปัญหาเกิดขึ้นมายาวนานพอสมควร เพราะว่าในบิเวนตรงนั้นเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ในอดีตที่ผ่านมา มีช้างป่าอาศัยอยู่ ตอนนี่น่าจะสองร้อยกว่าตัว สำรวจเมื่อสองปี่ที่ผ่านมาร้อยแปดสิบกว่าตัว แต่ในระยะหลังพฤติกรรมของช้างป่าเหล่านี้ มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยที่มีบางส่วน ลงมาในเขตพื้นที่ ที่ชาวบ้าน ปลูกพืชเศรษฐกิจอยู่ ไม่ว่าจะเป็น อ้อย ข้าว มัน มีโอกาสนัดผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ขอชื่นชมชาวบ้าน ที่ยังช่วยกัน รักษาช้างป่าฝูงนี้เอาไว้ ให้เป็นสมบัติของแผ่นดินไทย สมบัติของจังหวัดเลย แต่ยังไงก็ตาม ความเดือดร้อนต่างๆ ต้องได้รับการช่วยเหลือ บรรเทา แก้ไข
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคราชการ จะแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ ในระยะสั้น ระยะกลาง แล้วก็ระยะยาว ระยะสั้น คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า คือ กำหนดบทบาทของชาวบ้าน ที่อาสาเฝ้าระวังช้างป่า ให้เข้มแข็งขึ้น โดยเปิดการอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม เพิ่มจำนวนอาสาสมัคร จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ต้องมี เช่น เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือป้องกันตัว อันนี้ต้องใช้ต้องมี โดยจะจัดหา และส่งมอบให้ วันที่ 10 ธันวาคม 63 นี้ และการปรับพฤติกรรม การทำการเกษตรแบบเดิม ที่ปลูกพืชไร่ที่เป็นอาหารช้าง การเพราะปลูก ซึ่งเราก็จะต้องเข้าไปสนับสนุน การเพาะปลูกนั้น ต้องทำเกษตรผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงผึ้ง เลี้ยงสัตว์ ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำพืชไร่ ที่เป็นอาหารช้างได้ จัดระเบียบโดยหลักการธรรมชาติว่า ช้างต้องอยู่ในป่า จะได้เกิดการท่องเที่ยวชุมชนได้อีกทาง แต่เรื่องความปลอดภัยก่อน
ระยะกลางคือ ทำแนวป้องกัน ขุดเป็นคู ด้านหนึ่งลาดด้านหนึ่งชัน กันช้างออกจากป่า พยายามต้อนช้างทั้งหมดกลับเข้าป่าให้ได้ แล้วเติมแหล่งอ่าหารในป่า ทำโป่งเพิ่มเติม ทำแหล่งน้ำเพิ่ม ปลูกพืชหลักที่เป็นอาหารของช้าง ไม่ว่าจะเป็นไผ่ กับ หญ้า เป็นสิ่งที่ต้องการมาก เสริมพวกกล้วย
สำหรับในระยะยาว เป็นเรื่องของการฟื้นฟู เยียวยาให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ตามระเบียบของการช่วยเหลือของทางราชการนั้น ยังไม่มีคลอบคลุมไปถึง แต่จะนำหลักเกณฑ์อื่นมาอนุโลม ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ต้องมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขระเบียบต่างๆ และดำเนินการทั้ง 3 ระยะให้เร็วที่สุด ซึ่งมั่นใจว่าคนภูหลวง จะสามารถอยู่ร่วมกับช้างได้ ในอนาคตต่อไป” ผู้ว่าฯเลยกล่าวในที่สุด
ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ / จ.เลย