เลย(ชมคลิป)ปศุสัตว์เลยจัดงานฟิวเดย์นำร่องประเทศไทยงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์


เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 17 ก.ค.2563 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลย อ.วังสะพุง จ.เลยน.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน”ฟิวเดย์ (Field day) วันถ่ายทอดเทคโนโลยีขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ “ กิจการที่เกี่ยวเนื่องจังหวัดเลย ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOUX ระหว่างกรมปศุสัตว์กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีนายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวต้อนรับ มีนายสุภาษิต ศุภวุฒิ ผอ.สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน น่ายประยูร อรัญรุท นอภ.วังสะพุง และ นายศิริชัย สันติสัมพันธ์กุล ผอ.ธ.ก.ส.สำนักงารนเลยหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกษตรกร ประชาชน เข้าร่วมงานจำนวนมาก
นายสุวัฒน์ มัตราช ปศุสัตว์จังหวัดเลย กล่าวรายงานว่า การขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง ตามนโยบายของรัฐบาล จังหวัดเลย ในวันนี้ ตามที่ กรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายและสั่งการให้จังหวัดเลย โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย ดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่องภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ในความร่วมมือ ระหว่างกรมปศุสัตว์ กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค.2563 เป็นต้นมานั้น ได้ให้การประชำสัมพันธ์ รับสมัคร คัดเลือกเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรเข้าร่วม โครงการตามแผนสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย ธ.ก.ส.ในอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 0.01 บาท/ปี หรือล้านละร้อยบาท/ปี ห้วงระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (ปี 2563 -2565) โดยมีเป้าหมายคัดเลือกเกษตรกร 1 ครอบครัว, 1 กลุ่ม, 1 ทางเลือกเมนูอาชีพปศุสัตว์, โดยมีชนิดปศุสัตว์ที่ส่งเสริมได้แก่ โคเนื้อ/โคขุน, กระบือ, แพะ/แกะ และไก่พื้นเมือง ซึ่ง เป็นรายชนิดสัตว์ที่มีความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ จ. เลย มีกลุ่มเกษตรกร สมัครเข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด 39 กลุ่ม เกษตรกร 378 ราย แยกเป็น กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ 11 กลุ่ม, กลุ่มเลี้ยง กระบือ 4 กลุ่ม และกลุ่มเลี้ยงแพะเนื้อ 24 กลุ่ม โดยมีความพร้อมได้ผ่านการ ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว 24 กลุ่ม/230 ราย (วงเงินสินเชื่อ 50.8 ล้านบาท) และมีผลความก้าวหน้าผ่านการพิจารณาอนุมัติวงเงินสินเชื่อเงินกู้จาก คณะกรรมการธ.ก.ส.จังหวัดเลย แล้ว 11 กลุ่ม/107 ราย วงเงินอนุมัติ 25 ล้านบาท (เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2563 ) การจัดกิจกรรม “ฟิวเดย์ วันถ่ายทอดเทคโนโลยี” ในครั้งนี้เพื่อถ่ายทอดความรู้วิชาการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในกระบวนการผลิต ให้กับเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยมุ่งยึดตลาดนำการผลิต ลดต้นทุนให้มีกำไรสูงสุด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการรับรู้ในรูปแบบโครงการฯระหว่างเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร และบุคลากรหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ จนท.กรมปศุสัตว์, จนท. ธ.ก.ส.และ จนท.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาและ ปรับปรุงวิธีการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรได้มีความมั่นคง ยั่งยืน สามารถเป็นแบบอย่างให้กับกลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ ได้ต่อไป วันนี้มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จนท.ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมโครงการประมาณ 400 คน
น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า รัฐบาล เร่งให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆของชาติ ทั้งปัญหาสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจ,ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นซ้ำซากในหลายพื้นที่ทำให้มีผลผลิตลดลง, มีราคาตำต่ำและเกษตรกรรายย่อยโดยส่วนใหญ่ขาดโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ในการฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนอาชีพ, หรือเพิ่มขีด ความสามารถในการประกอบอาชีพของตนเอง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, โดยกรมปศุสัตว์ จึงร่วมมือกับ กระทรวงการคลัง โดย ธ.ก.ส. ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการสนับสนุนสินเชื่อ, เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง, เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมา เพื่อฟื้นฟูอาชีพแก่เกษตรกร, บรรเทาความเดือดร้อน เสียหายจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชำติ, และผลกระทบจากผลผลิตลดลงและพืชผลราคาตกต่ำทั้งนี้เป็นการจัดงานนำร่องแห่งแรกของประเทศไทยที่ ธ.ก.ส.อนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยถูก 1 ล้าน/100 บาทเท่านั้น ด้วยศักยภาพทางภูมิศาสตร์ของ จ.เลย รวมทั้ง จ.เลย ต้องนำเข้าข้าว ไข่ และเนื้อ ในปัจจุบันนั่นคือการขาดแคลนอาหารดังกล่าว โดยเฉพาะ “แพะ” ที่ตลาดเปิดกว้างปัจจุบันมีเลี้ยงในประเทศเพียง 6 แสนตัวเท่านั้นหากจะล้นต้องเกินกว่า 1 ล้านตัว เกษตรกร จ.เลย ให้ความสำคัญตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตามขั้นตอนและศูนย์พัฒนาสัตว์ด่านซ้ายโดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็ได้เลี้ยงและขยายพันธุ์แพะพันธุ์ บอร์ และ ชาแนล ขณะนี้มีแล้วกว่า 40 ตัว เพื่อเป็นแพะพระราชทานให้กับเกษตรกรอีกด้วย
จากนั้นอธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะร่วมเปิดงานมีการมอบป้ายอนุมัติวงเงินสินเชื่อให้กับผู้แทนกลุ่มเกษตรกรจำนวน 11 กลุ่ม และร่วมบันทึกความเป็นสักขีพยานการลงนามทำสัญญาซื้อขายแพะ (MOA) กลุ่มเกษตรกรกับผู้ประกอบการจำนวน 24 กลุ่ม จัดเวทีเสวนาสร้างและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะจังหวัด เลยการแสดง บูธ นิทรรศการถ่ายทอดเทคโนโลยีนิทรรศการวิชาการรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ที่เกี่ยวข้องตามโครงการนิทรรศการนวัตกรรมทางด้านการเกษตรและอาหารสัตว์เช่นเครื่องจักรกลอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการผลิตปศุสัตว์ตลอดจนการสาธิตแสดงโชว์ในภาคสนามการแสดงพันธุ์สัตว์คือพันธุ์แพะและการชิมผลิตภัณฑ์ เนื้อ/นมแพะการชี้แจงแนวทางบริหารจัดการโครงการเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร การจัดการด้านสินเชื่อเงินกู้โดย ธ.ก.ส. สำนักงานเลย การจัดการด้านการผลิตและการตลาดโดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อลดต้นทุนการผลิตสัตว์และมอบปัจจัยการผลิตพันธุ์พืชอาหารสัตว์ให้กับกลุ่มเกษตรกรโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลย

ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ / จ.เลย /