หนองบัวลำภู – ชาวบ้านเห็นด้วยโครงการพัฒนาสวนสาธารณะหนองบัว และบึงงิ้ว

ชาวหนองบัวลำภู ยกมือหนุนภายหลังกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดรับฟังความคิดเห็น ผลักดันโครงการพัฒนาสวนสาธารณะหนองบัว ด้วยงบ 120 ล้านบาท และบึงงิ้ว งบ 91 ล้านบาท พัฒนาให้เป็นแหล่งพักผ่อน ท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจให้ชาวบ้านได้อยู่ดีกินดี

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ที่ ห้องณัฐพงษ์ 1 โรงแรมณัฐพงษ์แกรนด์ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับจังหวัดหนองบัวลำภู เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 งานออกแบบรายละเอียด โครงการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ระยะที่ 2 ของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีนายศศิน พัฒนภิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู เปิดการประชุม มีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนชาวบ้าน และคนในชุมชนเขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู และ นายก อบต.หนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง พร้อมคณะผู้บริหารและตัวแทนชาวบ้านในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัวใต้ เข้ารับฟัง ร่วม 200 คน


ในขณะที่นายเพิ่มพูน มาลีหอม สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวถึงการดำเนินโครงการดังกล่าว ว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นโครงการระยะเร่งด่วน ระยะที่ 2 ได้แก่โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาเมืองบริเวณสวนสาธารณะหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู งบประมาณ 120 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บึงงิ้ว ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู งบประมาณ 91 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการระยะกลาง ซึ่งทั้ง 2 โครงการมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมืองให้มีความเป็นเมืองน่าอยู่ ปลอดภัย และรักษาสภาพแวดล้อมของประชาชน

นายเพิ่มพูนฯสถาปนิคชำนาญการ กล่าวต่อว่าสืบเนื่องมาจากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1 ระยะที่ 2 ประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี หนองคาย เลย หนองบัวลำภู และบึงกาฬ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีลำน้ำสายสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำเลย และแม่น้ำโขง มีที่ตั้งโดดเด่นในการเป็นจังหวัดที่เชื่อมต่อประตู สู่อาเขียนไปยังประเทศลาวและเวียดนาม มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีทัศนียภาพและการผจญภัยที่งดงาม สามารถเดินทางได้สะดวกสบายโดย ทางรถยนต์ รถไฟและเครื่องบิน
จึงเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 1 ระยะที่ 2 จึงได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ศึกษาความเหมาะสมและ ออกแบบรายละเอียดโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ เป็นระเบียบเรียบร้อย และปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง เกิดความยั่งยืนและสมดุลทางสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์และ เป้าหมายที่วางไว้


กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับผลการออกแบบรายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและร่างการออกแบบรายละเอียดในพื้นที่ส่วนที่เหลือ และ แผนงานก่อสร้าง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สื่อมวลชน และผู้แทนภาคประชาชนได้รับทราบข้อมูล และร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ ให้มีความเหมาะสมและสามารถนำไป ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นต่อไป
ด้าน นายศศิน พัฒนภิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า โครงการนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จ้างผู้รับจ้างบริษัทที่ปรึกษามาดูว่าโครงการนี้ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 จังหวัดหนองบัวลำภู เป็น 1 ใน 10 จังหวัด มีโครงการที่จะมาพัฒนาพื้นที่ 10 โครงการระยะเร่งด่วนโครงการพัฒนาเมืองบริเวณสวนสาธารณะหนองบัว ในพื้นที่เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู และและโครงการที่ 2 คือโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนางานพื้นที่เชิงนิเวศของบึงงิ้ว ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง
ซึ่งวันนี้บริษัทที่ปรึกษาโครงการ มารับฟังจากการศึกษาโครงการ ว่าจะทำอะไรยังไงบ้างจากการปรับปรุงไปแล้วในระยะที่ 1 เสร็จไปแล้ว วันนี้เป็นการรับฟังในระยะที่ 2 เราจะทำอะไรเพิ่มเติม เช่น จะทำป้ายหรือไม่ การปรับปรุงภูมิทัศน์ หรือจะก่อสร้างสิ่งที่จะเป็นสาธารณประโยชน์ ที่เป็นสัญลักษณ์ หรือปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งโครงการทั้ง 2 โครงการเมื่อทำแล้วสิ่งที่ได้ประโยชน์สูงสุดของคนในพื้นที่ทั้งของอำเภอเมืองหนองบัวลำภู และคนในตำบลหนองบัวใต้
จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งพักผ่อน โดยเฉพาะบึงหนองบัว ซึ่งจะมีรถขับผ่านไปมา จากเมืองเลย อุดรธานี ขับรถผ่านไปผ่านมาแทนที่จะแวะกินก๋วยเตี๋ยวอย่างเดียว เขาก็จะได้มีเวลาแวะมา สักการะองค์สมเด็จพระนเรศวรแล้วมาเดินโดยรอบๆแล้วก็มาถ่ายรูปมาเช็คอิน ตลอดจนได้มาจับจ่ายใช้สอยมันจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคนหนองบัวลำภู จากนักท่องเที่ยว ซึ่งโครงการดังกล่าว ทางจังหวัดจะนำเข้าแผนการพัฒนาจังหวัดประมาณปี 2570 หรือ 2571 เพื่อจะได้งบประมาณกลับมาพัฒนาจังหวัดต่อไป


ทางด้าน นายมนัสชัย สกัดกลาง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่าจากการรับฟังโครงการดังกล่าว มองเห็นว่าภาคเอกชนเห็นด้วยเพราะเป็นโครงการที่ดีเพื่อที่จะได้เพิ่มศักยภาพของการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดหนองบัวลำภู ไม่ว่าจะเป็นจุดแลนด์มาร์คต่างๆ ของพื้นที่ทั้ง 2 จุด เห็นว่าเป็นโครงการที่เหมาะสมและน่าสนับสนุน
ในขณะที่ตัวแทนจากชุมชน ภาคเอกชน ภาครัฐ ที่ได้เสนอความคิดเห็นโดยเฉพาะ ในเรื่องของการสร้างจุดชมเมืองที่จะมีการสร้างลักษณะเป็นชิงช้าเป็นรูปหลา ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับการทอผ้า เข้าไปในพื้นที่แหล่งน้ำนั้น ผู้ร่วมประชุมได้เสนอความเห็นฝากไว้ว่ากลัวว่าจะเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น โดยพื้นที่ของสวนสาธารณะหนองบัว ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 135 ไร่ 1 งาน เป็นพื้นที่ดิน 54 ไร่ พื้นที่น้ำ 81 ไร่ แต่ความเห็นของทุกภาคส่วนก็เห็นด้วยที่จะให้มีการพัฒนาโครงการดังกล่าว เพื่อสร้างแหล่งพักผ่อน กระตุ้นเศรษฐกิจของคนหนองบัวลำภู
ทางด้าน นายเพิ่มพูน มาลีหอม สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่าวันนี้มาจัดประชุมเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่จัดสรรงบประมาณมาโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนและระยะกลาง ระยะเร่งด่วนมีอยู่หนึ่งโครงการ คือ โครงการพัฒนาสวนสาธารณะหนองบัว ในเขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู ส่วนระยะกลางคือ การพัฒนาบึงงิ้ว ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง ซึ่งทั้ง 2 โครงการนี้ เป็นความคาดหวังของประชาชนที่จะได้งบประมาณมาพัฒนาพื้นที่ ซึ่งจะทำให้พื้นที่ได้ถูกพัฒนาไปด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ และช่วยเรื่องเศรษฐกิจ การค้าให้กับเมืองด้วย ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้จัดโครงการเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจดีขึ้น และจะนำเข้าแผนพัฒนาจังหวัดต่อไป


สุภัชรกานต์ แก้วสิงห์  ภาพข่าว หนองบัวลำภู

ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.