ทั่วไทย – “บพท. ส่ง 7 นวัตกรรมพร้อมใช้ แข่งขันเวทีนานาชาติที่เกาหลีและใต้หวัน”

Seoul International Invention Fair (SIFF) ที่เกาหลีใต้ และ Kaohsiung International Invention and Design EXPO (KIDE) ที่ไต้หวัน เป็นเวทีประกวดผลงานนวัตกรรมระดับโลก โดยงาน SIFF 2024 และ KIDE 2024 ที่จะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคมนี้

นับเป็นครั้งแรกที่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) คัดเลือกผลงานนวัตกรรมไทยเพื่อเป็นตัวแทนประเทศ เข้าร่วมแข่งขันในสองเวทีนานาชาตินี้ ซึ่งผลงานเหล่านี้ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อแสดงศักยภาพและความพร้อมด้านนวัตกรรมของไทยในระดับสากล

สำหรับเกณฑ์ในการคัดเลือกงานวิจัยของ บพท. นั้น นอกจากจะต้องเป็นงานวิจัยด้าน Appropriate Technology หรือ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่มีความเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยี มีมาตรฐาน รวมถึงเกิดการใช้งานจริงในกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังต้องสามารถสร้างผลกระทบระดับสูงในพื้นที่ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นรูปธรรม ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการตนเอง และสร้างพื้นที่การเรียนเรียนรู้นวัตกรรมชุมชน รวมถึงยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนแห่งนั้นได้อย่างยั่งยืน  โดยคัดเลือกจากงานวิจัยที่ได้รางวัลจากเวทีประกวดชุมชนนวัตกรรม ในปี 2565 และ 2567

สำหรับโดยผลงานที่ที่ชนะเลิศจากเวทีของ บพท.  และผ่านการคัดเลือกโดย วช. เพื่อเข้าร่วมงาน SIFF 2024 และ KIDE 2024 มีจำนวน 7 เรื่อง ประกอบด้วย 1. “นวัตกรรมการจัดการเพาะเลี้ยงชันโรง” (มหาวิทยาลัยหาดใหญ่)  2. “การใช้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและจุลินทรีย์ในอาหารโคเนื้อ” (มหาวิทยาลัยนครพนม)  3.“ชุมชนนวัตกรรมวัฒนธรรมผ้าหม้อห้อมลวดลายอัตลักษณ์เวียงโกศัย” (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)  4. “นวัตกรรมเส้นไหม” (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน) 5. “บ้านปลามีชีวิต” (มหาวิทยาลัยทักษิณ) 6.“เครื่องเพิ่มความชื้นและลดอุณหภูมิจากโอ่งมังกร” (มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์)  และ  7.“แม่อิงชิโบริ ศิลปะ งานคราฟ สีย้อมผ้าธรรมชาติ” (มหาวิทยาลัยพะเยา)

“งานวิจัย 4 เรื่องแรก มีจุดเด่นที่เป็นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่น การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน และการสร้างความยั่งยืนในเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่นั้น ๆ   บพท. ส่งเข้าประกวดในงาน SIFF 2044 ที่เกาหลีใต้ เพราะมีผู้ชมหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งในภูมิภาคและสากล เพื่อให้เกิดการทำธุรกิจและการสร้างเครือข่าย   ส่วนงาน KIDE 2024 ที่ไต้หวัน จะเป็นงานที่เน้นแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมงาน ที่มีทั้งนักประดิษฐ์ นักออกแบบ และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม จึงเหมาะกับเหมาะกับงานนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ 3 เรื่องหลัง ที่เป็นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาระดับพื้นที่ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมชุมชน การสร้างรายได้ให้กับชุมชน” ดร.กิตติ สัจจวัฒนา  ผู้อำนวยการ บพท. ให้ข้อมูล

ในส่วนประโยชน์จากการเข้าร่วมการประกวดทั้ง 2 งานนี้นั้น ผอ.บพท. กล่าวว่าจะเป็นการยกระดับศักยภาพของนักวิจัยที่ไปร่วมงาน ได้เปิดประสบการณ์และเห็นนวัตกรรมของระดับนานาชาติ ได้ พบปะแลกเปลี่ยนกับนักวิจัย นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ซึ่งอาจนำไปสู่การทำงานร่วมกันในอนาคต นำไปสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ ที่จะช่วยกระตุ้นเกิดการสนับสนุนการการนำผลงานไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

“ที่สำคัญคือ การเข้าร่วมงานนี้ คือการแสดงให้องค์กรทั่วโลกเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และแนวคิดการจัดการเชิงพื้นที่ที่สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาที่หลากหลายในระดับสากลขยายความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ ซึ่ง บพท. มุ่งหวังที่จะใช้เวทีนี้เป็นช่องทางขยายเครือข่ายความร่วมมือทั้งด้านนวัตกรรมและการพัฒนาเชิงพื้นที่กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และทรัพยากรในระยะต่อไป” ดร.กิตติ สรุป

ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.