ผ้าไหมขอนแก่นเตรียมเข้าสู่ตลาดโลก หลังภาครัฐ-เอกชนร่วมกับสมาคมไหมไทยและสิ่งทอขอนแก่น ทำข้อตกลงในการพัฒนา ผลักดันตลาดในฝรั่งเศสและออสเตรเลีย เปิดช่องทางไหมไทยทำรายได้ครอบจักรวาล
ที่ชั้น เอ็ม อาคารขอนแก่นอินโนเวชั่นเซ็นเตอร์ ขอนแก่น (ตึกแก่น) ถนนศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายศิริวัฒน์ พินิจพานิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานและสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือ “การขับเคลื่อนขอนแก่นไมซ์ซิตี้สู่ศูนย์กลางเมืองผ้าไหมโลก” ซึ่งประกอบด้วย ภาคี 5 ฝ่ายคือ นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) นายภพพล เกษมสันต์ ณ อยุธยา นายกสมาคมไหมไทยและสิ่งทอขอนแก่น รองศาสตราจารย์ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และทีเส็บ ซึ่งจะใช้ความชำนาญที่แตกต่างกัน มาช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการไหมไทยได้อย่างครบกระบวนการ
นายศิริวัฒน์ พินิจพานิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เผยว่าโอกาสนี้จะเป็นการช่วยกันขับเคลื่อนผ้าไหมขอนแก่น และภูมิภาคอีสานให้เกิดเป็นฮัปในเวทีโลก ส่งเสริมในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ พัฒนาการตลาด ไปสู่นานประเทศ ซึ่งมีการจัดแสดง และจัดจำหน่ายที่ฝรั่งเศส และหลาย ๆ ประเทศ ถือว่าเป็นก้าวย่างที่ดีในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความโดดเด่นอย่างเช่นอำเภอชนบท อำเภอพล และอีกหลาย ๆ อำเภอที่มีการทอผ้าไหมเป็นอาชีพโดยการส่งเสริมจากพระพันปีหลวงฯอีกด้วย
ทางด้านนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่าจากตัวเลขครัวเรือนที่กรมพัฒนาหม่อนไหมในครัวเรือน 85,000 ครัวเรือน รายได้ของแม่บ้านที่ทำนาปีละประมาณ 33,000 บาท แต่สำหรับที่ทำผ้าไหมด้วยมีรายได้เพิ่มปีละ 32,000 บาท ซึ่งแนวทางในการสร้างรายได้ที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระราชนนีพระพันปีหลวงที่ทรงพระราชทานมาพัฒนาองค์ความรู้ตั้งแต่ปี 2513 54 ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในส่วนของการเริ่มต้นเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการแสดงสินค้า การติดต่อกับต่างประเทศ และพยายามพัฒนาขอนแก่นให้เป็นเมืองไหม ที่เรียกว่า ไหมซิตี้ ซึ่งภายใน 5 ปี จะจัดงาน “silke Epor” โดยจะเริ่มไปเปิดตัวปลายปีนี้ที่จังหวัดระยอง
นายภพพล เกษมสันต์ ณ อยุธยา นายกสมาคมไหมไทยและสิ่งทอขอนแก่น เปิดเผยว่า ที่จริงแล้วไหมขอนแก่น และไหมภาคอีสานทั้งหมดคุณภาพดี แต่เราขาดการพัฒนาลวดลายให้ไปสู่อินเตอร์ ไปสู่แฟชั่นสากล และยังขาดดีไซเนอร์มาออกแบบชุดที่เก่ง ๆ ให้เข้ากับทุกประเทศ อย่างไปยุโรปจะออกแบบผ้าไหมอย่างไร เช่นจะทำผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ หรืออื่น ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมฯเรามี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ามาพัฒนาลายผ้า และดีไซด์ต่าง ๆให้ผ้าไหมของเรา โดยทางเราได้มีการวางแผนกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปถึงปลายน้ำ โดยได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสานว่ามีพื้นที่ว่างในพื้นที่บ้านโคกสี ประมาณ 300 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่การปลูกหม่อน ทำโรงเรือนแบบปิด เลี้ยงไหมให้เส้นใยมีคุณภาพดี พร้อมกับพัฒนาเครื่องสาวไหมให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด