หนองคาย – อำเภอโพธิ์ตาก จัดประเพณีกำฟ้า เผาข้าวลาม จี่ข้าวการละเล่นพื้นบ้าน รักษาประเพณีเดิม

อำเภอโพธิ์ตาก จัดกิจกรรมประเพณีกำฟ้า เผาข้าวลาม จี่ข้าวรวมถึงการละเล่นพื้นบ้าน ได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในการนับถือสักการะบูชาฟ้า สึกสำนึกบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน
วันที่ 20 มี.ค.67 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่ วัดโพธิรุกขาราม บ้านโพธิ์ตาก หมู่ 2 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย เพื่อทราบเกี่ยวกับประเพณี ก้ำฟ้า ที่น่าสนใจของชาวอำเภอโพธิ์ตาก ที่ได้มีการอนุรักษ์ประเพณี “ก้ำฟ้า” มาอย่างยาวนานอยู่จนถึงเยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณต่อเจ้าชมพู ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพวน แขวงเชียงขวาง สปป.ลาว องค์ที่ 43 ภายในงานได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับบุญกำฟ้า โคยปราชญ์ชาวบ้าน, การแสดงของนักเรียนโรงเรียนบ้านสาวแล,โรงเรียนโพธิ์ตากพิทยาคม,โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลโพธิ์ตาก , ฐานกิจกรรมต่างๆ เช่น การจึ่ข้าวจี่,การทำและเผาข้าวหลาม,การตำข้าวเม่าแบบโบราณ,การจูบหอย รวมทั้งการละเล่นพื้นบ้านโบราณ เช่น เดินโก่งโกะ เดินโก่งเกว หมากเก็บ ยิงสะบ้า โยนหลุม จูมบาน และม้าก้านกล้วย
ประเพณีกำฟ้า ได้จัดขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ก่อนวันกำฟ้า 1 วัน คือวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 3 จะถือเป็นวันสุกดิบแต่ละบ้านจะทำข้าวปุ้น หรือ ขนมจีน พร้อมทั้งน้ำยา และน้ำพริกไว้เลี้ยงดูกัน มีการทำข้าวหลามเผาไว้ในกระบอกข้าวหลามอ่อน มีการทำข้าวจี่ ข้าวจี่ทำโดยนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดพอเหมาะ อาจจะใส่ใส้หวานหรือใส่ใส้เค็มหรือไม่ใส่ใส้เลย ก็ได้ เสียบเข้ากับไม้ทาโดยรอบด้วยไข่ แล้วนำไปปิ้งไฟจนสุกหอม ข้าวจี่จะนำไปเซ่นไหว้ผีฟ้าและแบ่งกันกินในหมู่ญาติพี่น้อง

พอถึงวันกำฟ้าทุกคนในบ้านจะไปทำบุญที่วัด มีการใส่บาตรด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ ตกตอนบ่ายจะมีการละเล่นไปจน ถึงกลางคืน ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนโดยเชื่อกันว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากเทวดาผู้รักษาฝากฟ้า แล้วเทวดาจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลสาเหตุที่เกิดประเพณีกำฟ้า เพราะชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาจึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวว่าฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือฟ้าจะผ่าคนตาย เพื่อผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ ยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งหมายถึงความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ ความมีชีวิตของคน สัตว์และพืชต่างๆ จึงเกิดเป็นประเพณีกำฟ้าขึ้น แต่เดิมวันกำฟ้าถือกำหนดเอาวันที่มีผู้ได้ยินเสียงฟ้าร้องครั้งแรกในเดือน 3 เป็นวันเริ่มประเพณีกำฟ้า เพราะถือกันว่าเป็นวันที่ฟ้าเปิดประตูน้ำ แต่การยึดถือในวันดังกล่าว มักมีข้อผิดพลาดเกิดการโต้แย้ง กัน เนื่องจากบางคนไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง ต่อมาได้กำหนดเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันเตรียมงาน วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำฟ้า สัตว์เลี้ยงที่เคยใช้งานก็จะให้หยุดการทำงาน

ในวันนี้ถ้าใครทำงานชาวไทยพวนเชื่อว่าจะเกิดพิบัติต่างๆ ฟ้าจะลงโทษโดยถูกฟ้าผ่า ห้ามไม่ให้พูดคำหยาบคาย ในช่วงเวลากำฟ้าผู้สูงอายุในครอบครัวจะคอยฟังฟ้าร้อง เพื่อพยากรณ์ความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพเสียงฟ้าร้อง หมายถึง การเปิดประตูน้ำ ชาวพวนมีความสามารถในด้านการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา สมัยก่อนต้องพพึ่งพาธรรมชาติ ชาวนาจึงเกรงกลัวต่อฟ้ามาก จึงมีการเซ่นไว้ สักการบูชา ซึ่งชาวบ้านรู้สึกสำนึกบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน ทำให้มีประเพณีนี้เกิดขึ้น แต่เดิม ถือเอาวันที่มีผู้ที่ได้ยินฟ้าร้องครั้งแรกในเดือน 3 เป็นวันเริ่มประเพณี แต่ทุกคนไม่สามารถได้ยินได้ทุกคน ภายหลังจึงกำหนดให้วันกำฟ้า คือ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ในปัจจุบันสังคมและวัฒธรรมจะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติและก็ยังมีชาวบ้านรุ่นหลังอีกจำนวนหนึ่งที่พยายามอนุรักษ์วัฒธรรมดั้งเดิมไว้ จึงนับได้ว่าเป็นการฟื้นฟูประเพณีพื้นบ้านให้สืบต่อไป

ฤาษีลภ จังหวัดหนองคาย

ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.