เลย (ชมคลิป) รพ.ด่านซ้ายเปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนหัวข้อ “ไท(ย)ม์ แมซชีน (ย้อนสู่) ภูมิปัญญาไท-ด่าน(ซ้าย)”


วันที่ 22 มิถุนายน 2566 ที่ อาคารสีลวิสุทโธ (อาคารดูแลมารดาหลังคลอด) รพร.ด่านซ้าย นพ.ภักดี สืบนุการณ์ ผอ.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นประธานเปิดเวทีเสวนา-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยาหม้อน้อย-วิถีไทด่าน หมอตำแยสายใยแห่งชีวิต มี1. อาจารย์ศ.ดร.ภกญ.อรุณพร อิฐรัตน์(หัวหน้าศูนย์วิจัยแห่งความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) อาจารย์ ดร.พทป.นันทิกา พรหมมี อาจารย์ประจำสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.นเรศวร อาจารย์สร้อยเพชร เนตรอนงค์ อาจารย์ประจำสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ คุณโกมล จันทศร ผอ.รพ.สต.บ้านโคกงาม พท.ไพโรจน์ ทองคำ หัวหน้างานแพทย์แผนไทย รพร.ด่านซ้าย และหมอตำแย พื้นบ้านอำเภอด่านซ้ายประกอบด้วย คุณยายบุญมี เชื้อบุญมี หมอยาบ้านโพนสูง คุณยายคำภา ศรีธรรมมา หมอยาบ้านนาเจียง คุณแม่กุดตาล แสนประสิทธิ์ หมอยาบ้านหนองผือ (ผู้สืบทอดจากคุณยายจำปี แสนประสิทธิ์) รวมทั้งนักศึกษาฝึกหัดจากมหาวิทยาลัยมหิดล 4 คน และผู้สนใจร่วมเสวนา


นพ.ภักดี สืบนุการณ์ ผอ.โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายกล่าวว่า การคลอดบุตร สมัยก่อนถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะ การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้า มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ทั้งมารดาและทารก ดังนั้นต้องมีข้อห้ามต่างๆ มากมาย เพื่อความปลอดภัยตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดลูก รวมถึงการดูแลหลังคลอดร่วมด้วย เพื่อให้แม่และลูกมีชีวิตรอดปลอดภัย ครอบครัวและเครือญาติ จะชื่นชมและยินตีกับสมาชิกใหม่ โดยมีการรับขวัญให้กำลังใจและดูแลแม่หลังคลอดเป็นอย่างดี ให้แม่รู้สึกมีความสำคัญได้รับ ความห่วงใย ไม่เกิดภาวะเครียดหลัง คลอดตามระบบการแพทย์พื้นบ้านหรือทฤษฎีการแพทย์แผนไทยจำเป็นต้องมีการป้องกันโรค บำรุง รักษาและฟื้นฟุสุขภาพของแม่ให้กลับเข้าสู่สภาพปกติโตยเร็วเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สามารถทำงานเลี้ยงลูก ดูแลครอบครัวตามวิถีชีวิตได้อย่างแข็งแรงการคลอดบุตรของคนสมัยก่อนทำได้ แต่การคลอดธรรมดา ถ้าคลอดผิดปกติแม่และลูกในครรภ์จะอยู่ระหว่างอันตรายมาก โนขณะที่คลอดจะมีการข่มหน้าท้อง โดยใช้กำลังกดที่หน้าท้องให้เด็กออกเร็วขึ้น บางรายใช้เท้าเหยียบหรือใช้ไม้ทำเป็นรูปเท้าอันเล็กๆ กดลงท้อง ซึ่งถ้าคลอดยากแล้วอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคสันนิบาตหน้าเพลิง คือ อาการมีไข้ระหว่างที่อยู่ไฟหลังคลอด เนื่องจากการติดเชื้อเวลาตลอด


ทางฝั่ง สปป.ลาว ทางแพทย์ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษกว่าผู้ป่วยอื่นๆ โดยการใช้แพทย์แผนโบราณที่เคร่งครัด ให้อยู่ไฟอย่างน้อย 1 เดือนเต็ม โดยมีญาติ ทั้ง พ่อ แม่ เครือญาติต่างมาเฝ้าเป็นเพื่อนระหว่างอยู่ไฟ มีการเตรียมการทั้งสมุนไพร ฟื้นที่ใช้ต้องเตรียการล่วงหน้าเป็นเดือนๆ ส่วนสามีต้องคอยเติมไฟ และตักน้ำร้อนผสมสมุนไพรให้ภรรยาโดยหยุดกิจกรรมทั้งหมดจนกว่าจะครบเวลาอยู่ไฟ
ด้านพท.ไพโรจน์ ทองคำ หัวหน้างานแพทย์แผนไทย รพร.ด่านซ้ายกล่าวว่า

สมุนไพรหลังคลอด…ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามความเชื่อความศรัทธาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นต่านซ้ายที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งปู่ยำตายาย หลายชั่วอายุ คน เมื่อครั้งอดีตที่ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันอย่างหนึ่ง คือ หลังคลอดต้องอยู่ไฟ (การคำเตือนหรืออยู่หม้อกรรม) ต้องอาบน้ำร้อน ดื่มน้ำต้มสมุนพร หรือมีชื่อเรียกว่ายาหม้อน้อย เมื่อหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดสามีจะเตรียมทำที่อยู่ไฟเพื่อให้หญิงหลังคลอดได้อยู่ไฟ ผู้สูงอายุสมัยก่อนจะเริ่มหาสมุนไพรในท้องถิ่นหลายๆ อย่างมาเตรียมสะสมไว้ เมื่อคลอดแล้ว หญิงหลังคลอดจะเริ่มอยู่ไฟตั้งแต่ 7-30 วัน ตามความเชื่อของแต่ละคน ร่วมกับการอาบน้ำร้อน ดื่มน้ำยาต้มสมุนไพร เชื่อกันว่าจะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว น้ำนมไหลดี ร่างกายคืนตัวกลับสู่สภาพปกติเร็ว ไม่ปวดหลังปวดเอวเวลาทำงานหนัก


ปัจจุบันนี้ เมื่อชาวบ้านมาคลอดที่โรงพยาบาล แต่อยากจะกลับไปอยู่ไฟ อาบน้ำร้อน ดื่มน้ำยาต้มที่บ้านได้เร็วขึ้น แต่เนื่องด้วยมารดาและทารกหลังคลอดมีความจำเป็นที่ต้องอยู่สังเกตอาการผิดปกติ ทารกต้องเจาะเลือดคัดกรองความผิดปกติเมื่อครบ 48 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ตังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อความศรัทธาของคนต่านซ้าย ทางหอผู้ป่วยหลังคลอด จึงจัดให้มีการต้มน้ำสมุนไพรหลังคลอดเวลาที่อยู่โรงพยาบาลจนกว่าจะกลับบ้าน เพื่อให้มารดาหลังคลอด และครอบครัวคลายความกังวลและเป็นการกระตุ้นให้ได้ดื่มน้ำในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ส่งเสริมการหลั่งของน้ำนมได้ ดีขึ้น เพราะตัวยาต้มที่นำมาปรุงเป็นน้ำยาต้มสมุนไพรหลังคลอดมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งของน้ำนม เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ขับของเสีย เป็นตัน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้สามีและครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลมารดาหลังคลอดตั้งแต่อยู่โรงพยาบาล เพื่อให้ครอบครัวได้เห็นคุณค่าของความรัก ความห่วงใยจากการตูแลคนของในครอบครัวก่อให้เกิดสายใยรักแห่งครอบครัวให้เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในโรงพยาบาล

ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ / จ.เลย