เริ่มสร้างวัดซำตาโตง พ.ศ. ๒๕๐๕ มาอยู่ที่วัดซำตาโตง ขณะที่อยู่ซำตาโตงท่านบอกว่าเป็นปีที่เน้นเรื่องกรรมฐานมาก เร่งการปฏิบัติทางด้านจิตภาวนาอย่างจริงจัง รักษาวินัยอย่างเคร่งครัด เมื่อทำจริงๆจังๆ แล้วจะมีอนุภาพในตัว แต่ในระยะแรกจะไม่ทราบเท่าที่ควร ถ้าฝึกจิตใจให้มั่นคงแข็งแรง จะไม่มีความหวั่นไหวต่อโลกธรรม ไม่ยินดียินร้ายในการสรรเสริญนิททาในช่วงที่อยู่ซำตาโตง ท่านออกธรรมทูต คือออกอบรมประชาชนประจำทุกปีไปหมู่บ้านต่างๆพัฒนาไปเรื่อยๆบางครั้งมีผู้พอใจบ้างไม่พอใจบ้าง แต่เราต้องมั่นคงในอุดมการณ์ขอเพียงอย่าทำนอกหน้าที่เท่านั้นก็เป็นพอ เมื่อวันเวลาผ่านไปไม่ว่าจะร้ายอาจจะกลายเป็นดีก็ได้ มีโอกาสไปพาชาวบ้านกระแซงใหญ่วางรากโบสถ์ วางศิลาฤกษ์เสร็จแล้วพาชาวบ้านทำไปเรื่อยเมื่อมีเงิน หมดก็มาปรึกษาหารือร่วมกันและชาวบ้านได้มอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบทำได้มากพอสมควร
มีค่าตัว๕๐๐ บาทต่อมาหลังจากเลิกสร้างโบสถ์บ้านกระแซงแล้ว ก็หันมาพัฒนาด้านถนนหนทางที่ใช้สัญจรไปมา เพราะการเดินทางสมัยนั้นลำบากเรื่องถนนนี้มาก พอหันมาพัฒนาทางด้านนี้ก็ถูกหาว่าเป็นแนวที่ห้า(คอมมิวนิสต์) เขาหาวิธีการที่จะฆ่าโดยจ้างคนมาฆ่าด้วยราคา ๕๐๐ บาท ปรากฏว่าจะเป็นเพราะบุญบารมีของศีลธรรมที่ได้บำเพ็ญมาก็ไม่ทราบ คนที่ถูกจ้างมาเกิดเปลี่ยนใจไม่ฆ่า นอกจากนั้นก็ได้ชวนชาวบ้านสร้างโรงเรียนที่ซำตาโตง โดยติดต่อของครูสอนจากตำรวจตะเวนชายแดนจารึกไปประเทศลาวภายหลังจากเสร็จเรื่องสร้างโรงเรียนซำตาโตงแล้ว ก็ได้มีโอกาสออกจารึกกรรมฐานไปที่ประเทศลาวไปกับหลวงตาทอง(ห้วยทับทัน) สมัยนั้นอาศัยการเดินเป็นหลัก เดินทางผ่านไปทางจำปาศักดิ์ ได้ถือโอกาสสนทนากับผู้เฒ่าผู้แก่ที่เมืองจำปาศักดิ์ เพื่อทราบเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ไปดูหลี่ผีอันลือชื่อของประเทศลาว เสร็จแล้วก็จารึกกลับ ขณะที่ออกจารึก มีความดื่มด่ำกับธรรมชาติของภูมิประเทศที่ผ่านไป รู้สึกจิตใจสงบมาก พอในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ก็มีโอกาสไปประเทศเวียดนามหรือที่ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่าแกว อยากไปพิสูจน์เรื่องที่ผู้เฒ่าผู้แก่ท่านว่า “ไม้ล้มแบ่งแดนแกว” พอไปดูก็เป็นเช่นคำโบราณจริงๆ ไม้ในควงเขตแดนแกวจะล้มออกสองข้างเป็นสัญลักษณ์ทางธรรมชาติที่น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่ง พอท่องเที่ยวปฏิบัติธรรมได้พอสมควรแล้วเดินทางกลับแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างวัดสาเหตุที่ได้มาขยายวัดธรรมยุติ จากเดิมซึ่งมีเพียง ๙-๑๐ วัด เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นธรรมทูต พร้อมกับมีหน้าที่ขยายวัดในเขตอำเภอกันทรลักษ์ แต่ใจจริงไม่ได้มุ่งขยายวัดแต่ตั้งใจว่าจะพัฒนาหมู่บ้านให้ประชาชนมีอยู่มีกิน กินดีอยู่ดี มีความสมบูรณ์พูนสุข คิดว่าจะสร้างวัดใดวัดหนึ่งพอเป็นที่พึ่งพาอาศัยได้ก็จะเลิกสร้างแล้วก็ไปอยู่ที่อื่น เบื้องแรกเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฎกษัตริยาราม ท่านอยากให้ไปอยู่ภาคกลาง ไปอยู่ที่วังน้อย พอถึงกลางปีพระสังฆราชก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน จึงเริ่มสร้างวัดซำตาโตง พัฒนาถนนหนทางจนชาวบ้านเริ่มสามัคคีกัน เมื่อวัดซำตาโตงมั่นคงแล้ว จึงขยายวัดต่างๆ ไปตามลำดับ คือ
๑. วัดอัมพวนาราม-ซำม่วง
๒. วัดศรีอุดมวรรณพาราม-บ้านศรีอุดม
๓. วัดหนองหญ้าลาด
๔. วัดป่าเหรียญทอง
๕. วัดป่าประชาเนรมิต-บ้านเสียว
๖. วัดป่าโนนจักจั่น
๗. วัดบ้านหนองบัวพัฒนา
๘. วัดป่าบ้านด่าน
๙. วัดสวนกล้วย
๑๐. วัดป่าศรีสมบูรณ์ภูดิน
ส่งเสริมการศึกษา/เกษตร
หลวงพ่อจะมุ่งส่งเสริมการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรและเยาวชนลูกหลานชาวบ้าน เพราะตัวเองไม่ค่อยได้ศึกษาเท่าที่ควร จึงมุ่งสนับสนุนให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ศึกษาเล่าเรียน มุ่งสร้างคนให้มี คุณภาพเสียก่อน การพัฒนาด้านด้านอื่นเอาไว้ทีหลัง การก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ ก็จะให้พอเหมาะพอสมไม่ให้หรูหราเกินไป โดยคำนึงถึงฐานะของชาวบ้านเป็นหลัก และเน้นเรื่องการส่งเสริมการเกษตร โดยวิธีพาไปดูที่ที่เขาประสบความสำเร็จแล้ว และพยายามแนะนำชาวบ้านโดยการพูดชักชวน การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น การปลูกฝ้าย กล้วย หมาก ขิงข่า เป็นต้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านมีความสนใจมากขึ้น
เรื่องการปกครอง จะพยายามสั่งสอนลูกศิษย์ให้รู้คุณของสถานที่ที่ตนอาศัย โดยให้รู้จักรักษาสิ่งของที่ตนใช้ในวัดนั้น สร้างสรรค์ตัวเองให้มีความรู้ความสามารถ สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสังคม เน้นการทำวัดสวดมนต์ การอบรมจิตภาวนา การเป็นคนเลี้ยงง่ายไปในที่ไหนก็ไม่ทำให้เจ้าถิ่นหนักใจ
#ตำเเหน่งทางคณะสงฆ์
พ.ศ.๒๕๑๖ – เป็นเจ้าคณะตำบล เขต ๒ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
พ.ศ.๒๕๑๙ – ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๒๖ – เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองหญ้าลาด
พ.ศ.๒๕๒๙ – เป็นเจ้าคณะอำเภอกัณทรลักษณ์, ขุขันธ์, ขุนหาญ, ภูสิงห์, ไพรบึง, เบญจลักษณ์ (ธรรมยุต)
พ.ศ.๒๕๕๓ – รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต)
ปัจจุบัน ท่านดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต)
#ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็น พระครูสังฆรักษ์
พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี ที่ พระครูญาณประพัฒน์
พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ในราชทินนามที่ “พระครูวิสุทธิญาณ”
พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด ในราชทินนามเดิม
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่ “พระญาณวิเศษ”