เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องชุมโครงการชลประทานศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รอง ผวจ.ศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทาน ครบ 120 ปี โดยมี นายจำรัส สวนจันทร์ ผอ.โครงการชลประทานศรีสะเกษ พร้อมด้วย พล.ต.ธวัชชัย แจ้งประจักษ์ รองแม่ทัพน้อยที่ 2 นายวิชิต ไตรสรณกุล นายก อบจ.ศรีสะเกษ พ.ต.อ.เทพพิทักษ์ แสงกล้า รอง ผบก.ภ.จว.ศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับและร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
นายจำรัส กล่าวว่า ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมชลประทาน ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มิ.ย. ของทุกปี กรมชลประทาน ได้จัดนิทรรศการขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำให้รูปแบบของการจัดนิทรรศการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ และในปี 2565 นี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย กรมชลประทาน จึงได้มีนโยบายให้จัดกิจกรรมและนิทรรศการขึ้นในทุกจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและความก้าวหน้าโครงการที่สำคัญในจังหวัด ให้กับส่วนราชการ กลุ่มผู้ใช้น้ำ ผู้นำท้องถิ่น นักเรียน นักศึกษา ได้ทราบ ซึ่ง จ.ศรีสะเกษ มีกำหนดจัดนิทรรศการในระหว่างวันที่ 13-15 มิ.ย. 65 ที่โครงการชลประทานศรีสะเกษ
ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม ประกอบด้วย การเสวนาในหัวข้อ “การปรับเปลี่ยนปลูกพืชมูลค่าสูงในเขตชลประทาน” การประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การบริหารจัดการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า การแสดงนิทรรศการงานด้านบริหารจัดการน้ำและความก้าวหน้าโครงการสำคัญ รวม 12 จุด ประกอบด้วยโครงการพระราชดำริ จ.ศรีสะเกษ การบริหารจัดการน้ำ จ.ศรีสะเกษ โครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำห้วยคล้า พื้นที่นำร่องการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ อ.เมืองจันทร์ และอ.โพธิ์ศรีสุวรรณ รางวัลชนะเลิศระดับกรมปี 65 นวัตกรรมกระบวนการ สแกน&คลิก รู้เขตชลประทาน ความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาเขื่อนราษีไศล ความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาเขื่อนหัวนา ข้าวโพดหลังนาทางเลือก&ทางรอด ความก้าวหน้าการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ต.ดู่ อ.ศิลาลาด ความก้าวหน้าการก่อสร้าง ปตร.ห้วยสำราญ ความก้าวหน้าการก่อสร้าง ฝายบ้านสะเต็ง (ฝายพับได้แห่งแรกในภาคอีสาน) และน้ำใต้ดินทางเลือกในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
ขณะที่ นายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รอง ผวจ.ศรีสะเกษ เปิดเผยว่า จากโครงการดังกล่าว จะเห็นได้ว่า กรมชลประทาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้ความสำคัญด้านการสร้างการรับรู้การปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นอย่างมาก และที่ผ่านมาโครงการชลประทานศรีสะเกษ รวมถึง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง (เขื่อนราษีไศล) และโครงกรส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวนา (เขื่อนหัวนา) ก็ได้ร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเคียงคู่กับชาวจังหวัดศรีสะเกษ อย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากผลงานที่สำคัญ ได้แก่ การปิดเขื่อนราษีไศล และเขื่อนหัวนา ที่เป็นปัญหามายาวนาน รวมทั้งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งขนาดใหญ่ และขนาดกลาง มากมาย สร้างประโยชน์ให้กับพี่น้องชาวจังหวัดศรีสะเกษ ในทุกๆด้าน
รวมทั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดศรีสะเกษ โครงการชลประทานศรีสะเกษ ก็ได้มีส่วนช่วยขับเคลื่อนจนก่อตั้งได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของประเทศ หรือแม้แต่โครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาดเล็ก ในจังหวัดศรีสะเกษ รวมกว่า 80 แห่ง ซึ่งเป็นภารกิจถ่ายโอน และยังมีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการพอสมควร การจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมอยู่ในกิจกรรมในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ข้อปัญหาต่างๆ เพื่อนำข้อมูลมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องเกษตรกร และประชาชนชาว จ.ศรีสะเกษ ต่อไป.
พิสิษฐ์ สิริวิริยะธนา ศรีสะเกษ // รายงาน

Related posts
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.