ที่ห้องประชุมศรีสองรัก ศาลากลางจังหวัดเลย อ.เมืองเลย จ.เลย นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมนายสิทธิชัย เสรีส่งแสง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายกานตพันธุ์ พิศาลสุขสกุล ผอ.กองการบิน สป.ทส นายฐิติพันธ์ จูจันทร์โชติ หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี คณะทำงานและผู้ช่วยเลาขานุการและคณะลงพื้นที่จังหวัดเลย เพื่อตรวจราชการแก้ปัญหาคนกับช้างป่า มีนายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายณรงค์จีนอ่ำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พร้อมผู้ประสานงานอาสาสมัครเฝ้าระ อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าภูหลวง หน่วยพิทักษ์ช้างป่า เครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่า ผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ป่า ร่วมประชุม และรายงานข้อมูล จำนวนมาก
ที่ประชุมเปิดประเด็นพร้อมข้อเรียกร้องของประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าเฉพาะพื้นที่ จ. เลย ประกอบด้วย อ.ภูกระดึง ภูเรือ ด่านซ้าย ภูหลวง ท่าลี่ และ หนองหิน ซึ่งปัจจุบันจำนวนช้างป่าได้ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง 186 ตัว อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 65 ตัว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขาภูกระแต 53 ตัว รวม 304 ตัว ซึ่งช้างป่าดังกล่าวยังมีการเดินทางเคลื่อนตัวเชื่อมโยงระหว่างระยะทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อภูกระแต ตลอดจนอุทยานแห่งชาติภูกระดึงอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ จึงต้องลดแรงดึงดูดของช้างลดความรุนแรงในการผลักดันขับไล่ข้อเสนอจากประชาชนในหมู่บ้านที่ได้รับประชนและกลุ่มต่างๆได้ยื่นข้อเรียกร้อง 15 ข้อต่อการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ ให้เพิ่มพืชอาหารในป่าและทุ่งหญ้าให้ชุมชนมีความปลอดภัยสร้างระบบไฟฟ้าส่องสว่างในชุมชนพืชเกษตร เพิ่มอาชีพทางเลือกแก่ประชาชนในพื้นที่อาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าจะได้รับงบประมาณในปี 2566 ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชจะได้ขอไปที่สำนักงบประมาณเพื่อนำมาช่วยเหลือเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทั้งประเทศเครือข่ายละ 50,000 บาท
นอกจากนี้ยังต้องการให้มีการส่งเสริมอาชีพและพืชผลเยียวยาการสูญเสียในพื้นที่ซึ่งได้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว ให้จัดทำแผนรับมือกับช้างป่าเมื่อช้างป่าเข้ามาอย่างชุมชน ตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังช้างป่าให้เป็นรูปประธรรมในระดับจังหวัดและให้ จ.เลย เป็นจังหวัดนำร่องอย่างเป็นรูปธรรมหรือโมเดลอนุรักษ์ช้างป่า ขึ้น รวมทั้งให้สร้างองค์ความรู้แก่ชุมชนเมื่อช้างออกมายังชุมชนเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ควรมีการประกันภัยจากช้างเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต แก้ไข พ.ร.บ.เยียวยาและ สร้างหอคอยเฝ้าระวังช้าง
นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากวานนี้ตนและคณะฯ ได้ลงพื้นที่จริงที่บ้านพองหนีบ อ.ภูกระดึง รวมทั้งรับทราบปัญหาจากประชาชนในพื้นที่แล้ว จึงนำมาร่วมประชุมใหญ่ในวันนี้ จากข้อเสนอได้ครอบคลุมความต้องการ โดยผู้ว่าฯจะได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการวบรวมและนำข้อเสนอต่อไป ข้อส่วนทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯเองก็จะรับภาวะว่าตรงไหนเรื่องใดที่สามารถแก้ไขได้ก็แก้ไขปัญหาเลย ส่วนการขับไล่ หรือผลักดันช้างป่าออกจากหมู่บ้านจากพื้นที่การเกษตรและทรัพย์สินของประชาชน นั้น จากอดีตเคยใช้ความรุนแรงเสียงดังต่างๆที่ยังไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้ช้างโกธรด้วย ต้องส่งเสริมการปลูกพืชก็ไม้ดึงดูดช้าง และสร้างแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรและการตลาดให้แก่ประชาชน ภาครัฐต้องสนับสนุนด้าน เครือข่าวกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าทั้งประเทศ กรมอุทยานฯได้เสนอไปยังสำนักงบประมาณขอรับการสนับสนุนลงในงบปี 2566 เครือข่ายละ 50,000 บาท น่าจะได้ตามยื่นขอไป และต้องสร้างองค์ความแก่ครู นักเรียน ขยายผลไปยังครอบครัว ก็ดำเนินการได้เลย ทางจังหวัดจำทำเรื่องค่าชดเชยการเสียหาย ด้านของกรมอุทยานฯก็สามารถใช้เงินของอุทยานฯมาชดเชยได้ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างหลักเกณฑ์ จึงใช้งบประมาณทั้งจากกรมอุทยานฯและจากจังหวัดเลย ทั้งนี้ภายใต้”อยู่อย่างไรจึงจะไม่มีปัญหาระกว่างคนกับช้าง
ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ จ.เลย

Related posts
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.