ศรีสะเกษ – ตื่นตัว! เร่งจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เน้นให้ความสำคัญชุมชนไร้ประปา-ขาดแคลนน้ำซ้ำซาก

 


เมื่อเร็วๆนี้ ที่ศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล รอง ผวจ.ศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการประชุมเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2565 โดยมี นายบุญประสงศ์ นวลสายย์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับและร่วมประชุม


นายสำรวย กล่าวว่า ตามที่กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บก.ปภ.ช.) แจ้งให้จังหวัดป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2565 โดยติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค. นี้ จะมีปริมาณฝนตกต่ำกว่าปกติ และเข้าสู่ดูร้อน ตั้งแต่ประมาณกลางเดือน ก.พ. เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นจะมีอากาศร้อนอบอ้าวและแห้ง ความชื้นในอากาศมีน้อย และมีอากาศร้อนจัดเป็นบางแห่ง เนื่องจากสภาวะดังกล่าวอาจทำให้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ


ดังนั้นเพื่อให้การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้เตรียมการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดศรีสะเกษ (ภัยแล้ง) ปี 65 ขึ้น พร้อมแจ้งอำเภอทุกอำเภอจัดตั้งศูนย์บัญชาการณ์เหตุการณ์อำเภอ และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดตั้งศูนย์ฯดังกล่าว และมอบหมายหน่วยงานสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือในการแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค พร้อมทั้งสำรวจข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง และการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในทันที ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการสูบส่งน้ำเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อกักเก็บ ในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งแล้ว จำนวน 7 จุด 4 อำเภอ 4 ตำบล 7 หมู่บ้าน ได้ปริมาณน้ำในพื้นที่ร่วมทั้งหมด จำนวน 495,472 ลูกบาศก์เมตร และอยู่ระหว่างดำเนินการ 5 จุด ในพื้นที่ อ.ไพรบึง และอ.ห้วยทับทัน


อย่างไรก็ตามขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดเตรียมกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัย จัดเป็นชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง และให้สำรวจซ่อมแซมแหล่งเก็บกักน้ำ รวมถึงภาชนะเก็บน้ำกลางให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ พร้อมทั้งจัดทำแผนการแจกจ่ายน้ำในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน โดยให้ความสำคัญกับหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ไม่มีระบบประปาเป็นพิเศษ รวมถึงกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำกลาง เพื่อการอุปโภค บริโภค บริเวณสถานที่ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ สร้างการรับรู้ให้ประชาชนภาคส่วนต่างๆ มีความเข้าใจถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่และมาตรการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการใช้น้ำอย่างประหยัด โดยเชิญชวนประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการซ่อมสร้าง บำรุงรักษาแหล่งกักเก็บน้ำขนาดเล็ก เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ.

พิสิษฐ์ สิริวิริยะธนา  ศรีสะเกษ // รายงาน

ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.