ขอนแก่น (ชมคลิป) เปิดกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอีสาน ช่วยเหลือประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรทางไซเบอร์

“บิ๊กแจง” เปิดกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอีสาน ช่วยเหลือประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรทางไซเบอร์ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชน โดยเน้นแนวคิด “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน”

            11 พฤศจิกายน 2554 เวลา 10.00 น. พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมหางเทคโนโลยี(ผบช.สอท.) เป็นประธานในพิธีเปิดที่ทำการ (ชั่วคราว) กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี3 อาคารเลขที่ 177/49 ม. 17 ถนนมิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น พร้อมด้วย พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษณ์ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.มนเฑียร พันธ์อิ่ม รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.สุรพล เปรมบุตร ปรก.รอง ผบช.สอท. และผู้แทนของหน่วยงานต่าง ๆ  ใน จ.ขอนแก่น ร่วมมาเป็นเกียรติในพิธีเปิด โดยมี พล.ต.ต.ออมสินตรา รุ่งเรือง ผบก.สอท.3 เป็นผู้กล่าวรายงานผลการปฏิบัติงานและแนวทางในการทำงานในพื้นที่ภาคอีสาน

            พล.ต.ต.ออมสินตรา รุ่งเรือง ผบก.สอท.3 กล่าวว่า การเปิดที่ทำการฯ ในครั้งนี้สอดคล้องตามนโยบายของ รัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ในการจัดตั้งกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรม ในคดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ การสนับสนุนข้อมูล ประสานความร่วมมือ กับตำรวจภูธรภาคในพื้นที่ ซึ่งดูแลรับผิดชอบพื้นที่เป็นหลัก และการให้บริการประชาชน ลดภาระการเดินทาง โดยกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 หรือสอท. 3 มีพื้นที่รับผิดชอบ 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการตั้งที่ทำการ (ชั่วคราว) กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ ให้ความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ บริการประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อหรือผู้เสียหายจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจน  ให้ความรู้ให้กับประชาชน และส่วนราชการอื่น ๆ เกี่ยวกับแนวโน้ม หรือสถานการณ์ที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยีโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์ที่นับวันได้เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น

ด้าน พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. เปิดเผยว่า กล่าวว่า สำหรับ กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี3 ได้เริ่มเปิดให้บริการประชาชน มาตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 โดยเริ่มให้ พนักงานสอบสวนมาเข้าเวร คอยรับแจ้งเหตุหรือให้คำปรึกษาประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ยุคปัจจุบัน  โดยจะทำงานร่วมกันอย่างคู่ขนานกับสถานีตำรวจ ในการสนับสนุนข้อมูลทางการสืบสวนสอบสวนหรือวิเคราะห์สืบค้นให้รู้ตัวคนร้าย และรับผิดชอบคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญ ๆ ซึ่งจะมีการประสานงานกับสถานีตำรวจท้องที่เกี่ยวกับคดีประเภทไหนอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด โดยการกระทำความผิดที่อยู่ในความรับผิดชอบของ บช. สอท. เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ , กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงบางฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น ฉ้อโกง หรือการครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก และยังมีพ.ร.บ. อื่น ๆ อีกที่ความผิดโทษทางอาญา โดยการยึดหลักเกณฑ์ ตามคำสั่ง ตร.ที่ 287/2554 ลง 18 มิ.ย. 64 เรื่องการรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ และการสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่กำหนด เช่น คดีที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ 10 ล้านขึ้นไป และมีผู้เสียหายตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป หรือคดีที่มีมูลค่าความเสียหาย 30 ล้านขึ้นไป หรือมีผู้เสียหาย 50 คนขึ้นไป รวมทั้งการกระทำความผิดเป็นรูปขบวนการหรือกลุ่มบุคคล หรือมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น ส่วนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทั่วไป ทางสถานีตำรวจท้องที่สามารถดำเนินการให้บริการประชาชนได้ โดยสามารถร้องขอให้ บช.สอท. สนับสนุนช่วยเหลือข้อมูลการสืบสวนทางเทคโนโลยี เช่น การระบุที่อยู่หรือตัวผู้กระทำความผิด หรือข้อมูลการสืบสวน ซึ่งคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่พบมากที่สุดตอนนี้ คือฉ้อโกงซื้อของทางออนไลน์ แล้วก็เป็นความผิดประเภทอื่น ๆ เช่น หลอกให้กู้เงินทางออนไลน์, scam ต่าง ๆ ทั้ง romance Scam และ hybrid scam, หมิ่นประมาททางสื่อสังคมออนไลน์, หลอกกู้เงินทางออนไลน์, เผยแพร่ภาพลามกทางสื่อโซเชียล เป็นต้น

            ทั้งนี้ บช. สอท. ได้สนับสนุนข้อมูลให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งที่ผ่านมาก็มีผลการจับกุมความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ประเภทต่าง ๆ มาโดยตลอด เช่น หลอกขายของออนไลน์ ขายอาวุธปืนออนไลน์ เผยแพร่สื่อลามก การพนันออนไลน์ ฯลฯ และการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ โดยการฉีดวัคซีน ภูมิคุ้มกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ ให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  ตามวิสัยทัศน์ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่ว่า “เป็นองค์กรสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมไซเบอร์อย่างมืออาชีพที่ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา” และคำขวัญมุ่งมั่นของหน่วยงาน “CYBER COP ANTI CYBER”

            พล.ต.ท.กรไชย กล่าวอีกว่า ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด จะเป็นความรับผิดชอบของกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 มีกำลังพลประมาณ 150 นาย พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่แล้วก็จะเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่จะต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน ซึ่งทุกวันนี้เราอยู่กับเทคโนโลยีทุกวัน เราถือมือถือ เรามีมือถือ เราเข้าอินเตอร์เน็ตได้ เราเข้า Google ได้ เราเข้าไปท่องในโลกไซเบอร์ ซึ่งเป็นโลกที่ทำให้รับรู้ได้อย่างเปิดกว้างและทันสมัย แต่ความทันสมัยก็เป็นความอันตราย ซึ่งอาจจะถูกหลอกเข้าไปในอาชญากรรม เช่น การลงทุน หรือ ที่ได้ยินกันเป็นประจำ คือ การกู้ยืมเงิน การพนันออนไลน์และการเข้าไปเล่นเกมต่าง ๆ ซึ่งทำให้เด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน ยุวชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการสร้างภูมิคุ้มกันให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราต้องการความร่วมกับสถาบันครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันหลัก ในการที่จะสร้างให้สังคมนี้น่าอยู่

            อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านจอ LED ตามหมู่บ้าน  อบต, อบจ. มีความร่วมมือในภาคของฝ่ายปกครองที่จะกระทำการใช้คำว่า Shot Messenger หรือว่าเป็นการสร้างวิดีโอสั้น ๆ เพื่อให้ผู้ที่ผ่านไปมาตามแยกต่าง ๆ เช่น คำว่า คลิกก่อนคลิก เช็คก่อนโอน หรือ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน คือ ไม่เชื่อก่อน อย่ารีบ แล้วเมื่อท่านไม่โอน ท่านก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม อาชญากรรมประเภทนี้ ต้องการอย่างเดียวคือ ต้องการเงิน ไม่ได้ต้องการอะไรเลย แต่ต้องการให้เราเป็นเหยื่อ

#อีสานเดลี่ออนไลน์

คลิป, ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.