เลย(ชมคลิป)”กรมการค้าภายใน” สร้างแบรนด์Al-M (อ้ายเอ้ม) หมู่บ้านทำมาค้าขายแห่งใหม่ ภายใต้โครงการ ทำมาค้าขาย “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาป่าหนาด”

“กรมการค้าภายใน” สร้างแบรนด์Al-M (อ้ายเอ้ม) หมู่บ้านทำมาค้าขายแห่งใหม่ ภายใต้โครงการ ทำมาค้าขาย “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาป่าหนาด” มุ่งพัฒนาท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็ง ให้เศรษฐกิจฐานราก
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิด โครงการหมู่บ้านทำมาค้าขายแห่งใหม่ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการแนะนำกลุ่ม กิจกรรมสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ต่างของวิสาหกิจฯ เช่น ตุ้มนก ตุ้มหนู ซึ่งเป็นเครื่องรางของชาวไทดำ, หัวใจไทดำ (ศูนย์รวมหัวใจไทดำ), มะกอนน้อยห้อยคอ หรือ เครื่องหอมสำหรับห้อยคอ ใส่ในรถหรือ ตู้เสื้อผ้า
อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมการค้าภายใน เล็งเห็นความสำคัญและศักยภาพของชุมชนแห่งนี้ จึงได้เข้ามาช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านทำมาค้าขายแห่งใหม่ โดยเชิญ คุณศักดิ์จิระ เวียงเก่า ดีไซน์เนอร์ และผู้ก่อตั้งแบรนด์บายศรี ครีเอชั่น มาออกแบบคอลเลคชั่นใหม่ ชุด Modern Thai Song Dum โดยการนำผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยทรงดำ มาประยุกต์ต่อยอด แต่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ของไทดำ และสอนการทำแพทเทิร์น ที่แตกต่างจากรูปแบบเดิมๆ ทำให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมีความสวยงาม ลวดลายโดดเด่น มีการออกแบบโลโก้ใหม่ และสร้างแบรนด์ A-M (อ้ายเอ้ม) ซึ่งเป็นภาษาไทดำ ที่มีความหมายถึงบ้านพ่อแม่สำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ผ้าทอ จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาป่าหนาด คือ ผลิตจากเส้นใยฝ้ายและไหมธรรมชาติ 100% เป็นผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกมะพร้าว เปลือก และผลส้มโอ และใบหนาด ใช้วิธีการทอมือแบบดั้งเดิมที่มีความละเอียดประณีตงดงาม มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง คือ”ผ้าลายแตงโม และ “ผ้าลายนางหาญ” ซึ่งเป็นลายผ้าจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทดำบ้านนาป่าหนาด ซึ่งในสมัยโบราณ “ซิ่นนางหาญหรือผ้านางหาญ” เป็นเครื่องแต่งกายของเจ้านายฝ่ายหญิง บุคคลทั่วไปไม่สามารถนำมาใช้ได้ และจะใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เท่านั้น
อธิบดีกรมการค้าภายใน ระบุด้วยว่ โครงการหมู่บ้านทำมาค้าขาย เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มวิสามีสมาชิกเป็นเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน เพื่อให้การประกอบธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินธุรกิจของชุมชนได้อย่างมั่นคง ชุมชนเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง อยู่ดีกินดี มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถพึ่งพาตนเอง และลดการย้ายถิ่นฐานจากชุมชนเข้าสู่เมือง โดยมีวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 25 แห่ง
สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรมการค้าภายใน ได้ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเป็นหมู่บ้านทำมาค้าขายแห่งใหม่ ” จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาป่
จังหวัดเลย วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านบ่อหลวงจังหวัดน่าน วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทำมือบ้านจงเจริญ จังหวัดเชียงราย วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมล้านนาย จังหวัดพะเยา วิสาหกิจชุมชนศูนย์ทำร่มบ่อสร้าง จังหวัดเชียงใหม่ และวิสาหกิจชุมชนบัตำบลโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร โดยทุกที่มีความพร้อมที่ก้าวไปสู่เป้าหมายของ “หมู่บ้านทำค้าขายแห่งใหม่” ที่ประสบผลสำเร็จและเป็นแรงสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน

ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์/ จ.เลย