เมื่อเวลา 19.00 น.ของวันที่ 21 ต.ค.64 เป็นคืนออกพรรษา ขึ้น 15 ต่ำ เดือน 11 ผู้สื่อข่าวรายงาน นายจริยาทร สูหู่ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเลย พาสื่อมวลชน ไปดูการไหลเรือไฟบนลำน้ำหมัน ซอยเทศบาล 4 เขตเทศบาลตำบลด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมากว่า 400 ปี เป็นประพเณีที่แปลกและยิ่งใหญ่ตามแบบโบราณสืบทอดกันมากว่า 400 ปี
พระสิริรัตนเมธี เจ้าอาวาสวัดโพนชัย เล่าว่า มีการเล่าขานสืบต่อกันมา โดยไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ทราบว่า ประเพณีไหลเรือไฟ ลุ่มน้ำหมัน เป็นเอกลัษณ์ของชาวด่านซ้าย โดยมีการทำ เรือ และแพจากต้นกล้วย จะจัดทำขึ้น3 ลำคือ ม้า จระเข้ และเรือ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและการบูชาแม่น้ำ
ในสมัยก่อน ก่อนจะออกพรรษา พระเณรทำการอัญเชิญเรือประจำวัดโพนชัย ซึ่งมีชื่อว่า นางหลาวทอง ลงท่าวังเวิน เพื่อพายเรือไปตกแต่งลำธารทั้งสองฝั่งแม่น้ำหมัน สมัยก่อนมีประเพณีการแข่งเรือยาวที่ลำน้ำหมันและมีเรือจากหลายวัด ได้มาทำการแข่งขัน แต่ปัจจุบัน เปลี่ยนไปตามยุคสมัยลำธารตื้นเขิน ทำให้ประเพณีหายไป ต่อมาลำน้ำหมันตื้นเขิน ต่อมาพระเณรพร้อมด้วยคณะญาติโยมได้ร่วมช่วยกันในการประกอบเรือไฟ ปัจจุบันได้ย้ายไปประกอบที่บ้านเหนือ ซึ่งใกล้สถานที่ไหลเรือไฟ และการประกอบเรือไฟ ส่วนมากจะใช้ ไม้ไผ่หนาม และต้นกล้วยลำใหญ่ เพื่อไม่ให้เรือจ่มน้ำและบางครั้งพระเณรต้องปีตีนไผ่หนามในการตัดเพื่อมาใช้ในการประกอบพิธีไหลเรือไฟ ส่วนความหมายเรือไฟที่จัดทำขึ้น เรือ หมายถึง การพายเรือข้ามพ้นวัฎฏะสงสารของมนุษย์ ม้า หมายถึง พาหนะของเจ้าชายสิทธัตถะกุมารที่ใช้ในออกผนวชเป็นพระภิกษุ จระเข้ หมายถึง สัญญาลักษณ์แสดงถึงการบูชาแม่น้ำ ซึ่งจระเข้สัตว์ที่ดุร้าย และบูชาแม่น้ำเพื่อมิให้เกิดอาเพทร้ายเกี่ยวกับน้ำ
ในการปล่อยเรือไฟ มีเจ้าแม่นางเที่ยม นางประกายมาศ เชื้อบุญมี ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งอำเภอด่านซ้าย พร้อม นางแต่งเดินทางด้วยเท้า พร้อมปี่กลอง จากบ้านพักระยะทางราว 500 เมตร มาเป็นประธานปล่อยเรือไฟ จำนวน 3 ลำ โดยมีพระและเณรค้ำท่อ แพไปตามลำน้ำหมัน ไปสิ้นสุดขึ้นที่ท่าวังเวิน ภายในวัดโพนชัย ที่ห่างไป 1 ก.ม. เป็นอันเสร็จพิธี

นายจริยาทร สูหู่ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเลย กล่าวว่า เป็นประเพณี ที่น่าสนใจ ควรส่งเสริมและอนุรักษ์ให้เป็นมรดกของชาติ เนื่อจากประดิษฐ์จากธรรมชาติ เช่นแพ และตัวสัตว์ทำจากค้นกล้วย และไม้ไผ่ ส่วนสิ่งฃให้ความสว่างทำจาก “หมากแตก” สมุนไพร ให้พลังงานพื้นบ้าน โดยนำมาตำและคั้นเป็นน้ำมันจุดแทนเทียนไข ซึ่งททท.สำนักงานเลย ได้นำเสนอแก่ ททท.เขต เพื่อบรรจุเป็นอีกสถานที่ส่งเสริมเพื่อการท่องเที่ยว เพิ่มจุดท่องเที่ยวให่แก่นักท่องเที่ยวเป็นการสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นต่อไป
ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์/ จ.เลย
