ขอนแก่น – ชลประทาน 6 รายงานภาพรวมสถานการณ์น้ำภาคอีสาน

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการ สำนักงานชลประทานที่ 6 รายงานสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำ ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำฝนในเขต สชป.6 เมื่อวาน มีฝนตกในพื้นที่ ต.วะตะแบก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ 16.5 มม./ต.ในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น 1.8 มม./ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 1.0 มม./ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ 2.0 มม./ต.แสนสุข อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด 13.8 มม.
2. สภาพน้ำท่า แม่น้ำชีตอนบน E.23 จ.ชัยภูมิ น้ำปกติ Q 89.02 cms. (19.35%) ระดับเพิ่มขึ้น +0.46 ม. /แม่น้ำชีตอนกลาง E.91 จ.มหาสารคาม น้ำปกติ Q 124.60 cms. (14.94%) ระดับลดลง -0.11 ม. /แม่น้ำชีตอนล่าง E.18 จ.ร้อยเอ็ด น้ำปกติ Q 165.89 cms. (16.07) ระดับลดลง -0.07 ม.
3. สภาพน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ 3 แห่ง
3.1 เขื่อนอุบลรัตน์ ปริมาณน้ำ 819.52 ล้าน ลบ.ม./33.71% น้ำใช้การ 237.85 ล้าน ลบ.ม./12.86% น้ำไหลเข้า 6.12 ล้าน ลบ.ม. ระบายุ 6.93 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 1,611.78 ล้าน ลบ.ม.(66.29%)
3.2 เขื่อนลำปาว ปริมาณน้ำ 741.69 ล้าน ลบ.ม./37.46% น้ำใช้การ 641.69 ล้าน ลบ.ม./32.41% น้ำไหลเข้า 7.63 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 3.64 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 1,238.31 ล้าน ลบ.ม.(62.54%)
3.3 เขื่อนจุฬาภรณ์ ปริมาณน้ำ 113.83 ล้าน ลบ.ม./69.51% น้ำใช้การ 76.61 ล้าน ลบ.ม./60.55% น้ำไหลเข้า 0.80 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 1.27 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 49.92 ล้าน ลบ.ม.(30.49%)
4. สภาพน้ำอ่างฯขนาดกลาง 69 แห่ง ความจุรวม 440.35 ล้าน ลบ.ม. ความจุวันนี้ 200.77 ล้าน ลบ.ม. (45.59%) มีช่องว่างสามารถรับน้ำได้อีก 239.58 ล้าน ลบ.ม. (54.41%)
4.1 อ่างฯขนาดกลางมีความจุน้อยกว่า 30% จำนวน 20 แห่ง (จ.ชัยภูมิ 3 แห่ง จ.กาฬสินธุ์ 2 แห่ง จ.ขอนแก่น 3 แห่ง จ.มหาสารคาม 5 แห่ง จ.ร้อยเอ็ด 7 แห่ง)
4.2 อ่างฯขนาดกลางมีความจุระหว่าง 31-80% จำนวน 46 แห่ง
4.3 อ่างฯขนาดกลางมีความจุระหว่าง 81-100% จำนวน 1 แห่ง
4.4 อ่างฯขนาดกลางมีความจุมากกว่า 100% จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ห้วยเสียว, อ่างฯ ห้วยสังเคียบ
เขื่อนขนาดกลางมีความมั่นคงแข็งแรง
5. สภาพน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กพระราชดำริ 41 แห่ง ความจุรวม 17.05 ล้าน ลบ.ม. ความจุวันนี้ 10.92 ล้าน ลบ.ม. (64.04%)
5.1 อ่างฯขนาดเล็กพระราชดำริ มีความจุน้อยกว่า 30% จำนวน 7 แห่ง
5.2 อ่างฯขนาดเล็กพระราชดำริ มีความจุระหว่าง 31-80% จำนวน 26 แห่ง
5.3 อ่างฯขนาดเล็กพระราชดำริ มีความจุระหว่าง 81-100% จำนวน 6 แห่ง
5.4 อ่างฯขนาดเล็กพระราชดำริ มีความจุมากกว่า 100% จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ห้วยสมอทบ, อ่างฯ ห้วยค้อ จ.กาฬสินธุ์
6.1 เขื่อนชนบท เหนือเขื่อน +161.75 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 0.25 ม. (รนก. +162.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 16.00 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 15.54 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 97.11% Q 8.26 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ
6.2 เขื่อนมหาสารคาม เหนือเขื่อน +146.99 ม.รทก. สูงกว่า รนก. 0.19 ม. (รนก. +146.80 ม.รทก.) ความจุ รนก. 24.00 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 24.95 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103.96% Q 117.79 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ
6.3 เขื่อนวังยาง เหนือเขื่อน +136.73 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 0.27 ม. (รนก. +137.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 33.59 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 30.89 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 91.96% Q 82.96 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ
6.4 เขื่อนร้อยเอ็ด เหนือเขื่อน +130.53 ม.รทก. สูงกว่า รนก. 0.53 ม. (รนก. +130.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 16.00 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 19.18 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 119.88% Q 139.56 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ
6.5 เขื่อนยโสธร เหนือเขื่อน +123.77 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 1.73 ม. (รนก. +125.50 ม.รทก.) ความจุ รนก. 18.89 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 10.41 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 53.49% Q 305.06 cms. แนวโน้มระดับน้ำลดลง สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ
6.6 เขื่อนธาตุน้อย เหนือเขื่อน +114.94 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 1.06 ม. (รนก. +116.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 56.10 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 41.42 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 73.83% Q 194.08 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ
7. การให้ความช่วยเหลือและเตรียมความพร้อมรับอุทกภัย
7.1 โครงการชลประทานร้อยเอ็ด เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Video Conference เพื่อติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ รวมถึงรายงานสดสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่ลำน้ำยัง ณ บ้านหนองผักตบ ต.เหล่าน้อย อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เนื่องจากอิทธิพลพายุโซนร้อนเจิมปากา ช่วงวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2564 ทำให้มีฝนตกหนักกระจายในพื้นที่ลุ่มน้ำยัง โดยเฉพาะตอนบนของลุ่มน้ำ มีฝนสะสม 3 วัน สูงสุดจำนวน 205 มิลลิเมตร ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดปริมาณน้ำท่าไหลลงลำน้ำยังค่อนข้างมากในระยะเวลาสั้น ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว(ประเมินน้ำท่าได้ประมาณ 35 ล้าน ลบ.ม.) โดยเฉพาะบริเวณ อ.เสลภูมิ ซึ่งมีจุดเฝ้าระวังที่สถานีวัดน้ำ E.92บ้านท่างาม อ.เสลภูมิ โดยมีระดับตลิ่งเฝ้าระวังที่ +8.80 เมตร หรือ ระดับ +133.30 ม.รทก. ลักษณะพื้นที่บริเวณตลิ่งฝั่งซ้ายเป็นที่ลุ่มต่ำ ท่วมซ้ำซากเป็นประจำ
7.2 พื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งซ้ายลำน้ำยัง(นอกเขตคันพนัง) ระดับน้ำล้นตลิ่งสูง +0.34 ม. มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 1,200 ไร่ พื้นที่เกษตรและชุมชน ไม่มีความเสียหาย คาดว่าภายใน 1-2 วัน จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม


ผส.ชป.6 /28 ก.ค. 64

#อีสานเดลี่ออนไลน์

เกษตร, ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.