ขอนแก่น(ชมคลิป)สวนสัตว์ขอนแก่นสกัดโรคให้กับสัตว์ป่าในช่วงฤดูฝน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้สัตว์ป่า


ที่สวนสัตว์ขอนแก่น ต.คำม่วง อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น นายณรงวิทย์ ชดช้อย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวนสัตว์นครราชสีมา รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสวนสัตว์ขอนแก่น กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝน สวนสัตว์ขอนแก่น มักจะประสบปัญหาอาจเกิดโรคที่เกิดจากฤดูฝน ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับสัตว์ได้เช่นโรคโรคปากและเท้าเปื่อย หรือ Foot and Mouth Disease (FMD) และโรคเมลิออยโดสิส ทำให้ทางสวนสัตว์ขอนแก่น ต้องเตรียมหาวิธีป้องกันให้กับสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ส่งผลกระทบทำให้สัตว์ชนิดต่างๆ ภายในสวนสัตว์ขอนแก่นได้รับความเดือดร้อนจากโรคดังกล่าว
นายณรงวิทย์ ชดช้อย กล่าวต่ออีกว่า สวนสัตว์ขอนแก่น ได้มีมาตรการป้องกันภัยให้กับสัตว์ป่าในช่วงที่เข้าฤดูฝน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์ โดยฉีดพ่นยาไล่ ยุง เหลือบ ยุง ริ้น ไร ในแต่ละส่วนจัดแสดง ที่ส่วนมากมีในช่วงฤดูฝนซึ่งสร้างความรำคาญให้กับสัตว์ต่างๆ เป็นอย่างมาก และได้มีการป้องกันโรค Foot and Mouth Disease (FMD) และโรคเมลิออยโดสิส โดยการให้เจ้าหน้าที่แต่ละส่วนจัดแสดงโรยปูนขาวเพื่อป้องกันโรคเมลิออยโดสิสเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดิน ที่อาจทำให้สัตว์เป็นโรคได้ ในส่วนของโรค Foot and Mouth Disease (FMD) สัตวแพทย์สวนสัตว์ขอนแก่นก็ได้ทำการดูแลให้กับสัตว์แต่ละชนิดอย่างใกล้ชิดอยู่แล้วเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆที่อาจมากับหน้าฝน
ทั้งนี้โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease, FMD)เกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD) ที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์ คือ โอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน (Asia I) เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้ กล่าวคือถ้าฉีดวัคซีน เอฟ ไทป์ เอ ให้ หรือสัตว์เคยป่วยเป็นโรคเอฟ ไทป์ เอ มาก่อน สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อโรคเอฟ ไทป์เอ เท่านั้น แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเอฟไทป์ โอ หรือ ไทป์ เอเชียวัน ดังนั้นหากมีโรคเอฟ ไทป์ โอ หรือเอเชียวันระบาดสัตว์ก็อาจจะติดโรคได้ โรคนี้มีระยะฟักตัว ประมาณ 2-8 วัน สัตว์ที่เป็นโรคนี้ จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพอง เกิดที่ริมฝีปากในช่องปาก เช่น เหงือกและลิ้น ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บมาก เดินกะเผลก
โรคเมลิออยโดสิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Burkholderia pseudomal lei (B. pseudomallei) Burkholderia pseudomallei ระยะฟักตัวไม่แน่นอน อาจสั้นเพียง 2-3 วัน หรือยาวนานเป็นปี เชื้อมีอยู่ในดินน้ำ สัตว์หลายชนิด เช่น โค กระบือ แพะ แกะ ม้า สุกร ลิง และสัตว์แทะ เป็นแหล่งแพร่โรค โรคนี้ติดต่อโดยการได้รับเชื้อเข้าไปทางบาดแผล หรือโดยการกิน และการหายใจ ผู้ป่วยอาจมีอาการและอาการแสดงอาการที่พบมีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นรุนแรงมาก