มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมืองสร้างอาชีพ


คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์จัดกิจกรรมโครงการฝึกอบกรมนวัตกรรมการผลิตไก่พื้นเมือง เพื่อสร้างอาชีพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรรายย่อย ยกระดับรายได้เกษตรกรรองรับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปศุสัตว์คุณภาพสงเปลือย ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ผศ.ดร.จิระนันท์ อินทรีย์ หัวหน้าโครงการ “นวัตกรรมการผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างอาชีพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรรายย่อย” คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พร้อมคณะผู้ร่วมวิจัยลงพื้นที่สร้างความเข้าใจแก่กลุ่มเกษตรกรในการฝึกอบกรม“นวัตกรรมการผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างอาชีพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรรายย่อย” ภายใต้โครงการหลัก “การสร้างอาชีพทางเลือกบนทรัพยากรฐานรากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับรายได้เกษตรกรรองรับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (กาฬสินธุ์โมเดล) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับนุนจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
ผศ.ดร.จิระนันท์ อินทรีย์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า การลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างรายได้และการจัดการโรงเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายสุนทร แสงดารา ปศุสัตว์อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่พื้นเมือง และนายจิตกร กั้วมาลา เกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โอกาสและแนวทางการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างอาชีพ เป็นการนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมมาบูรณาการกระตุ้นให้เกษตรกรพึ่งตนเอง เพิ่มเติมหลักวิชาการด้านการคัดเลือกและเพาะขยายพันธุ์ไก่พื้นเมือง เพื่อช่วยให้การผลิตไก่พื้นเมืองมีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยปัจจัยสำคัญต่อการผลิตไก่พื้นเมือง ได้แก่ พันธุ์ อาหาร การจัดการ และการสุขาภิบาล ในการนี้ได้มีการสำรวจและร่วมพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงไก่ให้มีความเหมาะสมของสมาชิกแต่ละราย ซึ่งโครงการกาฬสินธุ์โมเดล (Kalasin Model) เป็นโครงการที่พาเกษตรกรลงมือทำโดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มอย่างน้อย 10,000 บาท /เดือน โดยไม่รอ ไม่ขอ ลุกขึ้นมาทำเอง

เกษตร

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.