นครพนม (ชมคลิป)”โมเดลต้นแบบ”เพื่อประชาชนผ่านแนวคิด “ น้ำ คือ ชีวิต ” “ น้ำ คือ ความมั่นคง ”

“โมเดลต้นแบบ”เพื่อประชาชนผ่านแนวคิด “ น้ำ คือ ชีวิต ” “ น้ำ คือ ความมั่นคง ” ตามแผนงานของพลเอก ธัญญา เกียรติสาร ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก/ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2564 ที่ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่าภัยแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำ ส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณลดลง ภัยแล้งที่เกิดมีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้ง และทิ้งช่วงจะมีปริมาณฝนลดลง ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นบางครั้งก็อาจครอบคลุมพื้นที่กว้างเกือบทั่วประเทศไทยโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรจึงได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย จึงได้ลงพื้นที่ติดตามแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ผสมผสานเป็นระบบการผลิตแบบพอเพียง ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายจากโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่จังหวัดนครพนม โดยมีนายสรศักดิ์ พนาจันทร์ เกษตรกรบ้านห้วยทราย หมู่ที่ 5 ตำบลโพนแพง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ได้พาเดินเยี่ยมชมแปลงเกษตรที่กำลังเจริญเติบโตอย่างสวยงาม รวมถึงได้เล่าความเป็นมาของโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรปีงบประมาณ 2561 (เพิ่มเติม) ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน บ้านห้วยทราย โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่มีพลเอก ธัญญา เกียรติสาร ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ประธานศูนย์บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้การดำเนินการผ่านแนวคิด “ น้ำ คือ ชีวิต ” “ น้ำ คือ ความมั่นคง ” ตามคำสั่ง กองทัพภาคที่ 2/ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ที่ 29 / 2561 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบูรณาการส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่มีที่ตั้งในจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนเชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมเป็นที่ปรึกษาทั้งภาครัฐและภาคประชาชน สนับสนุนงบประมาณการดำเนินการโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ประจำปีงบประมาณ 2561 ภายใต้การบริหารจัดการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ตามคำสั่ง คสช. ที่ 46/2560 เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นไปแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนองค์กรกลางด้านน้ำ 1ใน 3 เสาหลัก สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง
นายสรศักดิ์ พนาจันทร์ เกษตรกรบ้านห้วยทราย กล่าวว่า ตั้งแต่ได้โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรมาชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมากกว่าแต่ก่อนมากถือว่าโชคดีมากที่ได้โครงการนี้มาโดยการนำของ พลเอก ธัญญา เกียรติสาร ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือว่าท่านได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดไว้มากมาย โดยเป็นการบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างคนในกลุ่มเพื่อใช้ในการเกษตร เป็นการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบร่วมกันทุกคนในกลุ่มต่างแบ่งปันน้ำใจให้กันในการใช้น้ำ ถ้าเกิดว่าตัวผมเองไม่มีอาชีพนี้ที่เป็นหนทางที่นำไปสู่การเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ท่านได้ให้จิตสำนึกและหนทางอาชีพพร้อมกับได้มอบมรดกทางด้านความคิดและอาชีพที่ยั่งยืน ที่ท่านคิดเพื่อประชาชนจริงๆ ถึงแม้นว่าผมจะไม่มีเงินทองมากมายผมก็อยู่ได้เรามีแหล่งอาหาร เช่นกุ้ง หอย ปู ปลา พืชผักต่างๆ ผลไม้ต่างๆเป็นต้น หากคนเราจะมีที่ดินมากมายก็ไม่มีประโยชน์ถ้าไม่มีน้ำ และระบบน้ำของโครงการนี้มันเกินกำลังของชาวเกษตรกรมาก น้ำถือว่าเป็นหัวใจหลักของกลุ่มพี่น้องเกษตรกรเรา กลุ่มผู้ใช้น้ำต่างซาบซึ้งในน้ำใจเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างแหล่งอาหารของครอบครัว ของชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป ในการช่วยเหลือเกษตรกรนั้นหากช่วยเป็นเงินก็มีวันหมดไป หากช่วยแบบโครงการนี้มันคือถาวรวัตถุที่เราจะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อนำน้ำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดที่สามารถจับต้องได้จริงๆ ที่สำคัญทำให้เรามีความสุขโดยไม่ต้องดิ้นรนออกไปทำงานไกลถิ่นฐานบ้านเกิดเลย เราอยู่ในชุมชนเราก็สามารถหาความสุขได้ ตื่นเช้ามาเราก็อยากมาหาต้นไม้ที่เราปลูกทุกวันมันคือชีวิตใหม่ที่เราออกแบบด้วยหนึ่งสมองสองมือเราเพื่อส่งทอดมรดกของความสุขให้ลูกหลานต่อไปในภายภาคหน้าในอนาคตต่อไป ต้องขอขอบคุณพลเอก ธัญญา เกียรติสาร ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอย่างสูงอีกครั้ง
ประวัติความเป็นมาของศูนย์บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2561 มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คำสั่งกองทัพภาคที่ 2 /กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ที่ 29 / 2561 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 โดยมี พลตรี ธัญญา เกียรติสาร รองแม่ทัพภาคที่ 2/ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 เป็นประธานศูนย์บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี พ.ศ.2561 พลตรี ธัญญา เกียรติสาร และ พลตรี สุรชิน กาญจนจิตติ ได้เดินทางเข้าพบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อปรึกษาแนวทางการดำเนินโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร และลงพื้นที่พบปะประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการและการบริหารจัดการน้ำ
-ปีงบประมาณ 2561 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้รับงบประมาณโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร จำนวน 341 ระบบโดยรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปีงบประมาณ 2561(เพิ่มเติม) ระยะเวลาการดำเนินการ วันที่เริ่มโครงการ วันที่ 3 ธันวาคม 2561 วันที่สิ้นสุดโครงการ 30 กันยายน 2562
-ปี พ.ศ.2562 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้มอบอำนาจให้ พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ทัพภาคที่ 2/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ให้เป็นผู้อำนวยการโครงการและลงนาม ในหนังสือยืนยันขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
-14 มิถุนายน 2562 กองอำนวยการักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ได้ดำเนินกรรมวีธีจัดจ้างและได้ก่อหนี้ผูกพันเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย พลโท ธัญญา เกียรติสาร ได้ลงนามในสัญญาจ้างกับบริษัทผู้รับจ้าง จำนวน 341 ระบบ ต่อมาได้ตรวจสอบความถูกต้องของโครงการพบว่ามีการช้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น จำนวน 4 ระบบ จึงรายงานขออนุมัติลดโครงการลง เหลือจำนวน 337 ระบบ (18 จังหวัดภาคอีสาน)
– ปัจจุบันระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วและอยู่ในระยะสัญญาค้ำประกันกับบริษัทผู้รับจ้างเป็นเวลา 2 ปี จึงจะสิ้นสุดสัญญาค้ำประกัน ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 และภายหลังสิ้นสุดการค้ำประกัน กองอำนวยการักษาความมั่นคงภายในภาค 2 จะดำเนินการซ่อมบำรุงระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกรที่ได้รับโครงการต่อไปอีก 3 ปี ห้วงตั้งแต่ปี 2565 -2567 จากนั้นจะเป็นการส่งมอบโครงการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป
– เมื่อ 27 สิงหาคม 2563 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ 86/2563 ลง 27 สิงหาคม 2563 โดยมี พลโท ธัญญา เกียรติสาร เป็นประธานคณะอนุกรรการฯ สืบเนื่องมาจากปี 2563 ได้เกิดปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง รวมถึงมีสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็น
อย่างมาก และในขณะเดียวกันต้องเตรียมการรับมือกับภาวะน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน คณะรัฐมนตรีจึงได้จัดสรร
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการดำเนินงานยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นจำเป็นต้องช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วนคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแหงชาติ จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
วัตถุประสงค์ของโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร
1. นำระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการสูบน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านการอุปโภค บริโภค การเกษตร และกิจกรรมอื่นๆ
2. เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนอื่น
3. เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่ภาคปฏิบัติให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดตามแนวพระราชดำริ
4. เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 และโครงการไทยนิยมยั่งยืน ขั้นตอนการดำเนินงาน (ตามหนังสือยืนยันกองทุนฯ)
ภาพ/ข่าว : พรพิพัฒน์ เพ็ชรสังหาร

คลิป, เกษตร

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.