ขอนแก่น(ชมคลิป)สหกรณ์โคนมขอนแก่น-สกลนคร ร้องจัดสรรโควต้านมโรงเรียนไม่เป็นธรรม

สมาชิกสหกรณ์โคนมขอนแก่นและสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จ.สกลนคร หารือแนวทางการเรียกร้องให้คณะกรรมการจัดสรรโคสต้านมโรงเรียนทบทวนการแบ่งโควต้าให้เอกชนที่เพิ่งเปิดใหม่ ขณะนี้ภาคสหกรณ์เดือดร้อนไม่มีพื้นที่ระบายน้ำนมดิบ ประธานสหกรณ์โคนมขอนแก่นเผย หากปล่อยไว้อนาคตสหกรณ์โคนมคงอยู่ไม่ได้

11 มิ.ย.64 ที่ห้องประชุมสหกรณ์โคนมขอนแก่น นายคำพันธ์ ไชยหัด ประธานสหกรณ์โคนมขอแก่น พร้อมด้วย สมาชิกจากขอนแก่นและสมาชิกสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จ.สกลนคร ประชุมหารือแนวทางการแก้ปัญหา การจัดสรรโควต้านมโรงเรียนที่ไม่เป็นธรรม เพื่อสะท้อนปัญหาถึงคณะกรรมการที่ออกหลักเกณฑ์การจัดสรรนมโรงเรียนเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม

นายคำพันธ์ ไชยหัด ประธานสหกรณ์โคนมขอนแก่น เปิดเผยว่า การออกมาหารือและเรียกร้องในวันนี้ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีการร้องเรียนไปแล้ว แต่การจัดสรรโควต้านมโรงเรียนยังคงเป็นไปตามมติเดิม คือมีการจัดสรรให้กลุ่มบริษัทเอกชนอยู่ ส่งผลให้น้ำนมจากสหกรณ์โคนมขอนแก่นคงเหลือค้างสต็อกในแต่ละวันจำนวนมาก โดยสหกรณ์โคนมขอนแก่น มีตัวเลขรับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิกอยู่ที่ 49.166 ตัน ต่อวันส่งจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าหลัก 2 กลุ่มแยกเป็นกลุ่มบริษัทเชิงพาณิชย์ อาทิ อสค. ซีพี และบริษัทเอกชนตามสัญญาคู่ค้า วันละ ประมาณ 20 ตัน คงเหลือน้ำนมอยู่ที่ 29.166 ตันต่อวัน ยื่นเข้าโครงการอาสารเสริมนมโรงเรียน เข้าสู่ระบบสัดส่วน ซึ่งได้รับสิทธิจากโครงการ 13.696 ตันต่อวัน ทำให้มีน้ำนมเหลือที่สหกรณ์ไม่มีตลาดรองรับอยู่ที่ 15 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับที่ สหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จ.สหกลนคร ซึ่งนมเหล่านี้จะถูกฝากผลิตที่ อสค.,สหกรณ์โคนมสีคิ้ว หสกรณ์โคนม หนองโพธิ์ และกำแพงแสน ซึ่งนายคำพันธ์เผยว่า การนมนำเข้ากล่องนั้นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนเป็นเพียงการยืดอายุของนมเพิ่มออกไปเพื่อรการบริหารจัดการในวนวันข้างหน้า ที่สำคัญการเลื่อนเปิดเทอมก้เป็นปัญหาทำให้อายุของนมลดน้อยลงไปอีก ส่วนอีกเรื่องที่สำคัญคือ สหกรณ์โคนมขอนแก่นต้องแบกรับปัญหาในเงินทุนที่อยู่ในรูปแบบนมพานิชอีกจำนวนมาก ประมาณ 70 ล้านบาท ส่งมาจากเงินกู้กรมส่งเสริมสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรที่ทางสหกรณ์แบกรับดอกเบี้ย ซึ่งหากในอนาคต โครงการอาหารเสริม นมเพื่อเด็กและเยาวชนยังไม่มีการแก้ๆไขหลักเกณฑ์ และพิจารณาในการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรตัวจริง คาดว่าเกษตรกรจะอยู่ๆไม่ได้ในอนาคต เพราะแบกรับภาระไม่ไหว

“เสียงสะท้อนที่ต้องการนำเสนอในวันนี้ ต้องการส่งถึง ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารจัดการนมเพื่อเด็กแลพเยาวชน เป็นผู้ที่วางหลักเกณฑ์ หากยังมีการจัดสรรให้กลุ่มเอกชนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตสหกรณ์โคยมจะค่อยๆลดขนาดลงธุรกิจการแปรรูปก็จะเริ่มลดลงด้วย ส่งผลไปถึงสมาชิกสหกรณ์ได้รับความเดือดร้อน และอาชีพการเลี้ยงโคนม ซึ่งเป็นอาชีพพระราชทานจะค่อยๆหายไปจากระบบจะมีแต่เอกชนรายใหญ่เข้ามา ส่วนมติที่คณะกรรมการวางไว้นั้น ทั้งสองสหกรณ์ฯมองว่ามีหลักเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรมกับสหกรณ์รายเล็ก ที่มีข้อจำกัดในการดำเนินงาน และมองว่าหากหลักเกณฑ์ ยังเป็นเหมือนเดิม จ.ขอนแก่นเตรียมรับโรงงานที่จะเข้ามาเบียดพื้นที่สหกรณ์โคมนมอีกประมาณ 5-6 แห่ง”