ขอนแก่น-เดินหน้าดึงพลังเยาวชน สร้างสื่อสร้างสรรค์สู่สังคม ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลง


เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 ที่ห้องกรรณิการ์ โรงแรมพิมานการ์เด้น บูติคโฮเต็ล อ.เมือง จ.ขอนแก่น เครือข่ายความร่วมมือการปฏิรูปการเรียนรู้ให้สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชน ภาคอีสาน เครือข่ายศิลปินเพื่อการปฏิรูป และศูนย์ศึกษาและวิจัยสื่อสารมวลชนอาเซียนเครือข่ายคณาจารย์นิเทศศาสตร์ร่วมกับนักพัฒนา “นักสื่อสารสร้างสรรค์” ให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และผู้นำการเปลี่ยนแปลงการบูรณาการปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อระบบการเรียนรู้ใหม่” ปีที่ 5 ภายใต้โครงการ“สื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ : หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ” เพื่อนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอหลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะในระยะ
อาจารย์ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ เป็นหลักสูตรที่ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระรวมทั้งสิ้น 7 รายวิชา อาทิ 1.ดิจิทัลพลิกโลก (Digital Disruption) 2.การสื่อสารสุขภาวะ (Community for Health) 3.รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล 4.กฎหมายและจริยธรรมการสื่อสาร 5.การสืบค้น การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำแหนที่ชุมชน 6.การสร้างสรรค์ และการเล่าเรื่อง และ 7.การออกแบบและผลิตสื่อ
“ซึ่งหลักสูตรที่ว่านี้มีการผลิตออกมาเพื่อเป็นคู่มือ เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ หลักสูตรสื่อชุมชนสื่อสารสุขภาวะ ปี พ.ศ.2563-2564 ด้วย โดยมีการอบรมให้กับนักสื่อสารสร้างสรรค์ทั่วทั้งประเทศ และเพื่อเป็นการทดลองใช้หลักสูตรทางโครงการ“สื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียนรู้ จึงได้จัดอบรมให้กับนักสื่อสารสร้างสรรค์ที่เป็นภาคีเครือข่ายในการทำงานก่อนโดย มีการทดลองในพื้นที่ 4 ภูมิภาคดังนี้ ภาคเหนือ ที่จังหวัดพะเยา ,ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา ,ภาคกลาง ที่กรุงเทพมหานคร และภาคอีสาน ที่จังหวัดขอนแก่น
โดยเป็นกระบวนการการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยหลักสูตรทั้ง 7 รายวิชานี้ เป็นเสมือนการอบรมในการให้ความรู้ พร้อมทั้งเป็นการฝึกปฏิบัติความชำนาญให้เกิดขึ้นต่อกลุ่มเยาวชนแกนนำในชุมชน กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่น โดยประเด็นสุขภาวะในการผลิตสื่อสร้างสรรค์มีทั้งหมด 5 ประเด็นให้เลือกทำ คือ ประเด็นที่ 1 รองรับสังคมสูงวัย, ประเด็นที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาวะ, ประเด็นที่ 3 ทักษะรู้เท่าทันสื่อ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ประเด็นที่ 4 ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และประเด็นที่ 5 อัตลักษณ์-ความดี-คนดีของสังคม” นายดนัย หวังบุญชัย กล่าว
ด้าน พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ ผู้รับผิดชอบโครงการภาคอีสาน กล่าวว่า สำหรับภาคอีสานนั้น มีการนำร่องใน 2 จังหวัดก่อน คือ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งในการอบรมมีนักเรียนโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2 (สมาน สุเมโธ) ,นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ,ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วม 55 คน ซึ่งจากการอบรมระหว่างวันที่ 19 – 21 มีนาคม คาดหวังว่าเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจากทั้ง 2 สถาบันนี้ จะสามารถผลิตและสร้างสรรค์สื่อในประเด็นต่างๆ ออกมานำเสนอ ซึ่งจะสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในของชุมชน และของดีในชุมชน รับรองว่าฝีมือไม่แพ้มืออาชีพแน่นอน

ภัสสะ บุญธรรม รายงาน

ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.