ผักก่าม “อีสาน หรือ ผักกุ่ม” ทั้งเป็นยาทั้งเป็นวัฒนธรรมน้ำใจแบบใสสะอาดที่ภายในจิตใจนั้นแอบแฝงความรักที่บริสุทธิ์ของคนไทบ้านส่งมอบให้กันและกันบนแผ่นดินอีสานบ้านเฮา
ที่บ้านเลขที่ 34 ม.7 บ.กวางงอย ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ในเวลาช่วงเช้าตื่นขึ้นมาได้เห็นความงดงามของคนอีสาน(วิถีคนไทบ้่าน) ที่ให้และแบ่งปันน้ำใจให้กันตลอดเวลา เหตุผลคือเนื่องจากภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้ง เพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก ดังนั้นจึงสามารถหาความสุขได้ทุกโอกาส มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล ความงดงามของคนอีสาน(วิถีคนไทบ้่าน) หรือวัฒนธรรมคนไทบ้าน อีสานบ้านเฮา คือ หากมีอะไร(ดอกผักกุ่ม) ก็มักแบ่งปันกันกิน ผมเรียกว่า วัฒนธรรมน้ำใจแบบใสสะอาดที่ภายในจิตใจนั้นแอบแฝงความรักที่บริสุทธิ์ของคนไทบ้านส่งมอบให้กันและกันบนแผ่นดินอีสานบ้านเฮา ปัจจุบันความงดงามแบบนี้ยังคงอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ดังนั้น ผักก่าม (อีสาน) กุ่ม ผักกุ่ม วัฒนธรรมน้ำใจแบบใสสะอาดที่ภายในจิตใจนั้นแอบแฝงความรักที่บริสุทธิ์ของคนไทบ้านส่งมอบให้กันและกันบนแผ่นดินอีสานบ้านเฮา โดยมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และสรรพคุณ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง 20 เมตร แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งก้านมักคดงอ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบหรือมีรอยแตกตามขวาง ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ใบรูปไข่ กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 2-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลมมีติ่งสั้น โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบี้ยว เนื้อใบหนานุ่ม ผิวใบมัน แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน ก้านใบร่วมยาว 7-9 เซนติเมตร เส้นแขนงใบ 4-5 คู่ ดอก ออกเป็นช่อกระจุก ตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาวเมื่อแรกบาน แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีชมพู กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปรี ปลายมน โคนสอบเรียว เห็นเส้นบนกลีบชัดเจนคล้ายเส้นใบ โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน กลีบเลี้ยงรูปรี กลีบเลี้ยงพอแห้งเปลี่ยนเป็นสีส้ม เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ก้านเป็นเส้นสีม่วง เกสรเพศเมียค่อนข้างยาว 1 อัน มีรังไข่เหนือวงกลีบ กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ขนาดเล็ก ผลสด รูปทรงกลม ขนาด 2-3.5 เซนติเมตร ผิวมีจุดสีน้ำตาลอมแดง เปลือกแข็ง ผลอ่อนมีสีเขียว พอสุกมีสีน้ำตาลแดง เมล็ดรูปเกือกม้าหรือรูปไต กว้าง 2 มิลิเมตร ยาว 6 มิลลิเมตร มีหลายเมล็ด ผิวเรียบ พบตามป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ไร่นา ป่าเบญจพรรณ เขาหินปูนและป่าไผ่ พบตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึง 350 เมตร ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ติดผลราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม
สรรพคุณ ตำรายาไทยใช้ ใบ รสร้อน ต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจและขับลม ใบสดตำทาแก้กลากเกลื้อน แก้ตานขโมย นำใบสดบดละเอียดผสมน้ำซาวข้าว นำมาพอกผิวบริเวณที่บวมคันจากพยาธิตัวจี๊ด ใช้ผ้าพันไว้สักระยะ จะรู้สึกร้อนบริเวณนั้น ทำสามวันติดต่อกัน ตัวจี๊ดจะหยุดแสดงอาการ ใบและเปลือกราก ใช้ทาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้น เปลือกต้น รสร้อน แก้ปวดท้อง แก้ลงท้อง ขับผายลม แก้บวม บำรุงธาตุ คุมธาตุ กระตุ้นลำไส้ให้ย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย รักษานิ่ว บำรุงหัวใจ ทาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาระงับประสาท เปลือกต้นนำมานึ่งให้ร้อนใช้ประคบแก้ปวด เปลือกต้นผสมกับเปลือกกุ่มน้ำ เปลือกทองหลางใบมน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาขับลม เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาเจริญอาหาร และยาอายุวัฒนะ แก่น รสร้อน แก้ริดสีดวงทวาร และอาการผอมเหลือง กระพี้ รสร้อน ช่วยทำให้ขี้หูแห้งออกมา ราก รสร้อน บำรุงธาตุ แก้มานกระษัยที่เกิดจากกองลม ดอก เป็นยาเจริญอาหาร ผล แก้ท้องผูก ยอดอ่อนและช่อดอก นำมาดองรับประทานเป็นผักได้ ผักกุ่มมีกรดไฮดรอไซยานิคซึ่งเป็นสารพิษ จึงต้องนำไปทำให้สุกหรือดองก่อนรับประทาน (ขอบพระคุณข้อมูลจากข้อมูลเครื่องยา : www.thaicrudedrug.com และข้อมูลตำรับยาแก้ลมอัมพฤกษ์ : www.thai-remedy.com
ภาพ/ข่าว : พรพิพัฒน์ เพ็ชรสังหาร