วันที่ 14 ก.พ. 64 ที่จุดชมวิวหินช้างสี ภายในอุทยานแห่งชาติน้ำพอง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น นักท่องเที่ยวต่างพาครอบครัวเดินทางมาพักผ่อน ในช่วงวันหยุดยาวช่วงวันตรุษจีนและวันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรัก เพื่อชมความงามของของอ่างเก็บน้ำขื่อนอุบลรัตน์ และสัมผัสอากาศที่ไม่ร้อนมากนัก ท่ามกลางมาตรการป้องกันไวรัสโควิด19
นายอภิเดช หมื่นน้อย ผู้อำนวยส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร นางสาวอรพรรณ จันทร์แก้ว ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำพอง ได้เข้าสำรวจ ภาพวาดโบราณ จำนวน 4 จุด หลังจากเจ้าหน้าที่ได้ค้นพบ บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ผาเสียวโว้ย” มีทั้งหมด 4 จุด ซึ่งแต่ละจุดอยู่ไม่ห่างไกลกันมาก โดยลักษณะของภาพเขียนโบราณ เป็นภาพลายเส้น สีแดง-ดำ มีรูปลักษณ์ลักษณะเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ควายป่า สุนัขจิ้งจอก รูปนก สัญลักษณ์การทำพิธีกรรม เช่น รูปคน รูปพระอาทิตย์ และภาพแสดงแผนที่ต่าง ๆ อายุทางโบราณประมาณราว 2,000 ปี ถึง 4,000 ปี
นายอภิเดช หมื่นน้อย ผู้อำนวยส่วนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร สำนักพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 ขอนแก่น กล่าวว่า ภาพวาดดังกล่าว คนพบโดยเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติน้ำพอง จากนั้นได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ได้เข้าตรวจจนทราบว่าภาพว่าดดังกล่าวเป็นภาพวาดสีโบราณอายุระหว่าง 2,000 ถึง 4,000 ปี คาดว่าในอดีตบริเวณจะเป็นที่อาศัยหากินของมนุษย์สมัยโบราณ เพราะมีการวาดรูปสะท้อนความเป็นอยู่ เช่น กรใช้ขีดแทนตัวเขที่หมายถึงจำนวนของสัตว์ที่ล่ามาได้ ภาพวาดวัวกระทิง ที่สะท้อนให้เห็นว่าที่แห่งนี้เคยมีวัวกริงอาศัยมาก่อน
ด้านนางสาวอรพรรณ จันทร์แก้ว ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำพอง กล่าวว่า หลังจากที่มีการพบภาพวาดโบราณแล้ว ทางอุทยานแห่งาติน้ำพอง จะได้เปิดให้เป็นจุดท่องเที่ยวใหม่ของจุดชมวิวหินช้างสี เพราะเนื่องจาก จุดที่พบ ภาพเขียนโบราณอยู่ห่างจากจุดชมวิวหินช้างสีประมาณ 1.5 กิโลเมตร ใช้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ “ผาเสียวโว้ย” มีทั้งหมด 4 จุด ซึ่งแต่ละจุดอยู่ไม่ห่างไกลกันมาก โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปชมภาพโบราณได้ จุดที่ 1 และจุดที่ 2 ด้วยตัวเองไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่เดินนำทาง
สำหรับการเดินทาง ใช้เส้นทาง ” ผาเสียวโว้ย ” โดยจุดที่พบอยู่ทางด้านขวามือของเส้นทาง เดินเข้าไปประมาณ 30 เมตร จุดที่ 1 บริเวณนํ้าในโพรงหิน การเดินทางไม่ลำบาก ไม่มีความลาดชัน ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง ภาพเขียนอยู่ฝั่งด้านขวามือ 20 เมตร จุดที่ 2 บริเวณน้ำในโพรงหิน อยู่ตรงซ้ายมือ เดินเข้าไปไม่ถึง 10 เมตร ส่วนจุดที่ 3 จุดที่ 4 ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทางเข้าไป ซึ่งอยู่บริเวณประตูทางเข้าผาเสียวโว้ย ซึ่งชาวบ้านใช้เรียกบริเวณนั้นว่า “บริเวณถ้ำหม้อ” หรือ “ทินกร 1 ” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของอุทยานสำรวจพื้นที่แล้วพบเจอภาพโบราณนี้.