วานนี้ (9 พ.ย.63) พญ.ดวงพร อัศวราชันย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดอบรม “หลักสูตร การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รุ่นที่ 11” ระหว่างวันที่ 9-13 พ.ย.63 ณ ห้องธาราชล อาหารสนับสนุนบริการ โรงพยาบาลชุมแพ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากโรงพยาบาลต่าง ในโซนตะวันตก ของจังหวัดขอนแก่น จำนวน 85 คน
สำหรับโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และพบว่าโรคนี้เป็นสาหตุการตายอันดับ 3 สำหรับประเทศไทย รองจาก โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ตามลำดับ (สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย,2551) อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราการเสียชีวิตและระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองยังคงที่ เป็นเพราะความก้าวหน้าของการรักษาผู้ป่วยในระยะเฉียบพลันที่ดีขึ้น แล้วในระยะ 40 ปี ที่ผ่านมา อัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองลดลง แต่อัตราการเจ็บป่วยที่เป็นภาวะเรื้อรังจากโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น อัตราการย้ายไปสถานพักฟื้นเพื่อฟื้นฟูสภาพจากความพิการหรืออาการที่หลงเหลืออยู่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น (Fang & Alderman, 2001) ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากรอดชีวิต แต่ต้องตกอยู่ในภาวะทุพพลภาพหรืออัมพาตระยะยาว
ดังนั้นระยะเวลา 270 นาทีชีวิต คือ ระยะเวลาที่แพทย์ใช้ในการวางแผนการรักษาและตัดสินใจ ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดมาเลี้ยงหรือเนื้อสมองตายเหตุขาดเลือด (Cerebral infarction หรือBrain infarction) เนื่องจากการรักษาในปัจจุบันที่ได้ผลดีที่สุด คือ การฉีดยาละลายอิ่มเลือด (Thrombolytic dug) ซึ่งต้องรีบให้การรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด ถ้าก็ต้องภายใน 270 นาที นับตั้งแต่นาทีแรกที่ผู้ป่วยอการจนถึงวลที่แพทย์ฉีดยาสลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยมาถึงโรงพยบาลช้ากว่านี้ ก็มักไม่สามารถให้การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้ผล จึงเรียกว่า “270 นาที
ชีวิต หรือ ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Fast Track)”
การพัฒนาระบบบริการโรคหลอดเลือดสมองในปัจจุบันได้มีการพัฒนามาตามลำดับ โดยการสนับสนุนตามนโยบายขององค์กรและจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และในปัจจุบันมีการ
กำหนดให้ การบริกรโรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในนโยบายด้านการสาธารณสุขของประเทศ