ร้อยเอ็ด-พิธีมหาพุทธาภิเษกรูปหล่อลอยองค์หลวงปู่โชคชัยโนนขวาง ยอดเงิน 1 ล้าน

ลูกศิษย์หลวงปู่โชคชัยโนนขวาง จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกรูปหล่อลอยองค์หลวงปู่โชคชัย ได้เงิน ๑ ล้านบาท เพื่อสรา้งพระวิหารหลังใหม่ และมอบให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการส่งเสริมการศึกษาให้กับโรงเรียน ๒ แห่งของตำบลนาโพธิ์
นายอภิชาตอารีย์ พัฒนไพบูลย์ นายอำเภอเกษตรวิสัย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระครูนันทศาสนกิจ เจ้าอาวาสวัดโชคชัยโนนขวาง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธี มหาพุทธาภิเษก รูปหล่อลอยองค์รุ่นแรก หลวงปู่โชคชัย รุ่นโชคดีมีชัย ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ ร่วมกับแกนนำชุมชน และชาวบ้าน พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน ร่วมในพิธี ซึ่งจัดขึ้น ภายใน บริเวณวิหารหลังใหม่ ที่กำลังก่อสร้าง ภายในวัดโชคชัยโนนขวาง ตำบลนาโพธิ์อำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด โดยวัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อเผยแผ่กิตติบารมี ของง หลวงปู่โชคชัย ซึ่งเป็นพระประธานเก่าแก่ภายในวัด ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป และมีเป้าหมาย ให้เช่าบูชา รูปหล่อลอยองค์ หลวงปู่โชคชัย รุ่นแรก รุ่นโชคดีมีชัย ที่จัดสร้างขึ้น ยังมีเป้าหมาย เพื่อนำรายได้สมทบทุน การก่อสร้างวิหารหลังใหม่ ที่กำลังก่อสร้างภายในวัดโชคชัยโนนขวาง พร้อมกับนำรายได้ ส่วนหนึ่ง เกลียดจ่ายแบ่งเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียน ในโรงเรียน 2 แห่ง ของ ตำบลนาโพธิ์

ซึ่งการประกอบ พิธีอันเป็นมงคล ของพิธีพุทธาภิเษก รูปหล่อลอยองค์หลวงปู่โชคชัยรุ่นโชคดีมีชัย ที่จัดขึ้น มีพระเถระที่ ร่วมเมตตา นั่งปรกอธิษฐานจิต 9 รูป ประกอบด้วยหลวงปู่หนูอินทร์ กิตติสาโร วัดป่าพุทธมงคลจังหวัดกาฬสินธุ์ หลวงปู่ล้อม สีลสังวโร วัดป่าเมตตาธรรม ร้อยเอ็ด หลวงปู่มหาศิลา สิริจันโท วัดโพธิ์ศรีสะอาด กาฬสินธุ์ หลวงปู่หนู สุวัณโณ วัดอัมพวนารามร้อยเอ็ด หลวงพ่อพระครูวิมลบุญโกศล วัดวิมลนิวาส ร้อยเอ็ด พระอาจารย์ต้อม ปภัสสโร วัดท่าสะแบงร้อยเอ็ด หลวงพ่อสายทองสิริธัมโม วัดดอนเกลือร้อยเอ็ด หลวงปู่สมสิทธิ์ รักขิตสีโล วัดป่าสักดารามร้อยเอ็ด และหลวงปู่พิทูลย์ อานันโท วัดโชคชัยโนนขวางร้อยเอ็ด ร่วมเป็นองค์พิธี มหาพุทธาภิเษก รูปหล่อลอยองค์รุ่นแรก หลวงปู่โชคชัย รุ่นโชคดีมีชัย
หลังจากพิธีเปิดงานและก่อนเริ่มมหาพิธีพุทธาภิเษก นายอภิชาติอารีย์ พัฒนไพบูลย์ นายอำเภอเกษตรวิสัย ซึ่งเป็นประธานในพิธี ร่วมกับศิษย์ยานุศิษย์คณะ ผู้จัดงานพิธีพุทธาภิเษก ประกอบด้วย นายอภิชัยโยคะใส นายวีระพงษ์พาแพง นายวินัยขจรภพ นายวัชระวุฒิบุญชู และคณะกรรมการชุดจัดงาน ได้ร่วมกันมอบเงินสด จากการสั่งจอง พระรูปหล่อลอยองค์รุ่นแรกหลวงปู่โชคชัย จำนวน 1 ล้านบาท ให้กับกรรมการ เพื่อนำไปดำเนินการ สมทบทุนสร้างวิหารหลังใหม่ที่กำลังก่อสร้างภายในวัดโชคชัยโนนขวาง พร้อมกับ นำรายได้อีกส่วนนึง ไปบริจาค จัดตั้ง เป็นกองทุน ด้านการส่งเสริมการศึกษาแก่นักเรียนในโรงเรียน 2 แห่งของตำบลนาโพธิ์ โดยมี นายวิจารณ์เพิ่มพูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ นายพิรุฬท์ วิลาจันทร์ กำนันตำบลนาโพธิ์ ร่วมกับ คณะกรรมการวัด เป็นตัวแทน รับมอบเงิน เพื่อนำไปใช้ สมทบทุนดำเนินการก่อสร้างวิหาร หลังใหม่ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ของบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ จัดพิธี พุทธาภิเษกในครั้งนี้ต่อไป..
ประวัติหลวงปู่โชคชัยแห่งวัดโชคชัยโนนขวาง ตำบลนาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มีว่า เมื่อ พ.ศ.2463 ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจ ซึ่งอดีตเคยเป็นเจ้าคณะตำบลนาโพธิ์ พระอุปัชฌาย์ ตำบลนาโพธิ์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด และย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ที่โรงเรียนบ้านนาโพธิ์ (สหพันธ์พิทยาภรณ์) ได้เล่าไว้ว่า พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของปี จะมีหมู่ผู้สูงอายุทั้งชายหญิงไปนิมนต์ท่านไปสรงน้ำหลวงปู่โนนขวาง (หลวงปู่โชคชัย) ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจ ได้สอบถามประวัติความเป็นมาของหลวงปู่โนนขวาง โยมที่มีอายุ 80 ปี ขึ้นไป ตอบได้แต่เพียงว่าไม่ทราบประวัติละเอียด ทราบจากพ่อแม่เล่าต่อกันมาว่า หลวงปู่โชคชัย เป็นองค์พระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตัก 40 นิ้ว นั่งประดิษฐ์สถานอยู่บนแท่นในท่าขัดสมาธิ พระกรด้านซ้ายวางหงายฝ่ามือไว้ที่หน้าตัก ส่วนพระกรด้านขวาวางคว่ำฝ่ามือไว้บนพระชานุ (เข่า) พระกรรณ (หู) ยาน เกศมีเปลวแหลม เดิมยอดเกศหักและพระกร (แขน) ชำรุด จึงได้ปรับปรุงต่อเติมให้เหมือนเดิม จึงได้ปรับปรุงซ่อมแซมขึ้นใหม่ ในบริเวณโนน(โนนขวาง) ที่ได้มีผู้คนมาสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ที่นี่หลายหลัง
ส่วนองค์พระหล่อด้วยวัสดุอะไรไม่มีหลักฐานแน่ชัด บ้างก็ว่าจากหินศิลาแลง ทำมาจากปูนหรือทองเหลืองบ้าง ซึ่งผู้เรียบเรียงยังไม่มีหลักฐาน หรือข้อมูลในการพิสูจน์จากนักโบราณคดี องค์หลวงปู่มีพระวรกายขรุขระ ไม่เรียบทาทับด้วยทองเปลวแบบกระป๋อง ซึ่งชาวบ้านคนใดที่ประสบปัญหานานา และสิ่งของสูญหาย ต่างมาบนแล้วได้คืน เมื่อประสบความสำเร็จก็จะมาแก้บนหลวงปู่โดยการปิดทองและร่วมทำบุญ พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของปี ต้องไปสรงน้ำหลวงปู่ทุกปีเป็นอย่างนี้เรื่อยมา
พ.ศ. 2480 มีโจรใจบาปมาขโมยเอาสังกะสีไปสมัยนั้นการคมนาคมมีแต่เดินเท้า นั่งเกวียน จะติดต่อขอความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่สะดวก จึงได้แต่จุดธูปเทียนขอบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ตามสังกะสีกลับคืนมา สมใจชาวบ้านที่อยู่มาถึงปีมีสังกะสีกลับมากองอยู่ข้าง ๆ พระเจ้าหลวงหลายแผ่น (พระครูวิธูรถาวรกิจบอกเล่า) ชาวบ้านจึง เกิดศรัทธาอันแรงกล้า ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่อีก
ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2505 – 2506 มีการบูรณะใหม่อีก ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจ พยายามหาทุนก่อสร้างอุโบสถขึ้น ได้รับความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนมาถวายผ้าป่าสามัคคีและต้นดอกเงินอยู่หลายปี ต่อมาเมื่อท่านขุนปราจิณ ธานี นายอำเภอเมืองร้อยเอ็ดออกตรวจเยี่ยมท้องที่ท่านพระครูวิธูรถาวรกิจได้นำไปคารวะพระเจ้าหลวง เห็นว่าเป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่ จึงกราบไหว้บนบานขอให้ได้เลื่อนยศสูงขึ้น ท่านก็ได้สมความปรารถนา คือ ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นปลัดจังหวัด จึงได้ถวายเงินจำนวน 1,100 บาท สร้างแท่นถาวร และซ่อมพระกรซ้ายพระเจ้าหลวงที่แตกร้าวให้สมบูรณ์ เมื่อซ่อมเสร็จ ท่านขุนปราจิณ ธานี ได้ถวายทองคำเปลวร่วมกับชาวบ้านปิดพระเจ้าหลวงจนเต็มองค์อย่างที่ท่านเห็นในปัจจุบัน