กาฬสินธุ์มอบใบประกาศนียบัตรโครงการพระราชทานโคกหนองนาและความหวัง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้แทนพระองค์ ในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมในโครงการพระราชทาน “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” รุ่นที่ 2

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 2 ตุลาคม 2563 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมตามโครงการพระราชทาน “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” รุ่นที่ 2 เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 192 คน โดยมีนางละออง อยู่ยั่งยืน ผู้บัญชาการเรือนจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยส่วนราชการต่างๆเข้าร่วม

ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้มีการฝึกโครงการพระราชทาน “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” รุ่นที่ 2 เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา เพื่อสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยสามารถดำเนินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่ และมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐานความคิดการฝึกวินัย การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถเพิ่งพาตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อนได้ เมื่อพ้นโทษออกไปภายนอก

โดยปัจจุบันการฝึกโครงการพระราชทาน “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ครั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ มีผู้เข้ารับการฝึกรวมทั้งสิ้น 192 คน อบรมเป็นเวลา 14 วัน แบ่งขั้นตอนการฝึกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การอบรมพึ่งพาเองด้วยทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 2 การแปลงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ และขั้นที่ 3 การสรุปและประเมินผล

อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการพระราชทาน “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เป็นความร่วมมือระหว่างกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม เพื่อสนองพระราชปณิธาน และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานโครงการ “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เปิดโอกาสให้กลุ่มนักโทษเด็ดขาด ที่คาดว่าจะได้รับพระราชทานอภัยทาษ และจะพ้นโทษในปี 2563 ในเรือนจำ มีความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริมทักษะทางการเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยสามารถบริหารจัดการพื้นที่สำหรับทำการเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นแนวทางให้ผู้ต้องขังสามารถพึ่งพาตนเองได้ มองเห็นโอกาสในการประกอบสัมมาชีพภายหลังพ้นโทษ ตลอดจนเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนได้ลงมือทำ เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น ไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก สมดั่งพระราชปณิธานคืนคนดีสู่สังคมอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.