นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนโนอึล ในช่วงวันที่ 18-20 ก.ย. 63 ที่ผ่านมา ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกในพื้นที่อีสานกลางทั้ง 5 จังหวัด (ขอนแก่น,ชัยภูมิ,มหาสารคาม,กาฬสินธุ์และร้อยเอ็ด) ส่งผลดีทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง สะสมรวมประมาณ 380 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นไปตามที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ สำนักงานชลประทานที่ 6 (SWOC 6) ได้คาดการณ์ไว้ว่าพายุโซนร้อน โนอึล จะเติมน้ำให้อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในพื้นที่ทั้ง 5 จังหวัดได้มากกว่า 300 ล้าน ลบ.ม.
สำนักงานชลประทานที่ 6 ได้บริหารจัดการน้ำโดยเน้นการเก็บกักน้ำให้มากที่สุด ตามนโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยใช้อาคารชลประทานบริหารจัดการน้ำ เน้นการเก็บกักและระบายน้ำผันเข้าไปเก็บกักไว้ในแก้มลิงและแหล่งน้ำธรรมชาติให้มากที่สุด ซึ่งหลังจากพายุโซนร้อนโนอึลพัดผ่านไป อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่งและอ่างฯขนาดกลาง 69 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 380 ล้าน ลบ.ม. เก็บกักในแหล่งน้ำธรรมชาติและแก้มลิง 103 แห่ง ได้ปริมาณน้ำ 263 ล้าน ลบ.ม. และเก็บกักในเขื่อนระบายน้ำในลำน้ำชี 6 แห่งอีก 168 ล้าน ลบ.ม. รวมปริมาณน้ำที่สามารถเก็บกักได้ประมาณ 811 ล้าน ลบ.ม. ภาพรวมพบว่าสามารถเก็บกักน้ำในแก้มลิงได้เพิ่มขึ้น 100% จากปริมาณน้ำที่มีอยู่เดิม
สำหรับลุ่มน้ำชีตอนบน ลำคันฉู และลำปะทาว ได้ผันน้ำเข้าไปเก็บกักน้ำไว้ในแก้มลิง 61 แห่ง ได้ปริมาณน้ำ 127 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง ได้เก็บกักน้ำไว้ในแก้มลิง 11 แห่ง ปริมาณน้ำ 63 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ยังได้วางแผนเก็บกักน้ำโดยจะปรับเพิ่มการระบายน้ำที่เขื่อนชนบทลงแม่น้ำชี จากนั้นจะนำเครื่องจักรเข้าไปขุดเปิดทางน้ำ เพื่อชักน้ำเข้ามาเก็บกักที่หนองกรองแก้ว อ.ชนบท จ.ขอนแก่น และผันเข้าไปเก็บกักไว้ที่กุดละว้า คาดว่าจะสามารถเติมน้ำให้หนองกรองแก้วได้ประมาณ 10 ล้าน ลบ.ม.
ด้านลุ่มน้ำพรม-เชิญ ได้ผันน้ำเข้าไปเก็บกักไว้ที่แก้มลิง 28 แห่งได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 43 ล้าน ลบ.ม. ทำให้มีน้ำส่วนเกินจากที่ผันเข้าแก้มลิงสองฝั่งลำน้ำพรม-เชิญ ถูกระบายผ่าน ปตร.ลำน้ำเชิญตัวที่ 2 ที่อำเภอหนองเรือ ไปลงที่เขื่อนอุบลรัตน์แล้วประมาณ 10 ล้าน ลบ.ม. และยังมีปริมาณน้ำในลุ่มน้ำพรม-เชิญที่จะไหลลงเขื่อนอุบลรัตน์อีก จากปริมาณฝนที่ตกลงมาในระยะนี้ ส่วนลุ่มน้ำยังตอนล่าง ได้ผันน้ำเข้าไปเก็บกักไว้ที่แก้มลิง 3 แห่ง รวมปริมาณน้ำที่เก็บกักประมาณ 30 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ สำนักงานชลประทานที่ 6 ได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานทั้ง 5 จังหวัด กำหนดแผนการบริหารจัดการน้ำ โดยเน้นส่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งบริหารจัดการน้ำท่าในแม่น้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม แม้ในขณะนี้จะยังมีปริมาณฝนตก แต่ขอให้ทุกภาคส่วนยังคงใช้น้ำอย่างประหยัด และขอให้เก็บกักน้ำฝนในแหล่งน้ำของตน เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งถัดไป
สรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำ ประจำวันที่ 30 กันยายน 2563 ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำฝนในเขต สชป.6 เมื่อวานมีฝนตกในพื้นที่ ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 13.0 มม./ต.วังสวาบ อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น 50.5 มม./ต.เกิ้ง อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม 3.4 มม./ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 11.8 มม./ต.เกษตรวิสัย อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด 1.2 มม.
2. สภาพน้ำท่า แม่น้ำชีตอนบน E.23 จ.ชัยภูมิ น้ำปกติ Q 175.20 cms. ระดับลดลง -0.10 ม. /แม่น้ำชีตอนกลาง E.91 จ.มหาสารคาม น้ำปกติ Q 207.82 cms. ระดับเพิ่มขึ้น +0.15 ม. /แม่น้ำชีตอนล่าง E.18 จ.ร้อยเอ็ด น้ำปกติ Q 257.12 cms. ระดับเพิ่มขึ้น +0.26 ม.
3. สภาพน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ 3 แห่ง
3.1 เขื่อนอุบลรัตน์ ปริมาณน้ำ 667.94 ล้าน ลบ.ม./27.47% น้ำใช้การ 86.27 ล้าน ลบ.ม./4.66% น้ำไหลเข้า 19.49 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 0.30 ล้าน ลบ.ม.
3.2 เขื่อนลำปาว ปริมาณน้ำ 810.84 ล้าน ลบ.ม./40.95% น้ำใช้การ 710.84 ล้าน ลบ.ม./35.90% น้ำไหลเข้า 5.33 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 1.16 ล้าน ลบ.ม.
3.3 เขื่อนจุฬาภรณ์ ปริมาณน้ำ 120.64 ล้าน ลบ.ม./73.67% น้ำใช้การ 83.43 ล้าน ลบ.ม./65.93% น้ำไหลเข้า 3.22 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 0.00 ล้าน ลบ.ม.
4. สภาพน้ำอ่างฯขนาดกลาง 69 แห่ง ความจุรวม 440.35 ล้าน ลบ.ม. ความจุวันนี้ 253.51 ล้าน ลบ.ม./57.57% น้ำใช้การ 212.72 ล้าน ลบ.ม./53.66% มีความจุน้อยกว่า 30% จำนวน 18 แห่ง (จ.ชัยภูมิ 3 แห่ง จ.กาฬสินธุ์ 3 แห่ง จ.ขอนแก่น 3 แห่ง จ.มหาสารคาม 2 แห่ง จ.ร้อยเอ็ด 7 แห่ง) เขื่อนขนาดกลางมีความมั่นคงแข็งแรง
5. สถานการณ์เขื่อนในแม่น้ำชี 6 เขื่อน
5.1 เขื่อนชนบท เหนือเขื่อน +162.62 ม.รทก. สูงกว่า รนก. 0.62 ม. (รนก. +162.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 16.00 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 17.15 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 107.18% Q 151.85 cms. แนวโน้มระดับน้ำทรงตัว สถานการณ์ ปกติ
5.2 เขื่อนมหาสารคาม เหนือเขื่อน +146.95 ม.รทก. สูงกว่า รนก. 0.15 ม. (รนก. +146.80 ม.รทก.) ความจุ รนก. 24.00 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 24.75 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103.13% Q 143.68 cms. แนวโน้มระดับน้ำลดลง สถานการณ์ ปกติ
5.3 เขื่อนวังยาง เหนือเขื่อน +137.24 ม.รทก. สูงกว่า รนก. 0.24 ม. (รนก. +137.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 33.59 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 36.14 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 107.59% Q 204.22 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ
5.4 เขื่อนร้อยเอ็ด เหนือเขื่อน +130.80 ม.รทก. สูงกว่า รนก. 0.80 ม. (รนก. +130.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 16.00 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 20.80 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 130.00% Q 92.32 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ
5.5 เขื่อนยโสธร เหนือเขื่อน +125.06 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 0.94 ม. (รนก. +126.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 18.89 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 16.98 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 89.89% Q 421.08 cms. แนวโน้มระดับน้ำลดลง สถานการณ์ ปกติ
5.6 เขื่อนธาตุน้อย เหนือเขื่อน +115.82 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 0.18 ม. (รนก. +116.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 56.10 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 53.61 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 95.56% Q 531.53 cms. แนวโน้มระดับน้ำลดลง สถานการณ์ ปกติ
งานประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ สำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Related posts
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.