ขอนแก่น-รองเลขา กพฐ.ปลื้ม สพม.25 ตอบโจทย์ความต้องการพัฒนาครู ใช้ขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ

หอประชุมโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน อ.เมือง จ.ขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ได้จัดให้มีการอบรมพัฒนาข้าราชการครูตามหลักสูตรการพัฒนาครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ให้แก่ข้าราชการครูที่มีความสนใจ จำนวน 167 คน ใน 3 หลักสูตร จาก 26 หลักสูตร ที่ สพฐ.รับรอง เพื่อให้ครูมีโอกาสได้รับการพัฒนาและสามารถนำจำนวนชั่วโมงในการพัฒนาไปใช้ในการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตาม ว.21 ของสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ โดยพิธีเปิดการอบรมพัฒนาได้รับเกียรติจาก ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดการอบรมในครั้งนี้

นายอดิศักดิ์ มุ่งชู ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กล่าวว่า ตามที่ ก.ค.ศ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ตาม ว.21 ลงวันที่ 5 กรกฏาคม 2560 ครูต้องผ่านการพัฒนาและมีชั่วโมงในการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด ดังนั้น เพื่อให้ครูได้รับการเติมเต็มองค์ความรู้ ทักษะ กระบวนการตามหลักสูตรที่ตนมีความสนใจ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและนำไปใช้ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนั้นครูยังสามารถนำจำนวนชั่วโมงในการพัฒนาไปใช้ในการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตาม ว.21 ของ ก.ค.ศ.ได้

สำหรับหลักสูตรการพัฒนาครูสายงานการสอน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ.กำหนด นั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ร่วมกับเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการมัธยมศึกษาจังหวัดขอนแก่น สหวิทยาเขตและศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ ร่วมกันจัดทำหลักสูตรการพัฒนาครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ.กำหนด ขึ้น เพื่อเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ทำการประเมินและรับรองหลักสูตรต่าง ๆ ของสพม.25 ภายใต้นวัตกรรมเสี่ยวโมเดล (SIAO Model) จำนวนทั้งสิ้น 35 หลักสูตร ผลปรากฎว่าผ่านการประเมินและได้รับการรับรองจากจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 26 หลักสูตร จากจำนวน 74 หลักสูตรที่ สพฐ.รับรอง ซึ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาเพียงแห่งแรกและแห่งเดียว ที่มีหลักสูตรการพัฒนาครูมากที่สุดในขณะนี้

นายอดิศักดิ์ มุ่งชู ผอ.สพม.25 กล่าวต่อว่า ภายใต้กรอบแนวคิดของคณะผู้บริหารของ สพม.25 ที่ว่า “หากเราพัฒนาครูของเราให้เก่งมากเท่าใด คุณภาพการศึกษาก็จะไปสู่ผู้เรียนของเรามากขึ้นเท่านั้น” ดังนั้นวันนี้จึงถือเป็นก้าวเริ่มที่ดีอีกก้าวหนึ่งของ สพม.25 ในการที่จะส่งเสริมและพัฒนาครูของเราให้มีคุณภาพ เพื่อผู้เรียนที่มคุณภาพต่อไป ดังนั้นจึงให้มีการเริ่มต้นการพัฒนาในเบื้องต้นวันนี้ใน 3 หลักสูตร ก่อนคือ
1. หลักสูตร “การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการนิเทศ Coaching & Mentoring ” (รหัส 62124)
2.หลักสูตร “การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking Skills (HOTS)) ด้วยคำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้ (Cerrirulum Framing Question) และ QSCCS ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning” (รหัส 62137)
3.หลักสูตร “Teaching Media : การพัฒนาสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ โดยใช้ application สร้างนวัตกรรม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) (รหัส 62150)

ทางด้าน ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ. ที่วันนี้ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมพัฒนาและเยี่ยมชมหลักสูตรต่าง ๆ กล่าวว่า การพัฒนาครูเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อมีเรื่องราวหรือเนื้อหาใหม่ ๆ เข้ามาที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนให้กับลูกศิษย์ของเรา แต่เรื่องนี้มีความพิเศษเฉพาะด้าน ที่ครูจะได้รับประโยชน์โดยตรงกับครู ใน 3 ด้าน คือ
1.ครูได้เรียนรู้ ฝึกฝน ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรงจากผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และครูที่เก่ง ๆ ของ สพม.25 ที่ะมาช่วยกันเป็นวิทยากรของเรื่องต่าง ๆ ที่ครูต้องการ ซึ่งจะทำให้ครูมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น
2.ครูนอกจากจะได้รับการพัฒนาในเรื่องที่จำเป็นแล้ว ยังสามารถนำการพัฒนานี้ไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาวิชาชีพให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ เพราะสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
3.ครูได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยเลือกสมัครเข้ารับการพัฒนาได้ตามความความสนใจ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกาแรเรียนการสอนได้ พร้อมนี้ขอชื่นชมการดำเนินการพัฒนาครูของ สพม.25 ในครั้งนี้ด้วย

ประภาส วินิจสิริ / ภาพข่าว

การศึกษา

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.