ขอนแก่น(ชมคลิป)ตลาดนัด ปัญหาขยะเทศบาลต้องแบกภาระของเทศบาลตำบลวังชัย#wastesidestory #wastetoenergy #พลังงานไฟฟ้าจากขยะ

นายชาติ มณีสา ปลัดเทศบาลตำบลวังชัย รักษาราชการแทนนายกเทศบาลตำบลวังชัย

ขยะที่ทิ้งตามตลาดนัดหลังจากที่สิ้นสุดการซื้อขายทิ้งภาระให้กับเทศบาลตำบลวังชัย เดิมทีกำจัดขยะภายในชุมชนยังหาที่ฝังกลบไม่เพียงพอ ชุมชนรอบนอกยังนำขยะมาให้แบกรับ


จากการที่ได้ร่วมโครงการ Waste Side Story ครั้งที่ 3 จ.นครราชสีมา ทำให้ทราบว่าปัญหาเรื่องการจัดการขยะของแต่ละชุมชน แต่ละท้องถิ่นประสบปัญหาแตกต่างกันออกไป มีทั้งบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และประสบปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการด้วย ปัจจัยที่ประสบปัญหาแตกต่างกันออกไปก็มีหลายรูปแบบ อย่างที่เทศบาลตำบลวังชัย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ประสบปัญหาหลายอย่าง ทั้งสถานที่กำจัดขยะที่ถูกหน่วยงานท้องถิ่นด้วยกันให้ย้ายออก และปัญหาของการจัดตลาดนัดแล้วทิ้งขยะให้รับผิดชอบ


นายชาติ มณีสา ปลัดเทศบาลตำบลวังชัย รักษาราชการแทนนายกเทศบาลตำบลวังชัย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า เทศบาลตำบลวังชัย บริหารจัดการขยะภายจำนวน 7 ตันต่อวัน นอกจากนั้นยังมีขยะที่มาจากชุมชนรอบนอกนำมาทิ้งตามถังขยะอีกไม่น้อยกว่า 1 ตัน ซึ่งปัญหาขยะในชุมชนของเทศบาลฯ ประสบปัญหาหลายอย่าง ปัญหาแรกคือ ปัญหาของเรื่องของการคัดแยกขยะยังไม่มีการคัดแยก ว่าอะไรคือขยะเป็นพิษ ขยะเปียก ขยะแห้ง ยังไม่มีการคัดแยกอย่างชัดเจน แต่เรายังได้มีมาตรการในการสร้างความเข้าใจ สร้างจิตสำนึก ส่วนหนึ่งก็คือขยะเป็นพิษทางเทศบาลก็ได้รับบริการส่งไปกำจัดกับ อบจ.ขอนแก่น ซึ่งได้ทำ MOU ไว้ด้วยกัน เพราะมีสถานที่กำจัด


ในส่วนของเรื่องขยะรีไซเคิล เราได้ทำกองทุนโดยให้เอกชนมาซื้อขยะที่ทำการคัดแยกชุมชน เมื่อได้เงินมาก็จะเป็นของการฌาปณกิจภายในชุมชน
ปัญหาต่อมาก็คือสถานที่ทิ้งขยะเพราะใช้มาเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี มีพื้นที่แค่ 11 ไร่ เป็นพื้นที่ของ อบต.หนองกุง โดยการฝังกลบขยะยังเป็นแบบธรรมดาโดยเราพยายามที่จะให้มีกลิ่นน้อยที่สุด และไม่ให้มีขยะตกค้างโดยการฝังกลบอยู่เรื่อย ๆ มีการฉีด อีเอ็ม สารเคมีเพื่อไม่ให้มีแมลงวัน
ปัญหาขยะจากภายนอก เกิดจากการผลักภาระขององค์กรส่วนท้องถิ่นอื่น หรือประชาชนหมู่บ้านอื่นที่เดินทางเข้ามายังตลาดเทศบาลตำบลวังชัย ในการมาจับจ่ายซื้อของ แต่ทางเราไม่ได้โทษหน่วยงานใด เพราะบางครั้งพวกเขาเหล่านั้นได้หิ้วถุงขยะเข้ามาในเขตเทศบาล เพื่อมาทิ้งลงในถังขยะเทศบาลด้วย ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาหลักเช่นกัน เพราะแต่ละวันมีจำนวนมากหลาย ๆ ตันเช่นกัน


ในส่วนของเรื่องตลาดนัดนั้นก็เป็นบ่อเกิดแห่งขยะเช่นกัน เพราะในเขตเทศบาลตำบลวังชัย มีอยู่ 2 ตลาดนัด ในแต่ละเดือน คือทุกวันพุธ และวันที่ 7 ของทุกเดือน ทางเราก็ได้เชิญเจ้าของตลาดมาพูดคุยในเรื่องของการจัดเก็บขยะให้รวบรวมเป็นที่เป็นทางซึ่งทางเทศบาลจะเข้ามาเก็บต่อ จริง ๆ ในเขตเทศบาลทางเราก็ไม่อยากให้มีตลาดนัดส่งผลต่อตลาดสด และตลาดที่เขาค้าขายประจำอยู่ โดยทางเทศบาลให้ความสำคัญ ซึ่งจะให้มีตลาดนัดให้น้อยที่สุด
ปลัดเทศบาลตำบลวังชัยกล่าวอีกว่า ในอนาคตข้างหน้าทางเทศบาลฯ โดยในตอนนี้ทางเราพยายามสร้างจิตสำนึกในการบริหารจัดการขยะในชุมชน ในอนาคตทางเราได้มีการวางแผนไว้ว่า จะให้ชุมชนปลอดขยะ จะให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะด้วยตัวเองให้ได้ อย่างเช่นขยะเปียกสามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก ทำจุลินทรีย์ได้ ส่วนขยะเป็นพิษเราก็ยังรับที่จะไปกำจัดให้ และขยะที่แยกออกมาที่นำไปรีไซเคิลทางเราก็รับซื้อ ชุมชนปลอดถังขยะเราพยายามจะทำให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราจะสร้างจิตสำนึกภายในชุมชน โดยการให้ชุมชนแยกขยะไว้ให้เรา ทางเราก็จะไปเก็บเป็นเวลา ซึ่งได้จัดทำถุงขยะที่เป็นเฉพาะของเทศบาล ซึ่งจะเริ่มจากชุมชนเล็ก ๆ และขยายออกไปเรื่อย ๆ


เมื่อทราบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นภายในชุมชนท้องถิ่น การแสวงหาสถานที่ในการกำจัดขยะของเทศบาลตำบลวังชัย ได้มีการวางแผนระยะยางไม่เกิน 2 ปี ร่วมกับเทศบาลใกล้เคียง คือเทศบาลเมืองกระนวน จ.ขอนแก่นเพื่อสร้างจุดขนถ่ายขยะส่งต่อไปยังโรงไฟฟ้าขยะ ซึ่งจะเริ่มผุดโครงการในอีกไม่ช้า แต่ในระยะสั้น ๆ ประชาชนภายในชุมชน และนอกชุมชน ต้องมีจิตสำนึกที่ดีในการรับผิดชอบ แยกขยะด้วยมือของท่านก่อนที่จะสร้างภาระให้กับคนอื่นและสังคม
ภายใต้ความห่วงใยจาก โครงการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่นต่อพลังงานไฟฟ้าจากขยะ (Waste Side Story)” ครั้งที่ 3 ดำเนินการโดยศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center – ENC) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อกิจการตามมาตรา 97 (5) ปีงบประมาณ 2562 ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)

ยศวิน รัตนโชติกุลชัย ข่าวอีสานเดลี่ออนไลน์ รายงาน
#wastesidestory
#wastetoenergy
#พลังงานไฟฟ้าจากขยะ