เลย(ชมคลิป)เฉพาะกิจทหารพราน21,22 วางแผนรับมือภัยแล้งภายในหน่วยด้วยการทำธนาคารน้ำใต้ดิน

เมื่อ 20 ก.ค. 63 เวลา 1330 บก.ควบคุมที่ 3 นำโดย พ.อ.พิทักษ์พล ชูศรี ผบ.กรม ทพ.22/ฉก.ทพ.21 ได้นำกำลังพล. บก.กรม กองร้อยขึ้นตรง และ บก.กรม ทพ.22 ดำเนินการทำธนาคารน้ำใต้ดิน แก้ภัยแล้ง ป้องกันปัญหาน้ำท่วม ด้วยการฝากน้ำไว้กับดิน เพื่อนำไปขยายผลต่อชุมชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ตามนโยบาย ผู้บังคับบัญชาโดยได้จัดทำในพื้นที่ บก.กรม ทพ.22 ค่ายศรีสองรัก อ.เมือง จ.เลย, กรม ทพ.22 (ส่วนหลังค่ายสุรนารี) จ.นครราชสีมา, ร้อย.ทพ.2107​ บ.โพธิ์ไทร ม.1 ต.โพธิ์ไทร​ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร, ร้อย.ทพ.2106 บ.ภูสวาท ต.หนองเดิ่น อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ, ร้อย.ทพ.2204 บ.หนองบัว ม.2 ต.นากั้ง อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ, ร้อย.ทพ.2214 บ.ปากห้วย ต.หนองผือ อ.ท่าลี่ จ.เลย, ร้อยท.พ.2216 บ.นาแห้ว ต.นาแห้ว อ.นาแห้ว จ.เลย, ร้อย.ทพ.2213 ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย,

ผู้การพีท เผยถึงวิธีการทำธนาคารน้ำใต้ดินว่า อุปกรณ์ประกอบด้วย
1.เศษหินหรืออิฐ คละขนาด 2.หินย่อยขนาดเล็ก 3.ขวดพลาสติกและขวดแก้วชนิดต่าง ๆ ที่ใช้แล้ว 4.ท่อ PVC. ขนาด 2 นิ้ว 5.ท่อ PVC.สามทาง 6.ตาข่ายเขียวหรือมุ้ง 7.ยางรถยนต์เก่า 2 – 3 เส้น


วิธีทำ 1.หาจุดรวมน้ำ หรือ ทางน้ำไหลผ่าน 2.ขุดหลุมกว้างขนาด 1.50 เมตร ลึก 1.50 เมตร 3.เมื่อขุดหลุมได้ขนาดแล้วเอาหินรองก้นหลุม แล้วเอายางรถยนต์วางข้นหลุม 4.เอาท่อ PVC. ที่เตรียมไว้ใส่ตรงกลางหลุมเป็นท่อระบายอากาศพร้อมเอาท่อ PVC.สามทางปิดข้างบนปลายท่อ 5.เอาขวดน้ำพลาสติ และขวดแก้วลงใส่หลุมจนเกือบเต็มหลุม 6.เอาเศษหินหรือเศษิฐที่เตรียมไว้ใส่ลงไปให่เต็มหลุม 7.จากนั้นเอาผ้าดางเขียวหรือมุ้งที่เตรียมไว้รองบนหินเพื่อเป็นตัวกรองเศษไม้หรือดินที่จะลงไปในบ่อน้ำที่ขุด 8.แล้วเอาหินย่อยขนาดเล็กกลบปากบ่อให้พอดี และแต่งปากบ่อให้เรียบเป็นอันเสร็จ

ประโยชน์การทำ ธนาคารใต้น้ำใช้เป็นที่รองรับน้ำฝนไว้ใต้ดินเมื่อมีฝนตกไม่ให้น้ำไหลไปโดยปล่าประโยชน์ จึงขุดหลุมไว้ให้น้ำลงไปขังในหลุมที่ขุดไว้น้ำก็จะค่อย ๆ ซึมไปในดินและช่วยให้ดินชุ่มชื่นไม่แห้งแล้ง เมื่อฤดูแล้งมาถึงก็สามารถเติมน้ำลงไปได้อีก