ขอนแก่น-พ่อเมืองหมอแคนสั่งการให้เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก หลังจากได้เกิดน้าป่าไหลเข้าพื้นที่ทางการเกษตร ที่อำเภอภูผาม่านได้รับความเสียหาย

วันที่ 17 กรกฎาคม 2563 เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังสวาบ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ได้นำรถแบ็คโฮมาตัวเอาต้นไผ่บริเวณลำห้วยสังฆยวน บ้านวังสวาบ หลังถูกน้ำป่าพัดมาติดบริเวณคอสะพาน เพื่อจะได้จะน้ำได้ไหลระบายมาขึ้น หลังจากฝนที่ตกหนักส่งผลให้เกิดน้ำป่า ได้ไหลหลากล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่บ้านวังสวาบและบ้านวังใหม่


นายนิกร ชาวลำปาว ผู้ใหญ่บ้านวังสวาบ เล่าว่า เมื่อกลางดึกของวันที่ 15 ก.ค. 63 ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกหนักในช่วงกลางคืนโดยได้ตกนานหลายชั่วโมง จากนั้นในช่วงเช้าตรู่ได้มีน้ำป่าจากภูเขา ได้ไหลลงมาตามลห้วยสังฆยวน จนล้นตลิ่งชาวบ้านต้องนำสิ่งของขึ้นไว้บนที่สูง หลังจากนั้นเมื่อเข้าสำรวจความเสียหายพบว่า น้ำป่าได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ 50 ไร่ มีชาวบ้านมาแจ้งความเสียหายแล้ว 10 ราย พื้นที่ทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ไร่มะเขือ ถูกน้ำป่าพัดเสียหายทั้งหมด ซึ่งจะได้แจ้งไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลวังสวาบ เพื่อเร่งช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว นอกจากนี้ทางชาวบ้านได้มีการเตรียมรับมือน้ำป่าที่จะเกิดครั้งต่อไป เพราะน้ำป่าที่เกิดล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อปี 2544 หรือเมื่อ 19 ปีที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้นมีบ้านเรือนได้รับความเสียหายด้วย ซึ่งบ้านวังสวาบเป็นพื้นที่เสี่ยงการเกิดน้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม เพราะเป็นพื้นที่ติดภูเขามีลำห้วยไหลผ่าน ในทุกปีจะมีการซ้อมแผนเสี่ยงภัยน้ำป่าและดินโคลนถล่ม เพื่อให้ประชาชนไพด้รู้จักรับมือหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง นอกจากนี้ยังมีเครื่องมิสเตอร์เตือนภัยติดตั้ง หากเกิดฝนตกหนักเกิน 100 มิลลิเมตร เครื่องจะแจ้งเตือนชาวบ้าน เพื่อจะได้รับมือกับน้ำป่า

ด้านนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้สั่งการให้นายอำเภอภูผาม่าน ได้เร่งสำรวจความเสียหาย พร้อมกับแผนรับมือน้ำป่าไหลหลาก เพราะเนื่องจากช่วงนี้ได้รับการแจ้งเตือนจาก ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนว่า จังหวัดขอนแก่นจะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอภูผาม่าน เพราะเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาสูง แต่อย่างไรก็ดีฝนที่ลงมา ส่งผลให้น้ำในลำน้ำเซิญในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดขอนแก่น ขณะนี้มีปริมาณประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของลำน้ำ ซึ่งจะส่งผลดีต่อพื้นที่ทางการเกษตรตามลุ่มน้ำ และแก้มลิงในอำเภอชุมแพ เพราะจะได้มีน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้กว่า 4 แสนลูกบาศก์เมตร และเมื่อน้ำในลำน้ำเซิญมีปริมาณ 90 เปอร์เซ็นต์จะมีการระบายลงสู่ลำน้ำ ก่อนที่น้ำจะไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งขณะนี้เขื่อนอุบลรัตน์มีปริมาณน้ำน้อย จนต้องใช้น้ำก้นอ่างมาหล่อเลี้ยงลำน้ำ และแจกจ่ายเข้าระบบการผลิตประปาในพื้นที่เมืองขอนแก่น