อำเภอหนองหินจัดงานบุญประพเณีแห่ต้นกระธูปบูชาพระพุทธเจ้า
ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 19.00 น.วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ที่บริเวณตลาดต้นสัก ริมถนนสายเลย-ขอนแก่น อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานเปิด งานประเพณีแห่ต้นกระรูป โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย มีหัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักท่องเที่ยว และผู้มีเกียรติ ร่วมงาน
นายชาติชาย ฤคำหาร นายอำเภอหนองหินกล่าวรายานว่า อำเภอหนองหิน เป็นอำเภอเล็กๆ มากด้วยเสน่ห์และธรรมชาติสวยแปลกตา ทั้งภูเขาหิน จุดชมวิวทะเลหมอก น้ำตก และวัดมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ คุนหมิงเมืองเลย ฟูจิเมืองไทย ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในช่วงฤดูหนาว ที่รองรับคนทุกเพศทุกวัย และสะดวกในการเดินทางมาเยี่ยมชม และยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นคืองานประเพณีแห่ต้นกระรูป ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีในช่วนช่วงออกพรรษาจัดเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดให้มักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมจังหวัดเลย ทำให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
นางสาวณัณธิญาจ์ มังคละคีรี ผอ.วัฒนธรรมจังหวัดเลยเปิดเผยว่า ประเพณีแห่ต้นกระธูป เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอหนองหินจังหวัดเลย จัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยมีความสอดคล้องกับความเป็นมาของประเพณีฮีตสิบสอง ซึ่งถือเอาช่วงก่อนวันออกพรรษา 3 วัน คือ ขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ก่อนเทศกาลจะเริ่มผู้นำชุมชนร่วมกับชาวบ้านจะมีการจัดทำต้นกระธูปเพื่อจุดถวายพุทธบูชา ที่มีการออกแบบลวดลายที่สื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชาวบ้าน พร้อมตกแต่งและประดับไฟให้มีความสวยงาม ซึ่งมาจากความเชื่อว่าต้นกระธูปเป็นสัญลักษณ์แทนต้นหว้า ต้นไม้ประจำชมพูทวีป ต้นกระธูปนี้จุดแล้วย่อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปยังทิศต่างๆ ก่อให้เกิดความสุขและเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวาระที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาชาวบ้านอำเภอหนองหิน ได้เล็งเห็นความสำคัญและมีแนวคิดจัดงานประเพณีบุญแห่ต้นกระธูปโดยนำแนวความคิดและความร่วมมือของชาวบ้านในหมู่บ้านมาจัดเป็นงานประเพณี เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและการอนุรักษ์วัฒนธรรมเป็นประเพณีประจำท้องถิ่น
ขั้นตอนการทำต้นกระธูปเริ่มจากเอาขุยมะพร้าวมาผสมกับฝุ่นผงหอมของใบอ้ม ใบเนียม แล้วห่อด้วยกระดาษเข้ารูปยาวเหมือนธูป นำกระดาษสีมาตัดแปะเป็นลวดลายให้สวยงาม ส่วนใหญ่นิยมแบบลายไทยเช่นเดียวกับลายมัดหมี่แล้วนำธูปที่ได้มาติดกับดาวที่ทำจากใบลาน มามัดติดกับคันไม้ไผ่ที่มีลักษณะคล้ายคันเบ็ด แล้วเอาไปเสียบไว้กับแกนไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ความสูงประมาณ 3 – 5 เมตร หรือมากกว่านั้น ขึ้นทรงคล้ายฉัตร พร้อมกับเอาลูกดุมกา ลักษณะคล้ายส้ม แต่มีเปลือกแข็งมาผ่าเป็นสองซีก ใส่น้ำมันพืชลงไปแล้วขวั้นด้ายเป็นรูปตีนกาเพื่อจุดไฟให้แสงสว่างใต้ต้นกระธูป แต่ในระยะหลังเริ่มมีการนำธูปสำเร็จรูปมาใช้แทนเพื่อความสะดวกรวดเร็วในสมัยก่อนการทำกระธูปจะใช้วัสดุภายในท้องถิ่น ประกอบด้วยใบอ้ม ใบเนียม โดยนำใบไม้ทั้งสองชนิดมานึ่งแล้วนำไปตากแดด จากนั้นนำมาบดจะได้ฝุ่นไม้ที่มีกลิ่นหอม แล้วนำมาผสมกับขุยมะพร้าวห่อด้วยกระดาษให้ได้รูปทรงยาวเหมือนธูป นำกระดาษที่มีสีสันมาพันออกแบบให้เป็นลวดลายที่สวยงามนำไปมัดติดกับดาวที่ทำจากใบลานแล้วนำมาติดมัดกับไม้ไผ่คล้ายคันเบ็ด และนำมาเสียบไว้กับแกนไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ให้ได้รูปทรงคล้ายฉัตรก่อนที่จะนำไปจุดไฟบูชาในวันออกพรรษา ต่อมาก็มีการพัฒนาโดยใช้ธูปที่มีขายตามท้องตลาดมาห่อด้วยกระดาษและตกแต่งสีส้นให้สวยงามตามจินตนาการซึ่งส่วนใหญ่มักใช้ลวดลายพื้นบ้านและเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และออกแบบให้ต้นกระธูปมีขนาดสูงใหญ่รูปร่างแปลกตามยุคสมัย ซึ่งเป็นไฮไลท์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชม
ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ / จ.เลย