หนองคาย (ชมคลิป) พ่อเมืองขัวญใจชาวบ้าน ร่วม สืบสานวัฒนธรรม อนุรักษ์วิถีชาวนาไทย “รักษาลอมข้าว เฝ้ากองไฟ หาบข้าวใหญ่ ตีข้าวขึ้นเล้า” หรือกู้ข้าว

จังหวัดหนองคาย พ่อเมืองขัวญใจชาวบ้าน ร่วม สืบสานวัฒนธรรม อนุรักษ์วิถีชาวนาไทย
“รักษาลอมข้าว เฝ้ากองไฟ หาบข้าวใหญ่ ตีข้าวขึ้นเล้า” หรือกู้ข้าว


เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ที่ บริเวณแปลงนาข้าวของนายพีรศักดิ์ ชัยชาติ บ้านกุดลึก หมู่ที่ 4 ต.พระบาทนาสิงห์ อ.รัตนวาปี นายวุฒิชัย ภูวนารถ นายอำเภอรัตนวาปี พร้อมด้วย นายวิทยา เดชประเสริฐ ปลัดอำเภอประจำ ต.พระบาทนาสิงห์ ,นายอุทัย นัติพันธ์ ประธานสภา อบต.พระบาทนาสิงห์ ,นายกฤติเดช ประวะศรี รองประธานสภา อบต.พระบาทนาสิงห์ ,นายนายน้อย ศรีอ่อนหล้า ส.อบต.บ้านโนนประเสริฐ ,นายไพรสันติ โจทจันทร์ ส.อบต.บ้านพรสวรรค์ ,นายประยุทธ ทัพเอี่ยม ส.อบต. บ้านหงษ์สาวดี เข้าร่วมกิจกรรม “รักษาลอมข้าว เฝ้ากองไฟ หาบข้าวใหญ่ ตีข้าวขึ้นเล้า” หรือกู้ข้าว โดยมีนายวิชานนท์ ฝ้ายขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนเตชะไพบูลย์ 1 ,นายวุฒิชัย แผงเมืองราช ผญบ.กุดลึก และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน ร่วมกิจกรรม ซึ่งแปลงนาข้าวของนาย พีรศักดิ์ฯ ปลูกข้าว บนเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ ปลูกข้าวเหนียวหนองคาย หรือข้าว กข. 12 นายพีรศักดิ์ ชัยชาติ เจ้าของแปลงนา


การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อ “รักษาลอมข้าว เฝ้ากองไฟ หาบข้าวใหญ่ ตีข้าวขึ้นเล้า” หรือกู้ข้าว สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ทางอำเภอรัตนวาปี ได้จัดกิจกรรม “ห่อกระติ๊บข้าวเหนียว เกี่ยวข้าว” เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวของชาวนาภาคอีสานให้คงอยู่ สร้างความรักสามัคคีในชุมชน และเป็นการลดต้นทุนเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้เข้าใจถึงวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร นายวิชานนท์ ฝ้ายขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนเตชะไพบูลย์1 จึงได้จัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง และชุมชน ได้เรียนรู้และเข้าใจในการทำเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึมซับวิถีการทำนาข้าวของเกษตรกรโดยได้เชิญพ่อเมืองรัตนวาปี และผู้นำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

โดยเมื่อเช้า (5 พ.ย.67) ผอ.ร.ร.และคณะครู ผู้นำชุมชน ได้นำนักเรียนในสังกัดร่วมกิจกรรม ปู/ทำลานข้าวด้วยตาข่าย ,หาบข้าวขึ้นลานด้วยคันหลาว ,ก่อลอมข้าว ในช่วงเย็น เวลา 17.00 น. นายอำเภอรัตนวาปี พร้อมผู้นำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมหาบข้าวขึ้นลานด้วยคันหลาว(กู้ข้าว) ,ก่อลอมข้าว ,ตีข้าวหรือฟาดข้าว , จากนั้นรับประทานหารร่วมกันแบบบ้านๆวิถีดั้งเดิม สร้างความสนุกสนาน และได้เห็นความร่วมไม้ร่วมมือความสามัคคีเกิดขึ้นในท้องถิ่น เห็นบรรยากาศดั้งเดิมของวิถีชีวิตชาวนาในพื้นที่ ที่นับวันจะเลือนรางไปจากท้องถิ่น

ฤาษีลภ-โภควินทร์ ผู้สื่อข่าว หนองคาย