หนองบัวลำภู – นายกสมาคมศิษย์เก่าเภสัชศาสตร์ มข.สะท้อนปัญหาการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์

นายกสมาคมศิษย์เก่าเภสัชศาสตร์ มข.สะท้อนปัญหาการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์จนเป็นเหตุให้ ศิษย์น้อง มข.เครียดฆ่าตัวตาย และ ฝากเรื่องถึงยาผู้ป่วยจิตเวชออกนอกบัญชียาหลักสู่หลักประกันจะทำให้เข้าถึงได้ง่ายและฝากพี่น้องเพื่อนร่วมงานดูแลกัน พร้อมอยากให้มีคลินิกรักษาบุคลากรทางการแพทย์ ให้ กระทรวง รัฐเร่งดำเนินการ

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภก.สุภนัย ประเสริฐสุข นายกสมาคมศิษย์เก่าเภสัชศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และประธานชมรมเภสัชชนบท ได้ให้สัมภาษณ์ ถึง กรณีที่มี เพจเฟซบุ๊กใต้เตียง มข.แชร์ข่าวเภสัชกรหนุ่ม ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอดีตพี่เลี้ยงน้องใหม่ ได้ฆ่าตัวเองเสียชีวิต โดยอ้างว่า ผู้เสียชีวิตต้องกับความกดดันในการทำงานและหัวหน้างาน รวมทั้งถูกกดดันให้ลาออก สร้างความเสียใจต่อครอบครัว เพื่อน รวมทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง เพราะหลายคนมองว่าเขาเป็นคนมีจิตใจดี สดใส และเป็นที่รักของเพื่อน ๆ
โดย กล่าวว่า สำหรับเรื่องความกดดันนี้ ของเภสัชกรหรือทางด้านสาธารณสุขมีมากอยู่แล้วโดยการประกอบวิชาชีพ เพราะว่าการประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข ต้องแบกรับความคาดหวังของผู้ป่วย เพราะว่ามันมีคำว่า เป็น กับ ตาย ส่วนความคาดหวังของเภสัชกรก็ไม่ได้น้อยไปกว่ากัน เพราะว่า บทบาทของเภสัชกรก็ไม่ได้มีหน้าที่เพียงจ่ายยาอย่างเดียว ยังไปดูแลผู้ป่วยบนบอร์ดหรือความคาดหวังของป่วยมาที่รับบริการของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งในเรื่องของความกดดันไม่ว่า โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ไม่ได้มีความแตกต่างกัน ต่างได้รับแรงกดดันจากผู้ป่วยที่มีความคาดหวัง ความคาดหวังจากบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกันเอง
ความคาดหวังจากในวิชาชีพเดียวกันเองด้วย ฉะนั้นเรื่องเหล่านี้อยู่คู่กับพวกเรามานาน เนื่องจากเรื่องเหล่านี้ไม่ถูกพูดถึง หรือพูดถึงน้อย โดยทั่วไปเราจะได้ยินว่าแพทย์ พยาบาลมีปัญหา ของเภสัชกรก็เช่นเดียวกัน ผมยกตัวอย่างเช่น การจ่ายยาตัวหนึ่งถ้ามีความคลาดเคลื่อนผิดพลาด ความคาดหวังของผู้ป่วยอาจจะส่งผลต่อการเสียชีวิตเองและเภสัชกรที่ขึ้นอยู่ดูแลผู้ป่วยบนตึกร่วมกับแพทย์ พยาบาล ก็มีความคาดหวังทำให้ผู้ป่วยเป็นหรือตายก็เป็นการพิจารณาการใช้ยาร่วมกัน


นอกจากนั้น ภก.สุภนัย ยังกล่าวว่า สำหรับความคาดหวัง ตัววิชาชีพของเภสัชกรด้วยกันเองก็จะต้องดูแลกัน ต้องเยียวยากัน ต้องมีเครือข่ายของเภสัชกรไม่ว่าจะเป็นเภสัชกรอยู่ในโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนไม่มีความแตกต่างกันที่จะต้องดูแลกัน นอกจากนั้นยังกล่าวถึงในเรื่องของบุคลากรทางการแพทย์อีกว่า ถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบางในระบบที่มีไม่กระบวนการในระบบที่จะดูแล
ในนามนายกสมาคมศิษย์เก่าเภสัชรวมถึงบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพในระบบสาธารณสุขของประเทศไทยก็อยากจะ ทางรัฐบาลเอง ขอทางกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดคลินิกที่จะดูแลผู้ประกอบวิชาชีพไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เภสัช หรือวิชาชีพอื่นที่จะต้องดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพทางด้านจิตใจที่เข้มแข็งแขงแรง เช่นเดียวกัน เราจะมีสุขภาพที่แข็งแรงกลับไปดูผู้ป่วยได้ ถ้าในโรงพยาบาลมีบุคลากรทางการแพทย์ก็ควรจะมีสวัสดิการ มีการคัดกรองมีการดูแลตรงส่วนนี้ มีระบบแล้วเรายังต้องมีเครือข่ายในโรงพยาบาล เครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพ หรือต้องมีคลินิกเกิดขึ้นในโรงพยาบาล
สิ่งต่างๆเหล่านี้กระทรวงสาธารณสุขสามารถผลักดันเป็นหนึ่งในกิจกรรมของทางด้านจิตเวชได้ เพราะว่าตอนนี้ กระทรวงสาธารณสุขให้ความสนใจต่อการให้ความสำคัญทางด้านจิตเวชมากเลย จะเป็นการที่เรา ให้การรักษาผู้ป่วยแต่กับบุคลากรทางการแพทย์ของเราเองบางทีเราเหนียวอาย บางทีเรากลัวว่าจะถูกตีตราว่ามีความเจ็บป่วยทางด้านเหล่านี้
ส่วนอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องของยา ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นยานอกบัญชียาหลัก ฉะนั้นคนที่ถูกเป็นผู้ป่วยทางด้านซึมเศร้าหรือจิตเวชก็จะต้องใช้ยาทีมีราคาแพง ถ้าเราสามารถปรับยาทางด้านการรักษาโรคซึมเศร้ามาอยู่ในหลักประกันสุขภาพได้ จะทำให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาเข้าถึงยาที่จำเป็นได้มากขึ้น จึงอยากให้ยาเหล่านี้เข้าสู่หลักประกันสุขภาพ ซึ่งหากยังไม่มีก็จะทำให้ บุคลากรทางการแพทย์เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอีก แล้วเราจะยอมให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เราสร้างกันมา 4 หรือ 6 ปี เกิดขึ้นอีกหรือครับ เราเสียไปหนึ่งคนเราก็เสียใจแล้วมันไม่ได้เสียเฉพาะน้องบุคลากรทางการแพทย์ ยังส่งผลกระทบกับคนตรงช้าว ผลกระทบกับครอบครัว สิ่งต่างๆเหล่านี้เราไม่อยากให้เกิดเราสามารถป้องกันได้ จึงขอใช้โอกาสเหล่านี้เรียกร้องกลไกที่จะดูแลบุคลากรทางการแพทย์
สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็รู้สึกเสียใจ เราไม่อยากให้เกิดไม่ว่าจะเป็นน้องเภสัชเราเองหรือว่าเป็นหมอ เป็นพยาบาล มันไม่ควรเกิดขึ้น จึงอยากจะเรียกร้องเร่งผลักดันข้อเสนอต่างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น สามารถทำได้เลย นอกจากนั้น สำหรับเรื่องแบบนี้ อยากให้ครอบครัว คนที่รัก เพื่อน ช่วยกันดูแล ช่วยกันเรียนรู้ว่าเขาเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร ก็น่าจะช่วยบรรเทาความรุนแรงได้บ้าง ทุกวันนี้เราก็เจอสภาวะกดดันการทำงานอยู่แล้ว เราจะผ่านมันไปได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมครอบครัวเรา เพื่อนร่วมงานเพื่อนร่วมงานที่อยู่กับเรา 8 ชั่วโมง พี่ดูแลน้อง น้องดูแลพี่ช่วยเหลือกันผมว่ามันก็ผ่านไปได้ .
สุภัชรกานต์ แก้วสิงห์ 0859190325 หนองบัวลำภู