พบไก่หางยาวสุดในประเทศไทย สายพันธุ์หางยาวโบราณญี่ปุ่น หางยิ่งยาวยิ่งราคาสูง ชาวขอนแก่นเพาะพันธุ์ขายส่งออกสร้างรายได้งาม
วันที่ 7 ต.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปพบกับนายเฉลิมชัย มณีบุญ อายุ 41 ปี ที่บ้านเลขที่ 122 ม.9 บ้านหนองกุงโนนทัน ต.ดอนดั่ง อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น ผู้เลี้ยงไก่หางยาวโบราณญี่ปุ่น ซึ่งพบว่า สนามหญ้า ด้านข้างบ้านพัก อาศัยนั้น ผู้เลี้ยงได้นำสุ่ม ครอบไก่ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย ที่เป็นไก่รุ่นเล็ก ขนยังไม่ยาวเอาไว้อีกประมาณ 50 ตัว ส่วนไก่ที่มีหางยาว และมีขนระย้า ผู้เลี้ยงจะนำไปวางไว้บนคอนที่บริเวณหน้าบ้าน เพื่อปล่อยให้หางยาวเป็นธรรมชาติและหางไม่พันกัน
โดยเฉพาะเจ้าไก่เพศผู้ที่ชื่อว่า ณเดช อายุ 3 ปี 8 เดือนที่มีหางยาววัดได้ 3 เมตร 40 เซ็นติเมตร เกาะอยู่บนคอนแบบสบายๆ ไม่ตื่นตกใจกับคนแปลกหน้า ส่วนขนระย้าก็ยาวเมตรกว่า อีกตัวชื่อเจ้าทองคำ เพศผู้เช่นกัน มีหางยาวเกือบ 2 เมตร ทั้งคู่เกราะอยู่บนคอน ส่งเสียงขันเป็นระยะๆ
นายเฉลิมชัย กล่าวว่า อดีต เคยเป็นทำงานอยู่ต่างประเทศ เมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน สร้างบ้านและแต่งงานอยู่กินกับภรรยา ยังไม่มีงานทำ คิดอยากเลี้ยงสัตว์สวยงามที่ไม่ต้องมีความยุ่งยากมาก และบังเอิญว่าได้รู้จักกับชาวญี่ปุ่น ที่มาทำงานในประเทศไทย จึงพูดคุยกันในเรื่องความสนใจเลี้ยงไก่หางยาวโบราณญี่ปุ่น จึงบอกเพื่อนว่า ถ้ากลับไปประเทศญี่ปุ่น หิ้วไข่ไก่หางยาวโบราณญี่ปุ่นมาให้ด้วย เมื่อเพื่อนกลับมาที่ประเทศไทย เพื่อนจึงนำไข่ไก่หางยาวโบราณญี่ปุ่นมาให้ 12 ฟอง เป็นเงิน 30,000 บาท ตนเป็นคนออกค่าใช้จ่ายให้เพื่อนทั้งหมด นำมาฟักที่บ้าน ได้ลูกไก่ทั้งหมด 7 ตัว เป็นตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 5 ตัว จากนั้นก็ซื้อหัวอาหารไก่ ชนิดเม็ดมาเลี้ยง จนมีไก่หางยาวเพิ่มขึ้นมาหลายตัว
จากนั้นก็นำภาพไก่หางยาวโพสลงในเฟสบุ๊คส่วนตัว ซึ่งก็มีคนมาคอมเม้นต่างๆนานา โดยเฉพาะจะถูกกล่าวหาว่า นำไก่บ้านมาต่อหาง และบางคนก็เตือนว่า อวดอ้างเกินความจริง ระวังมีความผิดทางกฏหมาย ลักษณะวิจารณ์ว่าหลอกลวง แต่ไม่เคยตอบโต้ ก็ยังตั้งหน้าตั้งตาเลี้ยงมาตลอด จนกระทั่งมีนักธุรกิจชาว สปป.ลาว มาติดต่อขอซื้อได้ พ่อ แม่ ลูก รวม 3 ตัวในราคา ห้าหมื่นกว่าบาท นำกลับไปเลี้ยงที่ประเทศลาว นอกจากนี้ ยังมีเพื่อนของนักธุรกิจรายดังกล่าว ติดต่อมาขอซื้อและจองไข่และลูกไก่อีก
นายเฉลิมชัย กล่าวอีกว่า ในประเทศไทยเรา ยังมีการเลี้ยงไก่หางยาวโบราณญี่ปุ่น น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เลี้ยง ไก่บ้าน ไก่ชน อาจจะเป็นเพราะทุกคนคิดว่า ยุงยาก ซึ่งในความเป็นจริงไก่หางยาวโบราณญี่ปุ่น เลี้ยงง่าย เหมือนเลี้ยงไก่บ้านทั่วไป และเมื่อขายก็มีราคาสูง ซึ่งนอกจากการให้อาหารเม็ดแล้ว ก็อาจจะต้องหา แตงโม แตงกวา รวทั้งข้าวคลุกกับน้ำแกงน้ำต้ม ที่มีปลาร้ามาให้ไก่กินบ้าง เพราะไก่จะชอบกินข้าวคลุกน้ำแกงที่มีปลาร้ามาก นอกจากนี้ยังต้องคอยดูแลขนที่ยาวออกมาประมาณปีละ 1 เมตร ถ้าไม่คอยดูแล ขนจะหลุดและไม่สวยงาม โดยส่วนตัวแล้ว ตนจะอาบน้ำให้ไก่ทุกตัว 3 เดือน 1 ครั้ง โดยเฉพาะเจ้าณเดช ที่มีขนยาวที่สุด อาบน้ำแล้ว ต้องเช็ดขนให้แห้ง ไม่เช่นนั้นขนจะพันกัน ส่วนการเลี้ยงก็จะให้ให้อาหารเช้าเย็นในปริมาณที่พอดี น้ำไก่ควรเปลี่ยนทุก 1-2 วันส่วนสุ่มที่ครอบไก่ก็เป็นลวดตาข่าย เพื่อป้องกันนก หนู และงูที่อาจจะมากินไก่ได้
ในส่วนของผู้ที่สนใจเลี้ยงไก่โอนากาโดริ สามารถติดต่อซื้อได้ที่คุณเฉลิมชัย ซึ่งจะขายลูกไก่ อายุ 1 เดือนราคา 1000-2000 บาท ไก่อายุ 5 เดือนจะขายยู่ที่ประมาณตัวละ 5,000-7,000 บาท แต่ถ้าเป็นไต่ตัวโต อายุ 1 ปี จะเห็นหางที่สวนงาม ก็จะมีราคาสูงขึ้น ประมาณหลักหมื่นถึงหลักแสน ส่วนไข่ฟองละ 1,000 บาท โดยขณะนี้ไก่ที่เลี้ยงอยู่นั้น เป็นลูกของณเดช และญาญ่า รวม 17 ตัว เป็นไก่หนุ่มเพศผู้ 5 ตัว มีหางยาวแล้ว 2 ตัว ตัวเมียพร้อมไข่ 10 ตัวและมีไข่ที่กำลังฟักอีก 10 กว่าฟอง คนที่สนใจ สามารถติดต่อซื้อไก่หางยาวโบราณญี่ปุ่นได้ที่คุณเฉลิมชัย ที่โทร 061-041-9412 โดยเจ้าตัวยืนยันว่า ได้สอบถามทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วว่า เลี้ยงได้ ไม่ผิดกฏหมาย
สำหรับสายพันธุ์ไก่โอนากาโดริ (Onagadori) เป็นไก่สายพันธุ์เก่าแก่ของญี่ปุ่น มีหางที่ยาวเป็นพิเศษ ได้รับการอบรมในศตวรรษที่สิบเจ็ดในจังหวัดโคจิ บนเกาะชิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และถูกกำหนดให้เป็นสมบัติทางธรรมชาติแห่งชาติของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2495 เป็นหนึ่งในบรรพบุรุษของสายพันธุ์เยอรมันฟีนิกซ์ ความยาวของหางยาวสูงสุด 12 เมตร หางประกอบด้วยขนประมาณ 16–18 เส้น ซึ่งภายใต้สภาวะที่เหมาะสมจะไม่ผลัดขนและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยยาวขึ้นประมาณ 0.7–1.3 เมตรต่อปี