หนองบัวลำภู ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยง สื่อมวลชน “มาแล้วบอกต่อ” ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง กับการสร้างาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้จากภูมิปัญญาของกลุ่มผู้ผลิตที่มุ่งมั่นแปรรูปผลิตผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ วันที่ 2 หวังสร้างกระแส “หนองบัวลำภู จบที่เดียวเที่ยวเรื่องผ้า” รองรับงานพืชสวนโลก ปี 69
เมื่อวันที่ 15 กย.ที่ผ่านมาผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ร่วมกับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวของทั้งในจังหวัดและกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน และไกค์จากจังหวัดภาคใต้ ร่วมกับสื่อมวลชนเป็นวันที่ 2 พร้อมกับคณะทัวร์ตามเส้นทางการท่องเที่ยว พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว สู่ Smart Tourism กิจกรรม พัฒนาและยกระดับเส้นทางการท่องเที่ยว “วิถีแพรพรรณลุ่มภู” “หนองบัวลำภู จบที่เดียว เที่ยวเรื่องผ้า” โดยวันนี้นายดอกดิน ต้อมทอง พัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู มอบหมาให้นายสุทธิรักษ์ ศรีสุเลิศ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน พร้อมบุคลากรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู ร่วมเดินทางตามโครงการ
โดย นายสุทธิรักษ์ ศรีสุเลิศ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่าการลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นไปตามเส้นทางการท่องเที่ยวที่คณะทำงานได้วางแผนไว้ก่อนหน้านี้ โดยวันนี้เริ่มจากออกเดินทางจากที่พัก ณ “ชุมชนวัดถ้ำกลองเพล” ที่พักแบบ Home Lodge ที่เจ้าของบ้านนำมาตัดแปลงให้เป็น ที่พักแรมค้างคืน และเป็นการพักแรมกับเจ้าของบ้าน ให้ความรู้สึกได้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของบ้าน ทำให้ผู้เข้าพักซึมซับกับวิถีชีวิต ก่อนเดินทางสู่การเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีไปยัง “วัดถ้ำกลองเพล”
ด้วยกิจกรรมการตักบาตรรับอรุณที่เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณด้วยการตักบาตรข้าวเหนียว พร้อมสักการะอัฐบริขารหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งหลวงปู่ขาว อนาลโย พระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ได้อาศัยวัดแห่งนี้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน โดยใช้พื้นที่ที่เกิดจากหมู่ก้อนหินขนาดใหญ่ 3-4 ก้อนมีหลืบและชะโงกหิน ก่อเป็นหลังคาคอนกรีตเชื่อมถึงกัน ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ สามารถจุคนได้หลายร้อยคน เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมจนกระทั่งมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2526
จากนั้นคณะเดินทางเข้าสู่ “กลุ่มทอผ้าวัดถ้ำกลองเพล” ชมวิถีการท่องผ้าเป็นเอกลักษณ์ของชาวชุมชนวัดถ้ำกลองเพล ที่คนในชุมชนมารวมตัวกันเพื่อสร้างอาชีพในช่วงเวลาว่างการการทำเกษตรผ้าหมี่ลายโบราณ เป็นผ้าไหมมัดหมี่ลายโบราณและลายประยุกต์ ย้อมด้วยสีจากวัตถุดิบธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นท้องถิ่นเช่น เปลือกไม้ และใบไม้ ทำให้พื้นผ้ามีสีสันสวยงามและสีไม่ตก การมัดหมี่และทอด้วยมือเป็นไปด้วยความประณีตบรรจงซึ่งนอกจากจะโดดเด่นด้วยสายโบราณ จากนั้นไปต่ออีกไปไกลกันเท่าไหร่ ณ “ได้โนปาร์ค” ม่วนจอยกับ โจ๊กหมูเค้ง ต้มเส้น เป้าหมายต่อไปคณะของพวกเรามุ่งเข้าสู่ “แหล่งการเรียนรู้ วิชชาลัยผ้าทอหนองบัวลำภู” (ศูนย์การเรียนรู้ขวัญตา) เข้าชมการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์การใช้วัตถุดิบผ้าฝ้าฝ้ายทอมือที่มีความเป็นธรรมชาติ เย็บ และประดับตกแต่งด้วยวิธีด้นมือ ขณะที่ดีไซน์ให้ร่วมสมัย ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ซ้ำกับใครและทำกิจกรรม Workshop ภายในศูนย์การเรียนรู้ขวัญตา
ต่อจากนั้นคณะของเราเดินทางไปนมัสการพระปางคู่ “วัดมหาชัย” ที่มาของชื่อวัดมหาชัยในปัจจุบันไม่ทราบแน่ชัดว่ามีที่มาอย่างไร แต่คำว่า “มหาชัย” แปลว่า การชนะที่ยิ่งใหญ่ ผู้ที่ริเริ่มตั้งชื่อนี้คงหมายถึงการเอาชนะกิเลสภายในใจตน ซึ่งเป็นการชนะที่ยิ่งใหญ่ตามแนวทางพระพุทธศาสนาแต่ก่อนที่จะมีการตั้งชื่อวัดนี้ว่าวัดมหาชัย มีชื่อปรากฎในเอกสารประวัติวัดของกรมการศาสนาว่า เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดมหาธาตุเจดีย์” เพราะที่ดินที่ตั้งวัดมีพระเจดีย์เป็นสัญญาลักษณ์ แต่ขาวบ้านในอดีตเรียกชื่อว่า “ตอนโนนธาตุ”หรือ “โนนธาตุ”
จากนั้นคณะเดินทางเข้าสู่ “ภูริษาผ้าไทยไทย” แหล่งผลิตดีไซน์ผ้าถุงขิดยกดอกชูอัตลักษณ์ผ้าทอแดนอีสานเชื่อมแฟชั่นไทยสู่สากล. ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติถักทอด้วยฝีมือชุมชนคนอีสานดีไซน์สู่ เสื้อผ้าแฟชั่นทันสมัยสวมใส่สบาย มีสไตล์ เป็นของตัวเอง อวดโฉมอยู่ในงานแสดงสินค้าระดับสากล แล้วมุ่งหน้าเข้าสู่ “วัดเจริญทรงธรรม”ที่มีพระอุโบสถ เดิมเรียกว่า สิม ซึ่งเป็นมรดกของคนในสมัยโบราณสร้างเป็น สิมไม้(โบสถ์) จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงโถงสูงมีมุขอยู่ด้านหน้า ทับหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีประตู บันไดทางขึ้นด้านหน้า หัวบันไดนั้นจะประดับด้วยปูนปั้นรูปพญานาค ส่วนหน้าบันประดับด้วยแผ่นไม้แกะสลักเป็นรูปครุฑและรังผึ้งฝั่งของผนังนั้นจะเป็นฝาไม้กระดานตามแนวนอน ผนังด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ 4 ช่อง
เดินทางมาครึ่งวันพักอิ่มท้องอาหารกลางวัน ณ “สุวรรณฟาร์ม คาเฟ่” เป็นฟาร์มเลี้ยงผึ้ง เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องผึ้งผ่านประสบการม์มากมายและเข้าใจเรื่องนี้อย่างท่องแท้ ทำให้ผลผลิตจากผึ้งแท้ สุดยอดผลิตภัณฑ์หนึ่ง ระดับ ระดับ 5 ดาว และมี อย.รับรองมาตรฐาน จากนั้นคณะมุ่งสู่ “ตาดใฮ” ไปตามความสวยงามของ ที่เที่ยวหนองบัวลำภู ต้องบอกว่าเป็นจุดชมธรรมชาติที่สวยมาก ๆ สามารถเดินชิล ๆ หรือจะมานั่งเรือชมวิวก็ได้ เพราะที่นี่มีชื่อว่า อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำบอง โดยเป็นที่เที่ยวของ ชุมชนบ้านตาตไฮ
แต่บ่ายวันนี้อดไปสัมผัส “ไดโนปาร์ค โนนสัง” ที่มีหุ่นจำลองไดโนเสาร์เสมือนจริงหลายสายพันธ์ เนื่องจากการส่งงานไม่เรียบร้อย และอดเข้ากราบหลวงพ่อใหญ่อันศักดิ์สิทธิ์ภายใน “วัดศิริชัยเจริญ” ที่มีหลวงพ่อใหญ่ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2449 ซึ่งเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตโจโดยเฉพาะเวลาเกิดเหตุเภทภัยหรือมีโจรผู้ร้าย ชาวบ้านได้ไปกราบไหว้ขอพรจากหลวงพ่อใหญ่ เพื่อขจัดปัดเป้า จนทำให้ชาวบ้านรอดพ้นจากภัยอันตรายมาโดยตลอด และเป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อใหญ่ เนื่องจากเวลาใกล้พลบค่ำ
ด้วยระยะเวลาที่ใกล้พลบค่ำ จึงรีบเร่งไปกันที่ กลุ่มรักษ์ผ้าทอ บ้านกุดดู่ ซึ่งเป็นแหล่งชุมชน ที่มีการท่อผ้าหมี่สลับ ขิดมากที่สุดในจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มรักษ์ผ้าทอ “ผ้าขิดสลับหมี่” จึงเป็นอัตลักษณ์หนองบัวลำภู ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างลายมัดหมี่และลายชิด เป็นภูมิปัญญาตั้งเดิมของชาวจังหวัดหนองบัวลำภู สุดท้ายเราพาไปสัมผัสบรรยากาศพระอาทิตย์ตกดินที่ “สกายวอลค์ภูแอ่น” สามารถชมพระอาทิตย์ตกที่ สกายวอลค์ภูแอ่นโนนสัง ช่วงเย็น ๆ สัก 4 โมงเย็นเป็นต้นไป เพราะแดดกำลังสวย เมื่อเดินขึ้นไปจะมองเห็นวิวสวยทั้งภูเขาและแม่น้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ โอบล้อมด้วยผืนป่าอันสมบูรณ์อีกแห่งของภาคอีสาน มีลมพัดเย็น ๆ มาให้คลายร้อน ใครที่ชอบถ่ายรูปน่าจะถูกใจ มีรูปสวยลงโชเชียส แน่นอน
สุทธิรักษ์ฯผอ.กลุ่มงาน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่าตลอด 2 วันที่คณะของพวกเราได้ไปพบเห็น สัมผัส ชักถามกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอพื้นเมือง นอกจากนั้นยังได้สัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวทั้งด้านประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ไปตามโครงการส่งเสริมพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวสู่ Smart Tourism ในวันนี้จึงนับว่าเป็นอีกช่องทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงงานวันพืชสวนโลก ที่จะจัดขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2569 เชื่อมโยงท่องท่องเที่ยวหลักจังหวัดหนองบัวลำภู ไปยังกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวรองหรือแอ่งเล็ก ทำให้เกิดการพัฒนากลุ่มเพื่อรองรับการท่องเที่ยว เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ในการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งในระบบ Off line และ On line เพื่อสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น และประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดหนองบัวลำภู ให้เป็นอีกหนึ่งเส้นทาง ทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวทั่วไป และนักท่องเที่ยวจากต่างชาติที่จะเดินทางมาในห้วงงานวันพืชสวนโลก ที่จะจัดขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2569
ก่อนจะแยกย้ายผู้สื่อข่าวได้มีโอกาสสอบถามผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว ที่ร่วมทริปเดินทางจากภาคใต้ร่วมโครงการ”วิถีแพรพรรณลุ่มภู” “หนองบัวลำภู จบที่เดียว เที่ยวเรื่องผ้า” กับคณะทั้ง 2 วันกล่าวว่าต้องบอกว่าประทับใจทุกกลุ่มมาแล้วต้องบอกต่อตลาดผลิตภัณฑ์ของชาวอีสาน ยิ่งมาเจอผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่มต้องบอกว่า ว้าว!! มากและที่สำคัญมาพบกับรอยยิ้ม และจะจัดโปรแกรมทัวร์และแพ๊คเจ๊ตทัวร์กันมาเที่ยวจังหวัดหนองบัวลำภู มากขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสอย่างที่มีโอกาสมาพบเห็นในครั้งนี้และจะร่วมประชาสัมพันธ์เพื่อเดินหน้าต่อในวันต่อไป
สุภัชรกานต์ แก้วสิงห์ หนองบัวลำภู