พัฒนาชุมชนลุ่มภู นำผู้ประกอบการท่องเที่ยว สื่อมวลชน ลงพื้นที่เส้นทางท่องเที่ยว “หนองบัวลำภู จบที่เดียว เที่ยวเรื่องผ้า” หวังดึงผ้าพื้นเมือง สร้างจุดขายรองรับงานพืชสวนโลก 69

พัฒนาชุมชนลุ่มภู นำผู้ประกอบการท่องเที่ยว สื่อมวลชน ลงพื้นที่เส้นทางท่องเที่ยว “หนองบัวลำภู จบที่เดียว เที่ยวเรื่องผ้า” หวังดึงผ้าพื้นเมือง สร้างจุดขายรองรับงานพืชสวนโลก 69

ที่่บริเวณหน้าศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในสวนสาธารณะหนองบัว อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู นายศศิน พัฒนภิรมย์ รอง ผวจ.หนองบัวลำภู เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเสริมสร้าง พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว สู่ Smart Tourism กิจกรรม พัฒนาและยกระดับเส้นทางการท่องเที่ยว “วิถีแพรพรรณลุ่มภู” “หนองบัวลำภู จบที่เดียวเที่ยวเรื่องผ้า” โดยมีนายดอกดิน ต้อมทอง พัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู นายสุทธิรักษ์ ศรีสุเลิศ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางแสงตะวัน แก้วอำไพ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู โยธาธิการและผังเมมืองจังหวัดหนองบัวลำภู ประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองบัวลำภู เจ้าหน้าที่ตลอดจนผู้ประกอบกาธุรกิจรการท่องเที่ยว และ สื่อมวลชนจาก จังหวัดภูเก็ต หนองคาย ขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู และจังหวัดเลย ร่วมกิจกรรมตามโครงการดังกล่าว หลังจากนั้นนายศศินฯรอง ผวจ.หนองบัวลำภู นำผู้ร่วมกิจกรรมขึ้นสักการะศาลสมเด็จพระเนศวรมหาราช ก่อนที่จะเดินทางไปยังพื้นที่ตามเส้นทางการท่องเที่ยว ท่องเที่ยวหนองบัวลำภู จบที่เดี่ยว เที่ยวเรื่องผ้า

นายดอกดิน ต้อมทอง พัฒนาการจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่าโดยที่ จังหวัดหนองบัวลำถู มีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งด้านประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดหนองบัวลำภู ” เกษตรเพิ่มมูลค่า เมืองผ้า น่าอยู่ น่าเที่ยว” เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาและยกระดับการบริการค้านการท่องเที่ยวไห้ได้มาตราฐาน ด้วยสภาพพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของลักษณะภูมิศาสตร์

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู จึงจัดโครงการส่งเสริมพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวสู่ Smart Tourism ในวันนี้จึงนับว่าเป็นอีกช่องทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงงานวันพืชสวนโลก ที่จะจัดขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2569 เชื่อมโยงท่องท่องที่ยวหลักจังหวัดหนองบัวลำภู ไปยังกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวรองหรือแอ่งเล็ก ทำให้เกิดการพัฒนากลุ่มเพื่อรองรับการท่องเที่ยว เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ในการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งในระบบ Off line และ On line

เพื่อสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น และประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดหนองบัวลำภู ให้เป็นอีกหนึ่งเส้นทาง ทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวทั่วไป และนักท่องเที่ยวจากต่างชาติที่จะเดินทางมาในห้วงงานวันพืชสวนโลก ที่จะจัดขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2569

สำหรับเส้นทางที่ทำการสำรวจในครั้งนี้ โดยเริ่มต้นที่การสักการะ “ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ซึ่งพระองค์ได้เคยเสด็จมาประทับแรมที่เมืองหนองบัวลำภูเมื่อ พ.ศ.2117 นั้น ทำให้ชื่อเมืองหนองบัวลำภูได้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ วีรกษัตริย์ไทย พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขต (จิต จิตตยโสธร) อดีตเจ้าเมืองอุดรธานีได้ร่วมใจกับชาวหนองบัวลำภู สร้างศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้ ณ ด้านตะวันออกริมฝั่งหนองบัวลำภู และสร้างรูปเหมือนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงดาบ

จากนั้นเริ่มเดินทางไปยัง “แหล่งเรียนรู้โฮงคำสุวรรณเชษฐา”เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีศาสตร์ศิลป์ถิ่นสุวรรณ อำเภอสุวรรณคูหา ปัจจุบันมีช่างรอน หรือ นายพสิษธ์ แสงโสดา อายุ 41 ปี ซึ่งร่ำเรียนมาจากวิทยาลัยช่างทองหลวง ในพระบรมมหาราชวัง เคยทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่โครงการวิทยาลัยช่างทองหลวงเป็นเวลานานถึง 5 ปีจากนั้นมีแนวคิดในการในการกลับมาสร้างอาชีพในท้องถิ่น โดยได้นำวิชาความรู้มาถ่ายทอดให้ญาติพี่น้องจนกลายเป็นอาชีพ และสร้างรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่าแสนบาท นอกจากนั้นยังเปิดบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้ที่สนใจเด็กเยาวชนคนในพื้นที่มาศึกษาเรียนรู้เพื่อต่อยอดเป็นช่างทองตามที่ต้องการ โดยใช้เทคนิคในการทำลวดลายของแต่ละชิ้นงาน แบบสลักดุน คร่ำทอง และถมทอง เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีลวดลายประณีตสวยงาม

 

ใกล้กันนั้นนักท่องเที่ยวสายบุญ ยังสามารถเดินทางไปยัง “วัดถ้ำสุวรรณดูหา” เป็นที่เคารพสักการะบูชาคู่ชาวหนองบัวลำภู มาช้านานนอกจากจะได้เข้าเยี่ยมชมวัดอันเป็นศาสนสถานแล้วก็ยังจะได้เข้าชมโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่ได้มีการรวบรวมสะสมสืบทอดมายาวนานและสักการะหลวงพ่อพระไชยเชษฐา รวมทั้งพระพุทธรูปภายในถ้ำสุวรรณคูหาแห่งนี้อีกด้วย

จากนั้นคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชม“แหล่งเรียนรู้กลุ่มทอผ้าขิดไหมบ้านโพธิ์คำ” (แม่ลำดวน) อีกแห่งที่มีชื่อเสียง โด่งดังและยังมีลายที่ได้รับรางวัล อย่างลายคำขวัญจังหวัดหนองบัวลำภู ลายบัวสวรรค์ ลายอนุรักษ์ไทย ลายนาคคู่ ฯลฯ ผ้าขิดลาย “คำขวัญหนองบัวลำภู” เป็นสุดยอดผ้าขิดอันที่ใส่จิตวิญญาณ และเต็มไปด้วยเรื่องราว คำขวัญของจังหวัดหนองบัวลำภู ตั้งแต่ลวดลายดอกบัว ศาลสมเด็จพระนเรศวร หลวงปู่ขาว ถ้ำเอราวัณ ภูเก้าภูพานคำ ซึ่งผืนนี้มีมูลค่าสูงถึง 350,000 บาท เลยทีเดียว

กองทัพต้องเดินด้วนท้อง ได้เวลารับประทานมื้อเที่ยง แนะนำ “ร้าน ทุ่งนา @9Dee คาเฟ่” เป็นอาหารแบบเซ็ตโต๊ะพร้อมจิบกาแฟกลางทุ่ง สูดอากาศกลางนา มองวิวจากร้านไปไกลสุดหูสุดตาในท้องทุ่งโล่งๆ บรรยากาศธรรมชาติและมีมุมถ่ายรูปมากมาย

หลังจากอิ่มท้องแล้ว เดินทางไปที่ “วิชชาลัยผ้าทอหนองบัวลําภู” (ผ้าฝ้ายกะตุ่ยโป่งแค) เป็นผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านโป่งแคมานานแล้ว จุดเด่นของกลุ่มที่น่าสนใจคือเส้นใยฝ้ายจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่หายากในปัจจุบัน และกลุ่มเองได้รับการพัฒนาศักยภาพในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมไปถึงสามารถที่จะเชื่อมโยงวิถีชีวิตของคนในชุมชนด้วย

ใกล้กันนั้น ยังมีผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองคือ “ณ นาวัง” (Na Nawang) เป็นโรงทอผ้าที่มีการสร้างสินค้าที่สวยงามทันสมัย และ คํานึงถึงความยั่งยืนด้วยในเวลาเดียวกัน หนึ่งในแผนอนาคตของเรา คือการทํางานร่วมกับผู้เชียวชาญในด้าน สิ่งทอ เพื่อหาวัสดุที่มีมากในท้องถิ่นมาใช้ทดแทนหรือเสริมในการทําเสื้อผ้าและรองเท้า เช่น เปลือกฝักข้าวโพด และกากใยจากอ้อยเป็นต้น นอกจากนี้เรายังต้องการทําเครื่องสําอางจากธรรมชาติพร้อมทำกิจกรรม Workshop

เอาใจสายบุญ อีกที่ คือ “วัดป่าภูผายาว” ห่างไม่ไกลประมาณ 2 กิโลเมตรเป็นวัดป่าที่ตั้งอยู่ในอำเภอนาวัง วัดนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่มีความเงียบสงบและร่มรื่นด้วยธรรมชาติที่สวยงามและบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการฝึกสมาธิ และวิปัสสนา วัดนี้ยังเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในพื้นที่และผู้ที่มาปฏิบัติธรรมจากทั่วประเทศอีกด้วย

ไม่ไกลกันนั้นยังมี “กลุ่มบ้านนากลาง ม.7” เนื้อผ้าที่นี่มีความละเอียด นุ่ม สวมใส่สบาย เห็นความชำนาญในการทอ การขึ้นลวดลายต่าง ๆ และเนื้อผ้าที่ใส่แล้วนุ่มสบาย สำหรับใครที่กำลังมองหาผ้าหมี่ลายโบราณเนื้อผ้านุ่ม สวมใส่สบาย ไปเลือกชมกันได้ที่กลุ่มทอผ้าบ้านนากลาง อ.นาวัง

ใกล้เวลาเย็นย่ำขอนำเข้าสู่ “วิชชาลัยผ้าทอหนองบัวลำภู” (เทวาผ้าไทย) มีการทอทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหมเป็น เอกลักษณ์ของผ้าทอ ที่นี่ผ้าหนึ่งผืนจะมีลวดลายทั้งสองด้านที่ไม่เหมือนกัน ด้านหนึ่งเป็นลาย ยกดอก และอีกด้านหนึ่งเป็นลายมัดหมี่ และการคิดค้นเทคนิควิธีที่ทำให้ทั้งผ้ามีความนุ่มลื่นแ ละมันวาว สวยงามแตกต่างจากที่อื่นด้วย