จังหวัดเลยจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.10 “อุทยานเฉลิมพระเกียรติบ้านหมากแข้ง” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

จังหวัดจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.10 “อุทยานเฉลิมพระเกียรติบ้านหมากแข้ง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567


เหตุการณ์เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ.2519 ที่บ้านหมากแข้ง หมู่ 4 ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้ลอบเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของตำรวจ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส เฮลิคอปเตอร์ที่ไปรับผู้บาดเจ็บถูกผู้ก่อการร้ายยิงตก ถูกบ้านเรือนของราษฎรเสียหาย ชาวบ้านเข้าช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บ หน่วยเหนือส่งกำลังไปช่วยเหลือ แต่กำลัง ผู้ก่อการร้ายมีจำนวนมากระดมยิง จนไม่สามารถนำเครื่องเฮลิคอปเตอร์ลงได้ ต้องนำกำลังทั้งหมดไปส่งลงที่ฐานบ้านห้วยมุ่น แล้วเดินเท้าไปยังฐานบ้านหมากแข้ง ระหว่างทางผู้ก่อการร้ายได้ซุ่มยิงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอีก


วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2519 ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีรับสั่งให้ ร้อยเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร(พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงไปบัญชาการรบ ณ สมรภูมิบ้านหมากแข้งด้วยพระองค์เอง พระองค์ได้เสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปฐานปฏิบัติการบ้านห้วยมุ่น พระองค์มีรับสั่งกับ พล.ท.สมศักดิ์ ปัญจมานนท์ แม่ทัพภาคที่ 3 (ในขณะนั้น) ด้วยพระสุรเสียงอันหนักแน่นว่า”จะต้องไปแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นให้ได้” แม้ว่า แม่ทัพภาคที่ 3 จะกราบบังคมทูลทัดทาน เนื่องจากสถานการณ์ขณะนั้นไม่น่าไว้วางใจ แต่พระองค์ก็ทรงยืนยันอย่างหนักแน่นว่า “ต้องไปแก้ไขให้ได้ในวันนี้ และเดี๋ยวนี้” จากนั้น ทรงประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง รับสั่งให้นักบินนำเครื่องมุ่งตรงไปยังฐานบ้านหมากแข้งทันที ชาวบ้านเห็นเฮลิคอปเตอร์สีแปลกตา มาทางฟากฟ้าด้านทิศเหนือพระองค์กระโดดลงมาที่ฐานโดยเฮลิคอปเตอร์ยังไม่ทันแตะพื้น ทันใดนั้นเฮลิคอปเตอร์ ก็ม้วนตัว หมุนกลับ บินขึ้นทันทีพระองค์วิ่งสุดกำลังไปทำการบล็อกคุ้มกันให้เฮลิคอปเตอร์ลำอื่น ส่งทหารลงมาจนครบ พระองค์ทรงวางแผนยุทธวิธี การ สู้รบอย่างรัดกุมพระราชทานคำแนะนำแก่ทหารถึงวิธีการวางกำลัง การจัดฐาน การวางระบบป้องกันตนเอง การลาดตระเวน พิสูจน์ทราบ การกำหนดมุมยิงของปืนใหญ่ และเครื่องยิงลูกระเบิด สัญญาณเตือนภัยยุทธวิธีปฏิบัติการในพื้นที่ป่าเขา รวมทั้งได้ทรงกระทำเป็นตัวอย่าง
ปัจจุบัน ฐานปฏิบัติการสู้รบแห่งนี้ ได้สร้างเป็นอุทยานเทิดพระเกียรติบ้านหมากแข้ง และทางจังหวัดเลยได้ดำเนินการขับเคลื่อน พัฒนาบ้านหมากแข้ง เป็นหมู่บ้านแห่งความยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์


นายชัยพจน์ กล่าวว่า จังหวัดเลยได้ดำเนินการขับเคลื่อน “บ้านหมากแข้งหมู่บ้านแห่งความยั่งยืน” ร่วมกับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และนายอำเภอทุกอำเภอ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานขับเคลื่อน จำนวน 2 คณะ คือ 1. คณะกรรมการและคณะทำงานขับเคลื่อนและพัฒนาบ้านหมากแข้ง โดยมีคณะทำงานย่อย 12 คณะ เน้นการพัฒนาแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติการพัฒนา อาทิ การปรับปรุงภูมิทัศน์และส่งเสริมการท่องเที่ยว การต่อยอดขยายผลการดำเนินการเกษตรตามโครงการพระราชดำริ การอนุรักษ์และส่งเสริมผ้าทอพื้นเมืองเทิดพระเกียรติและผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน การลงพื้นที่ติดตามครัวเรือนเปราะบาง การขับเคลื่อนและเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้านยั่งยืน การขับเคลื่อนและพัฒนาในด้านการศึกษาและการสาธารณสุข การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในหมู่บ้าน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ 2) คณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ อุทยานเทิดพระเกียรติบ้านหมากแข้ง โดยมี นายกองเอก ธารณา คชเสนี (ครูป๊อด) และนายหมวดตรี น้ำเพชร คชเสนี สัตยารักษ์ (ครูปั๊ม) ครูจิตอาสาหลักสูตรจิตอาสา 904 เป็นที่ปรึกษา มีผู้ว่าราชการจังหวัดเลยเป็นประธานกรรมการ โดยได้มีการกำหนดจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ อาทิ กิจกรรมดนตรีเพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมการฉายวีดีทัศน์เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมการถ่ายทอดเรื่องราวพระปรีชาสามารถโดยวิทยากรครู ก. ประวัติศาสตร์ชาติไทยและท้องถิ่น กิจกรรมพาหมอพบประชาชน กิจกรรมการจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล กิจกรรมการจัดซุ้มอาหาร และกิจกรรมอื่น ๆ โดยบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและส่งเสริมพัฒนาการกายภาพในทุกมิติควบคู่การพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา รวมถึงการขับเคลื่อนกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ด้วยความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างเต็ม

ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ / จ.เลย