ขอนแก่น – มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น แถลงความพร้อมจับมือ เอกชนเดินหน้าสร้างโรงงานประกอบรถไฟเมโทรเทรน แจงเหตุสอบสวนไฟไหม้รถ LRT

มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เปิดแถลงข่าวพร้อมจับมือ บริษัท อมิตะ ออโต้โมทีฟ จำกัด เดินหน้าสร้างโรงงานประกอบรถไฟเมโทรเทรน( metro train) พื้นที่การศึกษาโคกสี แจงเหตุสอบสวนไฟไหม้รถ LRT

6.กค 2567 ที่ มทร. อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่นแถลง ความก้าวหน้าจับมือบริษัท อมิตะ ออโต้โมทีฟ จำกัด ใช้พื้นที่การศึกษา ที่ตำบลโคกสี จำนวน 243 ไร่ เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถไฟ Metro train ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าที่เราเคยเห็นเช่น BTS MRT รถไฟฟ้าใช้ขนส่งระหว่างเมือง สามารถจุผูโดยสารได้ครั้งละ 300-400 คน พร้อมให้บริการขนส่งผู้คนให้ได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางระหว่างเมือง

โดยมทร .อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น สถาบันการศึกษาชั้นนำ มีคณาจารย์นักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถ สร้างงานวิจัยระบบราง เป็นทีประจักษชัดทำให้กระทรวง อว.สนับสนุนทุนวิจัย 320 ล้านบาทดำเนินงานวิจัย metro trainโดยศึกษาการใช้พลังงานไฮโดรเจนในการขับเคลื่อน สร้างงานวิจัยจำนวน4 โบกี้ 1 ขบวน ใช้วิ่งในรางขนาด 1.435 เมตรลงมีอดำเนินการด้วยฝีมือคนไทยคาดแล้วเสร็จ 2569

นายบุญ สัจจะสังข์ ศิษย์เก่าช่างท่อประสานไทย-เยอรมัน ขอนแก่น กรรมการผู้จัดการ ผู้ประการธุรกิจบริษัท อมิตะ ออโต้โมทีฟ จำกัด กล่าวว่าตนเองมีความมั่นใจใน มทร.อีสาน ขอนแก่นตนเองดำเนินธุรกิจอุปกรณ์ชิ้นส่วนรถยนต์และเครื่องบินมานาน ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่สามารถออกแบบรถยนต์ด้วยตนเอง แต่สำหรับรถไฟที่จะผลิตโดยนักวิจัยของ มทร . เขียนแบบเอง ทำชิ้นส่วนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ทุกอย่างนับเป็นความภาคภูมิใจ และยินดีที่จะสนับสนุนนำความรู้ประสบการณ์ของบริษัทผลักดันโครงการ Metro train ร่วมพัฒนาประเทศ

ด้านเหตุการณ์เพลิงไหม้ LRT ที่เกิดขึ้นนั้นข้อเท็จจริงคือเราได้รับงบวิจัย LRT จาก อว.ช่วงแรก 2563 จัดสร้าง 2 ตู้โดยสาร สำเร็จและทดสอบวิ่ง ระยะทาง 70 เมตร ที่ มทร.อีสาน ปี 2564 ตามที่สื่อมวลชนได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารมาตามลำดับ ต่อมาเราได้งบวิจัยสนับสนุนการจัดสร้างตู้ที่ 3 และเพิ่มเรื่องการวิจัยให้ใช้พลังงานไฮโดรเจนขับเคลื่อน หรือระบบBi-mode ดำเนินการด้วยความเรียบร้อยมาโดยตลอด จน 30 มิถุนายนที่ผ่านมาประมาณ 23 นาฬิกาโดยประมาณได้เกิดเพลิงไหม้ ในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของกองพิสูจน์หลักฐาน สอบสวนเก็บข้อมูลหาสาเหตุเพลิงไหม้ โดยวิเคราะห์ร่วมกับทีมนักวิจัยวิศวกรมีประเด็นดังนี้ งานวิจัยตู้ที่ 3 เป็นงานวิจัยช่วงที่ 2 มีการเพิ่มแบตเตอรี่เพื่อใช้พลังงานหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในตู้ อาจจะมีการกระแสไฟฟ้าตกค้างในระบบทำให้เกิดการช๊อตได้ ในทุกครั้งที่นักวิจัยลงทดสอบระบบร่วมกับ บริษัท ช. ทวี จำกัด (มหาชน) นักวิจัยจะปิดระบบทุกครั้ง

เหตุการณ์ดังกล่าวนั้น มหาวิทยาลัยขอขอบคุณทุกกำลังใจที่มอบให้นักวิจัย และ มหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ แต่องค์ความรู้ยังอยู่เราพร้อมเดินหน้าต่อโดยมีการวางแผนการดำเนินงานดังนี้ เมื่อเราวางแผนปรับปรุงช่อมแซม LRT เรียบร้อยประมาณ 9-12 เดือน จะทันกับการได้รับงบประมาณที่ มหาวิทยาลัยวางรางทดสอบเส้นทางวิ่งใน มทร. 450 เมตร และเรายังได้รับงบจากกระทรวง อว. สร้างรางวิ่งรอบบึงแก่นนครประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 3 ปี


ส่วน Metro train ที่พร้อมดำเนินการนั้นมี ผู้ร่วมทุน คือ บริษัท อมิตะ ออโต้โมทีฟ จำกัดและบริษัท ช .ทวี จำกัด (มหาชน ) รวมถึงอีกหลายเครือข่ายที่มีศักยภาพพร้อมประสานเข้ามากว่า 15 บริษัท เมื่อดำเนินการประกอบสำเร็จพร้อมนำไปทดสอบกับสายสีส้มที่ดำเนินการโดย รฟม. ปัจจุบัน ทางมหาวิทยาลัยได้รับการติดต่อประสานงานจากจังหวัดใหญ่ๆตามหัวเมือง เช่น ภูเก็ต สงขลา เชียงใหม่ ที่มีแผนการสร้างสมาร์ทซิตี้ด้านการขนส่งสาธารณะด้วยระบรางให้เราช่วยวางแผนและออกแบบระบบ ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ มหาวิทยาได้นำองค์ความรู้เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยต่อไป