รายแรกของประเทศไทย CFP “หม้อแปลงเจริญชัย” ได้รับประกาศนียบัตรการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)

รายแรกของประเทศไทย CFP “หม้อแปลงเจริญชัย”
ได้รับประกาศนียบัตรการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO)

นายประจักษ์ กิตติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด กล่าว “ เจริญชัย ” ขอขอบคุณองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ที่ได้มอบประกาศนียบัตร การรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) ของ Oil-type transformer 1000 KVA. “ เจริญชัย ” พร้อมให้ความสำคัญต่อกระบวนการผลิตและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงาน ผ่านกระบวนการทำงานที่พัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงการเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานที่ได้มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์หรือองค์กร เพื่อนำไปสู่การจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมคาร์บอนต่ำถือเป็นการตอบโจทย์ภาครัฐด้านการอนุรักษ์พลังงาน และทั้งทิศทางความต้องการของกระแสโลกที่มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : SDGs) ในการยกระดับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน มุ่งสู่การอนุรักษ์พลังงาน
บริษัทฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดคาร์บอนเครดิตที่จะเติบโตมากขึ้นในอนาคต คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ทั้งยังช่วยให้องค์กรเห็นภาพรวมของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนในด้านพลังงาน ทรัพยากร และวัสดุอีกด้วย
“เจริญชัย” ได้ร่วมคิดค้นนวัตกรรม หม้อแปลงรางวัลนวัตกรรม พิสูจน์จริงลดค่าไฟฟ้า 8-11% ดำเนินงานวิจัยหม้อแปลง Low Carbon และระบบบริหารจัดการพลังงานทดแทน Solar กับ Energy Storage ด้วยโปรแกรม Energy Management System ภายใต้โครงการ “Low Carbon Transformer ระบบจัดการหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อรองรับพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง Net Zero, Near Zero, Peak Demand และ Demand Response” ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าหม้อแปลงที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ที่กล่าวในข้างต้นตอบโจทย์ภาครัฐ, ภาคเอกชนและ โรงงานอุตสาหกรรมด้านการประหยัดพลังงาน Smart Factory, Smart Building ในด้าน Net Zero & Near Zero, Peak Demand และ Demand Response และการประหยัดพลังงาน โดยสามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และมีระยะเวลาคืนทุนภายในเวลา ๒ – ๕ ปี ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ สังคม ประชาชนและผู้ประกอบการ ด้านความมั่นคงด้านพลังงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.