หนองคาย – อำเภอรัตนวาปี จัดงานนิเทศกาลหุ่นไล่กานานาชาติ ส่งเสริมการปลูกข้าวมะลิดำหนองคาย

อำเภอรัตนวาปี จัดงานนิเทศกาลหุ่นไล่กานานาชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี2567 เพื่อประชาสัมพันธ์เทศกาลหุ่นไล่กานานาชาติ ส่งเสริมการปลูกข้าวมะลิดำหนองคาย ให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น มุ่งสู่สินค้า GI พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวมะลิดำหนองคาย ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณี ท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567  ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นประธานเปิด เทศกาลหุ่นไล่กา นานาชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย โดยมี นายวุฒิชัย ชัยภูวนารถ นายอำเภอรัตนวาปี,นางสาวภัณฑิรา ทุดปอ สจ.เขต1 อ.รัตนวาปี, ดร.นวลปรางค์ หลักมี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนายาง,นายพนม เพ่งวิชัย สาธารณสุขอำเภอรัตนวาปี, นายวชิรพงษ์ ชาวเหนือ ปลัดอาวุโสอำเภอรัตนวาปี, พ.จ.อ.สุพัฒน์ นาศฤงคาร ปลัดอำเภอรัตนวาปี, นายวิทยา เดชประเสริฐ ปลัดอำเภอรัตนวาปี, นายอภิศร ทิพเสนา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนสวรรค์, นายพิทยา จำนงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดงตาล, หัวหน้าส่วนราชการ, คณะครูอาจารย์, และประชาชนทั่วไป ร่วมให้การต้อนรับและร่วมงาน
การจัดงานเทศกาล “หุ่นไล่กา นานาชาติ” ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2567 ครั้งนี้ เพื่อประชาสัมพันธ์เทศกาลหุ่นไล่กานานาชาติ ส่งเสริมการปลูกข้าวมะลิดำหนองคาย ให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น มุ่งสู่สินค้า GI พัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวมะลิดำหนองคาย ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งภายในงานมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การประกวดหุ่นไล่กา, การประกวดชุดแฟนซีฟางข้าว,การประกวดศิลปะจากเมล็ดข้าว ภายใต้หัวข้อตามรอยเท้าพ่อ, การประกวด แข่งขันการทำอาหาร ภายใต้หัวข้อมหัศจรรย์เมนูข้าวมะลิดำหนองคาย และการประกดระบำชาวนา ประเภทเยาวชนและประเภทวัยเก๋า ซึ่งได้รับความสนใจกับประชาชนในพื้นที่ ทั้งคณะครูโรงเรียนต่างๆในพื้นที่อำเภอรัตนวาปี ได้นำเด็กนักเรียนมาทัศนศึกษาดูงาน เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนนอกสถานที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ เสริมสร้างทักษะและเพิ่มประสบการณ์ให้กับนักเรียน โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คอยบรรยาย ซึ่งในงานยังได้นำผลผลิตจากชุมชนที่ปลูกในพื้นที่ เช่น เงาะ แตงโม สับปะรด มาวางจำหน่าย ในราคาถูก
ผศ.ดร.คณิศรา ธันสุนทรสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวว่า ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เกิดการรวมกลุ่มการทำงานในลักษณะ Amphoe Network integrator: ANi ที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานในทุกมิติระดับอำเภอ ผ่านระบบการทำงานของกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในฐานะ อว.ส่วนมาก เป็นหน่วยเชื่อมประสานการทำงานในพื้นที่มหาวิทยาลัยฯ ในปี พ.ศ 2567 จึงมีการดำเนินงานโครงการ 1Amphoa 1Soft Power ภายใต้โครงการบูรณาการเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น UDRU Amphoe Network integrator: ANi เพื่อเป็นกลไกในการสร้างเครือข่ายการทำงาน ขับเคลื่อนแผนพัฒนาระดับอำเภอเพื่อสร้างความเข้มแข็งในเชิงวัฒนธรรม จนนำไปสู่การสร้างรายได้เชิงเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดหนองคาย และจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 43 อำเภอ เทศกาล “หุ่นไล่กา นานาชาติ” ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2567 ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

ฤาษีลภ-โภควินทร์-จังหวัดหนองคาย