มหาสารคาม – กรมชลประทานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

กรมชลประทานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 (ระบบส่งน้ำ) แก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม มหาสารคามมีพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์ 3 อำเภอ 21 ตำบล
ที่หอประชุมอำเภอกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม นายกนก ศรีวิชัยนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการประชุมเสวการรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 (ระบบส่งน้ำ) ในเวทีที่ 5 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมรับฟัง เพื่อนำข้อมูลไปเผยแพร่สู่สาธารณะ
นางดรรชณี เฉยเพ็ชร ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน กล่าวว่า เวทีที่มหาสารคามวันนี้เป็นเวทีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ ขอบเบตการศึกษา แนวคิดการพัฒนาดครงการเบื้องต้นให้ผู้ส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาและเป็นแนวทางปฏิบัติงานของโครงการฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คณะกรรมการลุ่มน้ำชี ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกา ภาคประชาสังคม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรผู้ใช้น้ำ สภาเกษตรกร เป็นต้น
สืบเนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ 103.5 ล้านไร่ มีลุ่มน้ำหลักที่สำคัญ 3 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำโขงอีสาน ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล มีพื้นที่การเกษตร 63.85 ล้านไร่ แต่เป็นพื้นที่เกษตรชลประทานเพียง 8.69 ล้านไร่ พื้นที่การเกษตร ส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ประชาชนประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และปัญหาขาดแคลนน้ำอันเกิดจากฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน และการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง แหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนมีน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบสูง
สำหรับโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 (ระบบส่งน้ำ) วันนี้เป็นเวทีที่ 5 ของมหาสารคาม มีเป้าหมายนำน้ำจากแม่น้ำเลย เข้าสู่การพัฒนาในประเทศในการพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมใน 6 จังหวัด มีพื้นที่ชลประทานที่ตั้งเป้า 1.73 ล้านไร่ ซึ่งจะมีทั้งระบบสูบน้ำ และระบบคลอง
ซึ่ง จ.มหาสารคาม มีพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์ 3 อำเภอ 21 ตำบล พื้นที่ได้รับโยชน์ประมาณ 240,000 ไร่ โดยจะมีการศึกษารูปแบบความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบชลประทานที่เหมาะสม มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในส่วนของระบบส่งน้ำในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งในการศึกษา 540 วัน จะมีการลงพื้นที่พะปะ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สอบถามความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง นำไปสู่การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หาแนวทางป้องกัน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นนตอนของการศึกษา

ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.