ประวัติพระครูประทีป ปัญญาทีโป (หลวงปู่สิทธิ์)
เดิมฉายา พระประสิทธิ์ ปญญาทีโป ชื่อเดิม นายประสิทธิ์ พละศักดิ์ เกิดวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ.2500 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 14 บ้านยางน้อย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เป็นบุตรของคุณพ่อเลียบและคุณแม่ต็ม พละศักดิ์เป็นบุตรคนโตและมีน้องนองอีก 1 คน บิดาท่านได้เสียชีวิตขณะท่านหัดเดินและน้องสาวอยู่ในครรภ์ ท่านได้อาศัยอยู่กับมารดาและคุณตาบุญแลคุณยายพรหม วงษ์เจริญ จนจบการศึกษาชั้น ป.4 ก็ได้พลัดถิ่นมาอาศัยอยู่ที่จ.อุบลราชธานี กับน้า(รับจ้าง) อยู่หลายปี จนท่านอายุครบ 20 ปี จึงได้กลับมาบ้านเพื่อบอกทางครอบครัวว่าจะเดินทางออกไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอารเบีย แต่พอดีหลวงปู่เพ็ง (พระครูโสภณ จันทรังสี) วัดบ้านละทาย ต.ละทายอ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ (มีศักดิ์เป็นปู่แท้ๆของหลวงปู่สิทธิ์) ท่านหาหลานเพื่อบวชอุทิศส่วนกุศลให้ ย่า ตา พละศักดิ์หลวงปู่เพ็งจึงขอให้หลวงปู่สิทธิ์บวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลฯ ท่านเลยรับปากหลวงปู่เพ็งว่าจะบวชให้ 3 เดือน
ต่อมาท่านจึงได้อุปสมบทบวชวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 2521 ( ขึ้น 10 ค่ำ) พระครูอนุรักษ์กันทรารมย์ เป็นพระอุปปัชฌาย์, พระอธิการโฮมอาภัณโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ , พระอธิกาศล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อท่านอุปสมบทแล้วเสร็จนั้น ได้มาประจำวัดที่ วัดบ้านยางน้อย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ และศึกษาพระธรรมได้เพียง 17 วันท่านอยากจาริกธุดงด์เพื่อศึกษาปฎิบัติขัดเกลากิเลส
ประวัติขณะท่านออกจาริกธุดงในป่าเป็นเวลา 7 ปี
ท่านได้ออกเดินทางจาก วัดบ้านยางน้อย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อเดินทางมาที่บ้านหมุน ต.ห้วยโพธิ์อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ได้พบสหายธรรม พระแสวง กัณตสิโณ วัดบ้านดงน้อย ต.ห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ หลวงปู่สิทธิ์ท่านได้เอ่ยปากกับพระแสวงว่า อยากเดินธุดงด์แต่ท่านไม่มีบาตรและกุฎิ จากนั้นพระแสวงได้ยินจึงมอบบาตรและกฎิให้ท่าน พอท่านได้บาตรและกุฎิแล้วจากนั้นท่านได้เริ่มออกเดินธุดงด์เพียงรูปเดียวไปที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ไปปักกลดอยู่ในป่าแห่งหนึ่งและได้พบกับ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ในป่า จึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่แหวนท่านได้มอบคาถาแรกให้ท่านคือ “ปัญจมาเรชิโนนาโถ สัมโพธิ มุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวังเชนะ โหตุเมชัยมังคะลัง มะละวังตุเม”
หลังจากนั้นหลวงปู่แหวนได้สอนให้ชนะใจตนเอง (ก่อนสิฆ่าไผฆ่าจะของให้ได้ก่อน) และได้สอนเจริญภาวนาฝึกปฏิบัติเทียนพันน้ำมันหมื่น และหลวงปู่แหวนได้นั่งเจริญภาวนาจิตรอยู่กับหลวงปู่สิทธิ์เป็นเวลา 3 เดือน พบได้กาลเวลาอันสมควรหลวงปู่สิทธิ์จึงได้กราบลาหลวงปู่แหวน (ก่อนกราบลานั้นหลวงปู่แหวนท่านให้ระมัดระวังให้มากเพราะเป็นพระใหม่จะโดนลองของ) ต่อมาท่านเดินธุดงด์ต่อไปที่ สามเหลี่ยมทองคำ พอมาถึงบริเวณดังกล่าวนั้นท่านได้หลงป่าเดินไปทางไหนก็กลับมาที่เดิมเป็นเวลา 7 วัน ไม่ได้ฉันน้ำแต่ข้าวแต่อย่างใด ท่านจึงได้นั่งเจริญภาวนาจิตว่า “หากท่านมีบุญในทางธรรมะนี้ขอให้มีชาวบ้านนำอาหารและน้ำมาถวายในวันตอนเช้า” พอถึงตอนเช้าได้เกิดปาฏิหาริย์อย่างอัศจรรย์ใจ มีเด็กเลี้ยงควายมาพบท่านและได้กลับไปบอก พ่อ–แม่ มาถวายภัตหารเช้า จากนั้นท่านได้เจริญภาวนาจิตอยู่ถ้ำแห่งนั้นเป็นเวลา 2 เดือน พบสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง บางวันมีเสือมานั่งคู่ท่านขณะเจริญภาวนาจิต ช่วงเช้าขณะท่านฉันภัตราหารเสร็จก็มีกวางมากินข้าวในมือท่านบาง บางวันมีงูใหญ่มาบ้าง ฯลฯ แต่สัตว์เหล่านี้มิได้ทำร้ายท่านเลย ต่อมาท่านเห็นว่าสมควรแล้วจึงออกจากถ้ำท่านธุดงค์มาที่ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ และได้พบโบสถ์เก่าในป่าขี้เหล็กจึงได้เข้าไปเพื่อฝึกจิตภาวนา และได้พบสมุดคำสอนตำราเก่ากระดาษเภาของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และได้ท่องจำจนสำเร็จ และได้ธุดงค์ต่อไปที่ จ.หนองคาย ขอบตีนภูเขาท่านได้พบหมอธรรมโต่น(ธรรมพ่อใหญ่โต่น) ที่ข้ามมาอีกฝั่งจากทางเวียงจันทร์ สปป.ลาว หลวงปู่สิทธิ์ท่านจึงติดตามไปยัง สปป.ลาว เพื่อเรียนธรรมกับอาจารย์ฆราวาสหมอธรรมโต่น หมอธรรมขาว ประเทศเขมร จนสำเร็จ จากนั้นท่านได้เดินทางกลับมาที่ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อชวนสหายธรรมท่านนั้นไปปักกลดที่ถ้ำภูเขาควาย เป็นเวลา 3 ปี แต่ต้องกลับมายังประเทศไทยก่อนเนื่องจากสหายธรรมท่านนั้นป่วยและได้เสียชีวิตที่ถ้ำภูเขาควาย จึงได้เดินทางกลับเพื่อนำศพฯมาบำเพ็ญกุศล
ต่อมาท่านได้กลับยังถ้ำภูเขาควายอีกรอบเพื่อเจริญภาวนาจิตรอีกครั้ง และมีสิ่งอัศจรรย์ใจเกิดขึ้นหลายอย่าง บางก็เห็นเป็นเรือสำเภาทองคำ บางก็เห็นเป็นพระพุทธรูปขึ้นมาจากดิน ฯลฯ ท่านเห็นว่าสมควรแล้วที่จะใช้วิชาความรู้เพื่อเผยแผ่ศาสนาและเมตตาลูกหลานจึงได้เดินทางกลับมาบ้านเกิด และได้ศึกษาตำราโหราศาสตร์ไทย และได้สืบตำราจากเรียนจากหลวงปู่เพ็ง จันทรังสี จนย้ายจากวัดบ้านยางน้อย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดบ้านโอ้น ต.ละทาย อ.กันทราย์ จ.ศรีสะเกษ ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2538 ได้ฉายานามใหม่คือ พระครูประทีปปัญญาวุธ (หลวงปู่สิทธิ์) และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน.