มหาสารคาม (ชมคลิป) ภาคประชาสังคมผนึกกำลังเปิดตัวสภาพัฒนาการศึกษา

ภาคประชาสังคมผนึกกำลังเปิดตัวสภาพัฒนาการศึกษา จัดเวทีพหุภาคีสร้างความร่วมมือแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก


ที่โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองบัวคู อ.นาดูน จ.มหาสารคาม จัดกิจกรรมโครงการ ชุมชนสร้างโรงเรียน โรงเรียนสร้างชุมชน ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2 มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) สมาคมไทบ้าน และสภาพัฒนาการศึกษามหาสารคามจัดเวทีเสวนาพหุภาคีจังหวัดมหาสารคาม สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาท้องถิ่น พร้อมผนึกพลังความร่วมมือผ่านการเซ็น MOU ร่วมพัฒนา 25 โรงเรียน ภายใต้โครงการแอ็คเซส สคูล (ACCESS School) นายสุรสิทธิ์ ถิตย์สมบรูณ์ ผู้อำนวยการ สพป. มหาสารคามเขต 2 เป็นประธานเปิดเวทีเสวนา
นายบุญเรือง ปินะสา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบัวคูและประธานสภาพัฒนาการศึกษามหาสารคาม กล่าวว่า เวทีเสวนาในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เป็นพื้นที่ปรึกษาหารือด้านการศึกษาในการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมและประสานให้เกิดการปรับปรุงด้านการศึกษาในระดับจังหวัด ระหว่างองค์กรภาคประชาสังคม หน่วยงานรัฐท้องถิ่น หน่วยงานทางด้านการศึกษา ภาคเอกชน และคณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชน (2) เพื่อนำเสนอนวัตกรรมด้านการศึกษาในแนวการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางต่อหน่วยงานรัฐท้องถิ่น หน่วยงานทางด้านการศึกษา ภาคเอกชน คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุน และ (3) เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กรภาคประชาสังคมในการทำงานขับเคลื่อนประเด็นการเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบและการบริหารที่โปร่งใสมีส่วนร่วม และสร้างความร่วมมือกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบัวคูร่วมมือกันกับภชุมชนภาคเอกชนได้มีการพัฒนา เช่น โดยน้องนำเศรษบกิจพอเพียง ร.9มาปรับใช้ โดย มีการปรับสนามเปลี่ยนสนามฟุตบอล เป็นนาข้าว ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตเกินคาด ผลิต ส่วนหนึ่งเก็บพันธุ์ข้าวไว้อีกส่วนหนึ่งทำเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน ปลูกพืชผักสวนครัว ปลอดสารเคมี


นางสาวธีรดา นามโห นายกสมคมไทบ้าน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา เครือข่ายผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กและภาคประชาสังคมในจังหวัดมหาสารคามได้รับการหนุนเสริมจากสมาคมไทบ้าน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 ภายใต้สภาการศึกษาเพื่อปวงชน ภาคอีสาน เพื่อนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและสร้างวิถีแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน ต่อมาในปี 2563 เครือข่ายได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแอ็คเซส สคูล โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและมูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ซึ่งมีมหาสารคามเป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินโครงการ เครือข่ายฯ ดำเนินงานเป็นหน่วยประสานงานและเชื่อมโยงเครือข่ายโรงเรียนใน จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ และได้รับการส่งเสริมศักยภาพเรื่อยมาจนกระทั่งในปี 2566 มีการจัดตั้ง “สภาพัฒนาการศึกษามหาสารคาม” อย่างเป็นทางการ โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม โดยการปรับใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน เช่น จิตศึกษา ศาสตร์พระราชา การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ชุมชนการเรียนรู้ทาง และสุแนวโมเดล เป็นต้น ปัจจุบัน สภาพัฒนาการศึกษามหาสารคามมีโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน 50 แห่ง โดยเป็นโรงเรียนต้นแบบจำนวน 2 แห่ง
เพื่อแสดงเจตจำนงความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคม หน่วยงานรัฐท้องถิ่น โรงเรียน และชุมชนในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา สภาพัฒนาการศึกษามหาสารคาม สมาคมไทบ้าน มูลนิธิแอ็คชั่นเอด อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2 ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับโรงเรียนขนาดเล็กและกลางจำนวน 25 แห่ง เพื่อดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการแอ็คเซส สคูล อาทิ การอบรมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา การสร้างความร่วมมือเชิงนวัตกรรมและเชิงสร้างสรรค์ระหว่างโรงเรียน ชุมชน องค์กรภาคประชาสังคม คณะกรรมสถานศึกษา และหน่วยงานรัฐท้องถิ่น การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และการติดตามและประเมินผล

การศึกษา, คลิป

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.