ขอนแก่น – กสศ. เปิดเวทีระดมพลังความร่วมมือขับเคลื่อนอนาคตความเสมอภาคทางการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน

กสศ. เปิดเวทีระดมพลังความร่วมมือขับเคลื่อนอนาคตความเสมอภาคทางการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ที่ จ.ขอนแก่น

วันที่ 9 พ.ค. 2566 ที่ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด จังหวัดขอนแก่น ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นประธานเปิดเวทีระดมพลังความร่วมมือขับเคลื่อนอนาคตความเสมอภาคทางการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยนายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการบริหาร กสศ. ภาคีเครือข่ายร่วมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า อ.ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา คณะผู้บริหาร กสศ. นายรัชพร วรรณคำ ศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น และทีมวิทยากรกระบวนการ ร่วมกิจกรรม โดยมี นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ให้การต้อนรับภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน เพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากภาคีทุกภาคส่วน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่นเป็นเวทีแรก และจะมีการจัดอีก 3 เวทีให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาค ต่อไป

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กสศ. กล่าวว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ดำเนินงานเป็นกลไกแบบใหม่ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดย กสศ. ได้มองเป้าหมายที่การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงต่อกลุ่มผู้รับประโยชน์ เช่น เด็ก เยาวชน ครู โรงเรียน และชุมชนและการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบโดยมีการดำเนินงานในรูปแบบการเหนี่ยวนำความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาอย่างยั่งยืน

“การดำเนินงาน 5 ปีที่ผ่านมา กสศ. ได้ช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือต้อยโอกาส ราว 1.7 ล้านคนต่อปี รวมทั้งมีการทำงานร่วมกับคุณครูทั่วประเทศมากกว่า 400,000 คน และสถานศึกษามากกว่า 30,000 แห่งใน 6 ต้นสังกัดทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย โดยในช่วงปี 2563-2564 กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)ซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งระดับประเทศไปจนถึงระดับครัวเรือน ซ้ำเติมความยากลำบากของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทำให้เด็กและเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสมีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา โดยได้พยายามปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการของ กสศ. เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการตอบสนองต่อความเดือดร้อนจำเป็นของกลุ่มผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสได้ทันท่วงที”

พร้อมกันนี้ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กสศ. และคณะผู้บริหาร กสศ. ได้ลงพื้นที่โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง หลักสูตรทุนผู้ช่วยทันตแพทย์ 1 ปี เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนนักศึกษาทุนหลักสูตรผู้ช่วยทันตแพทย์ (รุ่นที่2 และจบการศึกษาแล้ว) พร้อมเยี่ยมชมการเรียนภาคปฏิบัติ ณ คลินิกทันตกรรมรวม 2 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขณะที่ นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้เปิดเผยว่าแนวคิดต่อการช่วยเหลือเด็กในภาวะวิกฤตก็เป็นการต่อยอดที่เราเจอสถานการณ์โควิด เรามีเด็กที่เป็นเด็กตกหล่นอยู่จำนวนมากทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยได้พยายามนำร่อง 4 จังหวัดก่อน ซึ่งเป็นการทำงานแบบต่อยอดจังหวัดที่มีการทำงานในพื้นที่ อย่างเช่นจังหวัดขอนแก่นโดยศึกษาธิการจังหวัดเป็นหลักอยู่ในพื้นที่ ซึ่งได้พยายามสร้างกลไกรกลางที่เป็นการร่วมมือของหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันดึงภาคเอกชนเข้ามาด้วย เด็กในภาวะวิกฤตก็อาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานเหล่านี้ที่ทำการแสกนค้นหาว่ามีเด็กคนไหนบ้างที่ต้องการความเร่งด่วนที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งทั้งท้องถิ่นพื้นที่ ค้นหาว่าใครบ้างที่ต้องการความดูแลเป็นพิเศษแล้วส่งความช่วยเหลือไป อาจะเป็นรูปเม็ดเงิน อาจจะเป็นในรูปแบบความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐ เข้าไปดูแล ที่อยู่อาศัยเป็นต้น เป็นการทำงานที่จะต้องดึงน้องออกมาจากสถานการณ์ยากลำบากก่อน เพื่อที่จะเป็นการส่งต่อในการดูแลด้านอื่นไป

งานอีกด้านทางทีมงาน กสศ. ของเราทำอยู่ คือ เราพยายามที่จะให้น้องที่อยู่ในสภาวะยากจนได้เรียนต่อ และจบออกมาทำงาน สร้างอาชีพได้โดยเร็ว ซึ่งการทำอาชีพด้านทันตกรรม เป็นผู้ช่วยทันตกรรม ใช้เวลาเรียนเพียงปีเดียวก็สามารถที่จะประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ก็มีการส่งเสริมและตามหาน้องที่สนใจว่าเรามาเรียนทันตกรรมดีไหม ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะทันตกรรม จัดการเรียนการสอนน้อง ๆ กลุ่มนี้ ซึ่งน้องจบออกมาทำหน้าที่ผู้ช่วยทันตกรรมได้ ซึ่งนอกเหนือจากอาชีพนี้แล้ว ทางเราได้พยายามค้นคว้าว่ามีอาชีพอะไรบ้างที่เป็นที่ต้องการของตลาดอาจจะใช้เวลาเรียนไม่นานนัก เพราะน้องกลุ่มนี้ที่ต้องการดูแลด้านเศรษฐกิจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างโอกาสทางรายได้ โดยมีอยู่ 2 อาชีพคือ ผู้ช่วยทันตกรรม ผู้ช่วยทางด้านการสาธารณสุข งานด้านบริบาล โดยการทำงานร่วมกับภาคราชการในจังหวัดขอนแก่น

การศึกษา

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.