ขอนแก่น – กองทุนไฟฟ้าน้ำพอง ประสาน ป.ป.ท., ป.ป.ง. ร่วมตรวจสอบ พร้อมขยายชุมชนรอบนอกของบฯ เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก อย่างยั่งยืน

กองทุนไฟฟ้าน้ำพอง จัดโครงการ ประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายพันธมิตรการดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าน้ำพอง ไม่ปล่อยให้การดำเนินงานถูกทิ้งร้างเป็นอนุสาวรีย์ พร้อมประสาน ป.ป.ท.และ ป.ป.ง. ร่วมตรวจสอบ พร้อมขยายชุมชนรอบนอกของบฯ เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานราก อย่างยั่งยืน

ที่หอประชุม 50 ปี โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานในการกำกับดูแลเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เขต 4 ได้จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายพันธมิตรการดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ประจำปี 2566 โดยมีผู้แทนชุมชน 6 ตำบลรองโรงไฟฟ้าน้ำพอง ประกอบด้วย ตำบลกุดน้ำใส ตำบลม่วงหวาน ตำบลสะอาด ตำบลวังชัย อำเภอน้ำพอง และตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ผู้แทนแต่ละตำบลเข้าใจบทบาทการดำเนินงาน และการเสนอโครงการเพื่อของบประมาณมาใช้ในการพัฒนาชุมชนตามเงื่อนไขของกองทุนไฟฟ้า

นายชินกร แก่นคง นายอำเภอน้ำพอง เผยว่า สำหรับโครงการประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายพันธมิตรการดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าน้ำพอง ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานในการกำกับดูแลเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เขต 4 ได้จัดทำขึ้นถือว่าเป็นประโยชน์ สำหรับตัวแทนผู้นำชุมชนที่เข้าร่วมในครั้งนี้ จะได้มีความรู้ความเข้าใจในการที่จะเสนอโครงการที่จะใช้งบประมาณกองทุนไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งบประมาณจะมีวิธีที่หลากหลาย เช่นเดิมทีจะเป็นการของบประมาณในการทำโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้า ประปา ถนน ศาลาประชาคม

แต่ในยุคปัจจุบันภายใต้การกำกับของ นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้พยายามนำแนวคิด หรือวิธีการเรื่องของการสร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ในการใช้เงินส่วนนี้นำไปพัฒนา ซึ่งจะทำให้เป็นการเสนอแนวความคิดของชุมชนใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพให้พี่น้องประชาชนให้มากขึ้น ขอยกตัวอย่างเช่น เมื่อปีที่แล้ว เราได้นำเสนอว่า เราจะใช้เงินกองทุนนี้มาสร้างศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์โอทอป ซึ่ง กฟผ.ได้มีการอนุมัติให้ทางเราแล้วที่จะก่อสร้างอยู่บริเวณเขื่อนหนองหวาย สำหรับรองรับ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนในทุกตำบลของอำเภอน้ำพอง ถือได้ว่าวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำงบประมาณปี67 ของกองทุนไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ต่อคำถามที่ว่า การเข้าถึงกองทุนพัฒนาไฟฟ้าน้ำพอง ชาวบ้านหรือชุมชน จะสามารถเข้าถึงได้อย่างไร นายทวีสุข นามวงษา วิศวกรชำนาญการพิเศษ สำนักงาน กกพ.เขต (ขอนแก่น) กล่าวว่า สำหรับงบประมาณของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในการเข้าถึงงบประมาณที่ชุมชนจะได้ประโยชน์  ทุกโครงการต้องผ่านเวทีประชาคม ต้องผ่านชุมชนที่มีความต้องการสิ่งนั้นจริง ๆ เพื่อมาพัฒนาฟื้นฟู เยียวยาในพื้นที่ของตัวเอง เมื่อมีการประชาคมระดับพื้นที่เข้ามา โครงการต่าง ๆ ก็จะเสนอมาที่กองทุนพัฒนาไฟฟ้า กองทุนฯ ก็จะพิจารณากลั่นกรองตามแนวทางที่ กกพ.กำหนด ซึ่งการขอโครงการต่าง ๆ ก็มีหลักเกณฑ์ หลักการ แนวทางปฏิบัติ โดยในปี 67 ทาง กกพ.ให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจชุมชน ก็จะให้ทางชุมชน ที่อยู่บริเวณรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า 5 ตำบล จัดทำโครงการมุ่งเน้นทางด้านเศรษฐกิจชุมชน กลุ่มอาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

โอกาสในการขยายพื้นที่ของกองทุนไฟฟ้าไปมากกว่า 5 ตำบลที่กำหนดไว้ มีโอกาสเช่นกัน ซึ่งระเบียบไม่ได้ปิดกั้น หากเป็นว่าเงินกองทุนนี้สามารถนำไปพัฒนาพื้นที่นอกเขตประกาศของกองทุน ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากทางพื้นที่ 5 ตำบลรอบๆ ให้ขยายพื้นที่ไปช่วยตำบลนั้น ตำบลนี้ได้เช่นกัน

นายทวีสุข กล่าวต่อว่า ในส่วนการนำเงินกองทุนไปใช้แล้วไม่เกิดประโยชน์ หรือสำริดผล ทางสำนักงาน กกพ.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จากการที่เราลงตรวจพื้นที่ ตรวจโครงการต่าง ๆ ก็ได้เป็นโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จก็มี ซึ่งทางสำนักงานฯ ได้มีมาตรการต่าง ๆ ในการเสนอโครงการ มีการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกลุ่ม หรือวิธีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยทางเราจะมุ่งเน้นที่ความยั่งยืนอย่างมาก สิ่งที่ทำไปจะไม่ให้เกิดเป็นอนุสาวรีย์ จะมุ่งเน้นที่การใช้งาน ซึ่งในปี 67 จะลงตรวจโดยสำนักงานกำกับพลังงาน ทำเอ็มโอยู กับคณะกรรมการปราบปรามทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) มาช่วยในการตรวจโครงการ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) เป็นผู้แนะนำ ว่าโครงการไหนควรทำหรือไม่ควรทำ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน เป็นแผนการดำเนินงานในปี 67 นี้ด้วย. วิศวกรชำนาญการพิเศษ สำนักงาน กกพ.เขต (ขอนแก่น) กล่าวในที่สุด

ในประเทศ

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.