เมื่อเวลา 07.00 น.วันที่ 1 ก.พ.66 นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง เจ้าพ่อกุดป่อง อ.เมืองเลย ด้วยขบวนรำบวงสรวงนางรำในชุดผาฝ้ายกว่า 100 .คน เวลา 09.00 น.มีพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระบรมราชานุสาวรีย์.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย ถนนมะลิวรรณ อ.เมืองเลย จ.เลย ด้วยการรำบวงสรวงอีกนับร้อยคน ”งานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” เป็นการจัดครบรอบ 44 ปี มีรองผู้ว่าราชการ ปลัดจังหวัดเลย พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ สมาคมพ่อค้า หอการค้า องค์กรเอกชน ผู้ประกอบกการ ประชาชนเข้าร่วมในพิธีจำนวนมาก
เป็นกิจกรรมก่อนที่จะมีพิธีเปิด”งานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย” ประจำปี 2566 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 1-9 ก.พ.66 ณ สนามกีฬากลางจังหวัดเลย เนื่องจากปีนี้สถานการณโรคโควิด-19 ได้ผ่อนคลายลง ประกอบกับการเปิดประเทศ เปิดเมืองเลยต้อนรับนักท่องเที่ยวภายใต้มาตรการควบคุม ป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด-19 ปีนี้จึงจัดอย่างยิ่งใหญ่ด้วยความร่วมมือ
จากนั้นเวลา 10.0 น. ณ สนามศูนย์ราชการจังหวัดเลย นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมรองผู้ว่าราชการ หัวหน้าส่วนร่วมใน พิธีเปิดร้าน “เลย งามศิลป์ ถิ่นผ้าฝ้าย สายหมอกและดอกไม้” งานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย ประจำปี 2566
นางสาวณัณธิญาจ์ มังคละคีรี วัฒนธรรมจังหวัดเลยรายงานว่า ร้าน “เลย งามศิลป์ ถิ่นผ้าฝ้าย สายหมอกและดอกไม้” เกิดขึ้นด้วย การบูรณาการของหน่วยงาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย สภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย มหาวิทยาลัยราชภัฎเลยมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย และสำนักงานพื้นที่พิเศษเลย (อพท.5) โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรม ให้เกิด คุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนควบคู่ไป กับ การอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงามรวมทั้งเป็นการเปิดพื้นที่ เปิดพื้นที่ให้เยาวชน สถานศึกษา กลุ่มศิลปินต่างๆกลุ่มศิลปินหมอลำกลอน หมอลำไทเลย และชมรมผู้สูงอายุ ได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
โดยกิจกรรมภายในร้าน”เลย งามศิลป์ ถิ่นผ้า ฝ้าย สายหมอกและดอกไม้” ด้านของกิจกรรม ประกอบไปด้วย กิจกรรม การจัดแสดงวิถีชีวิตในมิติทางศาสนา ภายใต้แนวความคิด วิถีวัด วิถีพุทธ เป็นการส่งเสริมให้นำเอาหลักธรรมทางศาสนามาประยุกต์เข้ากับการดำรงชีวิต ในปัจจุบัน และร่วมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมทั้งทำบุญประจำวันเกิด เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเอง และครอบครัว กิจกรรมการจัดนิทรรศการและกระบวนการทอผ้าฝ้าย ภายใต้แนวความความคิด “จากเส้นฝ้าย สู่ผืนผ้า จากภูมิปัญญาสู่ลวดลายที่สวยงาม” และการจัดแสดงผ้าลาย อัตลักษณ์ประจำจังหวัดเลย คือ ลายดอกฝ้ายเมืองเลย เพื่อเป็นการสืบสาน ส่งเสริม และปลุกกระแสค่านิยมการสวมใส่ผ้าฝ้าย รวมทั้งเป็นการส่งต่อกำลังใจให้ช่างทอผ้า และสร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมทั้งมีการจำหน่ายผ้าฝ้ายจากชุมชนต่างๆของ 14 อำเภอ กิจกรรมการสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม อาทิเช่น การทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่รมควัน การปั้นดินไทย การทำของที่ระลึกจากธุง ซึ่งเป็นการกระตุ้น ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน กิจกรรมการสาธิตอาหารฟิวชั่นจากเชฟชุมชนบ้านไทเลยไปสู่อาหารสไตล์ใหม่ที่รับประทานง่ายและรสชาติอร่อย และการสาธิต อาหารพื้นบ้าน เป็นอาหารที่หล่อหลอมจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นถิ่น มีคุณค่าทาง โภชนาการและมีประโยชน์ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชุมชน สามารถนำครัวไทยสู่ครัวโลก ต่อไปในอนาคต
รวมทั้งมีการสาธิตอาหารพื้นบ้านของแต่ละอำเภอทุกวัน และ กิจกรรม การสาธิตงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม งานหัตถกรรม งานฝีมือและงาน ประดิษฐ์ จากกลุ่มศิลปิน กลุ่มเยาวชนและสถานศึกษาต่างๆ เช่น การวาดภาพระบายสี จากศูนย์ศิลป์สิรินธร ศิลปินเลยตามเลย การวาดภาพระบายสีหน้ากากผีตาโขน ผีขนน้ำ ผีบุ้งเต้า จากชุมชนต่างๆ การวาดภาพของศิลปินวัยใส การทำเครื่องเงิน กิจกรรม การแสดงดนตรีพื้นบ้านและดนตรีร่วมสมัย จากสถานศึกษาต่างๆ อาทิเช่น การ แสดงวงโปงลาง การแสดงจากกลุ่มศิลปินหมอลำ กลอน หมอลำไทเลย การแสดงดนตรีไทย โรงเรียนผู้สูงอายุ การแสดงจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ การเสวนาทางวิชาการ การเทศน์แหล่
ดำรงค์ รักษ์จรรยาวงศ์ / จ.เลย