กรมทางหลวง ฟังรับฟังความคิดเห็นชาวอุบลราชธานี รอบ 2 ปรับปรุงทางเลี่ยงเมืองพิบูลมังสาหาร แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในเมือง

วันนี้ (21 ธันวาคม 2565) เวลา 09.00 น. ณ ห้องทับทิมสยาม 4 โรงแรมสุนีย์แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี นายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดการ ประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 2) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองพิบูลมังสาหาร เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าผลการศึกษา และสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุมอำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นอำเภอที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง เป็นศูนย์กลางระหว่างอำเภอต่างๆภายในจังหวัดอุบลราชธานี มีสะพานข้ามแม่น้ำมูลเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับอำเภอทางทิศเหนือ จึงเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคม ศูนย์รวมธุรกิจ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประตูสู่อินโดจีน การเป็นศูนย์กลางของอำเภอรอบข้างทำให้มีปริมาณจราจรจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมด้านโครงข่ายเพื่อรองรับการสัญจรในอนาคตสำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง จึงได้ดำเนินการว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท สแปน จำกัด บริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนชัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ลูเช่ ครีเอชั่น จำกัด ดำเนินการศึกษาโครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจรทางเลี่ยงเมืองพิบูลมังสาหาร
เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเมืองพิบูลมังสาหาร เพื่อให้ผู้ใช้ทางสัญจรได้อย่างคล่องตัว ลดอุบัติเหตุและความแออัดจากการเดินทาง ด้วยทางเยงเมืองที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน
สำหรับแนวเส้นทางโครงการ มีจุดเริ่มต้นโครงการบนทางหลวงหมายเลข 217 บริเวณ กม.37+000 และจุดสิ้นสุดบนทางหลวงหมายเลข 2222 บริเวณ กม.27 + 630.000 โดยที่ปรึกษาโครงการฯ ได้พิจารณาคัดเลือกแนวเส้นทางจำนวน 4 แนวทางเลือก ซึ่งจากการพิจารณาเปรียบเทียบแนวเส้นทางเลือกครอบคลุมปัจจัยใน 3 ด้านหลักประกอบด้วย ด้านวิศวกรรมและจราจร ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม พบว่า แนวเส้นทางทางเลือกที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยแนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศใต้ประมาณ 1,300 เมตร แล้วจึงเลี้ยวไปทาง
ทิศตะวันออกผ่านพื้นที่เกษตรกรรมเป็นแนวเส้นโค้งเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อโบราณสถานในระยะ 1 กิโลเมตร จากนั้นตัดกับทางหลวงหมายเลข 217 แล้วจึงมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือข้ามแม่น้ำมูล และมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 2222 ระยะทางรวม 13.34 กิโลเมตร
ส่วนรูปแบบการพัฒนาถนนทั่วไปของโครงการ ได้พิจารณาออกแบบเป็นถนนขนาด 4 ช่องงราจร ความกว้างจราจร ละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกว้าง 2.50 เมตร และมีเกาะกลางแบบกดเป็นร่อง (Depressed Medianกว้าง 12.10 เมตร ในเขตทาง 60
นอกจากนี้ ได้มีการพิจารณาคัดเลือกรูปแบบจุดตัดทางแยก จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย 1.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 21 7 จุดเริ่มต้นโครงการ พบว่า รูปแบบทางเลือกที่ 3 ทางต่งระดับรูปแบบ Trumpet เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด โดยออกแบบเป็นสะพานยกระดับรูปแบบ Directional Ramp สำหรับการจราจรขาเข้าโครงการ และLoop Ramp สำหรับการจราจรขาออกจากโครงการ เป็นรูปแบบที่ให้บริการด้านจราจรที่ดี ค่าลงทุนต่ำ ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่ำ 2.จุดตัดบริเวณสี่แยกทางหลวงหมายเลข 217 ด้านทิศใต้ พบว่า รูปแบบทางเลือกที่ 2
ทางต่างระดับรูปแบบ Partial Cloverleaf เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด โดยออกแบบเป็นทางต่างระดับ ขนจด 4 ช่องจราจร และก่อสร้างสะพานรองรับรถเลี้ยวขวา (Loop Ramp) จำนวน 2 สะพาน รองรับการเดินทางของรถเลี้ยวขวาจากทิศตะวันตก-ใต้ และรถเลี้ยวขวาจากทิศตะวันออก-เหนือ เป็นรูปแบบที่ให้บริการด้านการจราจรที่ดี ค่าลงทุนต่ำ
ผลกระทบต่อสังคมและ: สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ำ 3.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2222 จุดสิ้นสุดโครงการ พบว่ารูปแบบทางเลือกที่ 1 ทางต่างระดับรูปแบบสะพานข้ามแยก (Overpass) เป็นรูปแบบที่เหมาะสมมากที่สุด โดยออกแบบเป็นสะพานข้ามแยกบนทางหลวงหมายเลข 2222 ขนาด 4 ช่องจราจรและจัดการจราจรบริเวณสามแยกในรูปแบบสัญญาณไฟควบคุม เป็นรูปแบบที่สามารถรองรับการจราจรได้เหมาะสม ค่าก่อสร้างปานกลาง ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้เสนอรูปแบบสะพานข้ามแม่น้ำมูล โดยออกแบบเป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องแบบหล่อในที่ (Cast in Situ post tension Box Girder) ความยาวสะพานประมาณ657 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ความกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร และมีทางเท้าทั้งสองฝั่งของสะพาน โดยทางเท้าจะเริ่มที่บริเวณทางขึ้น-ลงของสะพาน ซึ่งอยู่บริเวณจุดกลับรถใต้สะพาน
สำหรับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา ที่ปรึกษาได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูล สำรวจและเก็บตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาประกอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือ IEE เพื่อคัดกรองปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดลอมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต สำหรับนำไปศึกษาในชั้น EIA พบว่ามี 24 ปัจจัย โดยลำดับถัดไป ที่ปรึกษาโครงการฯ จะนำทั้ง 24 ปัจจัยนี้ มาประเมินผลกระทบรายละเอียดพร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อไป
ภายหลังการประชุมครั้งนี้ กรมทางหลวง และบริษัทที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
จากทุกภาคส่วนนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ พร้อมทั้งจะดำเนินการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง โดยมีกำหนดจัดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2 ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2566 การประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3 ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน 2566 เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาในทุกด้านให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ 1.เว็บไซต์www.phibunmangsahanbypass.com
และ 2.Line : phibunmangsahanbypass

ภาพ/ข่าว: ยงยุทธ ผูกพันธ์ อุบลราชธานี

ข่าวประชาสัมพันธ์

Related posts

404 Not Found
404
Sorry, the page you visited does not exist.
It may be that the access link is wrong or the file does not exist.